
คู่มือกฎหมาย สำหรับผู้ประกอบการ SME
คู่มือกฎหมาย สำหรับผู้ประกอบการ SME
เพื่อใช้บันทึกค่าขนส่ง(ค่าขนส่งคิดรวมราคาขาย และค่าขนส่งจ่ายผู้ให้บริการ) ของแต่ละพื้นที่ขนส่งสินค้า สามารถแยกราคาขนส่งได้ตามน้ำหนัก และสถานที่ขึ้นสินค้า
ข้อมูลนี้จะนำไปใช้ในการคำนวณรวมกับราคาขายที่จอภาพบันทึกรายการขายสินค้า พร้อมเก็บเป็นประวัติค่าขนส่งเก็บไว้
และนำไปใช้ในการคำนวณค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้า เพื่อสร้างรายการตั้งเจ้าหนี้ค่าขนส่งสินค้าได้อัตโนมัติ
การกำหนดค่าขนส่ง สามารถกำหนดได้ดังนี้
1. คลังสินค้า ที่เป็นสถานที่ขึ้นสินค้า (กรณีมีหลายคลังสินค้าและแต่ละคลังมีผลทำให้ค่าขนส่งเปลี่ยน)
2. นน. (กก) ของสินค้าที่ใช้กำหนดราคาค่าขนส่ง
3. กำหนดค่าขนส่งขาย และค่าขนส่งจ่าย
4. รวมค่าขนส่งในราคาสินค้า หมายถึง ให้นำค่าขนส่งขายไปบวก(I) หรือไม่บวก(E) เพิ่มในราคาขายสินค้า
เพื่อใช้บันทึกข้อมูลรถบรรทุกส่งของ ข้อมูลนี้จะนำไปใช้ระบุในรายการจัดส่งสินค้า และนำไปใช้ในการคำนวณค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้า เพื่อสร้างรายการตั้งเจ้าหนี้ค่าขนส่งสินค้าได้อัตโนมัติ
กำหนดรายละเอียดรถบรรทุก ดังนี้
1. ทะเบียนรถ, ชื่อรถ และขนาดรถ
2. รายละเอียดต่าง ๆ ได้แก่ ขนาดบรรทุก, ชื่อพนักงานขับรถ, ขนาดบรรทุกต่ำสุด-สูงสุด, จังหวัดที่จดทะเบียน, เส้นทางขนส่ง
3. กำหนดรหัสเจ้าของรถ คือรหัสเจ้าหนี้ เพื่อใช้ระบุเจ้าของรถบรรทุก และนำไปใช้ในการสร้างรายการตั้งเจ้าหนี้ค่าขนส่งสินค้า
4. กำหนดการตั้งจ่ายค่าขนส่ง กรณีกำหนด Y เมื่อผ่านรายส่งสินค้าโปรแกรมจะสร้างรายการส่งสินค้าไว้ที่จอภาพสร้างรายการใบแจ้งหนี้ค่าขนส่งเพื่อให้ผู้ใช้ทำการ Generate รายการใบตั้งหนี้ค่าขนส่งต่อไป และกรณีกำหนด N โปรแกรมจะไม่สร้างรายการดังกล่าวให้
เป็นรายงานแสดงประวัติการขายสินค้าแยกตามสินค้า และแยกตามลูกค้า โดยคำนวณยอดขายที่หักส่วนลดท้ายบิลแล้ว
สำหรับส่วนลดท้ายบิลที่นำมาหักยอดขาย จะขึ้นอยู่กับการกำหนดให้โปรแกรมเฉลี่ยส่วนลดท้ายบิล(Y) หรือไม่เก็บข้อมูลเฉลี่ยส่วนลดท้ายบิล(N)
(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ECONS V2.13E Rvs. 590012 หัวข้อปรับปรุงให้มีการบันทึกข้อมูลเฉลี่ยส่วนลดท้ายบิล)
การแสดงผลรายงานประวัติการขาย แยกตามสินค้า
1. แสดงประวัติขายแยกตามสินค้า ซึ่งแต่ละสินค้าจะแยกเป็นข้อมูลใบกำกับภาษี และข้อมูลใบเพิ่มหนี้/ลดหนี้
2. แสดงรายการประวัติขายตามเลขที่ใบแจ้งหนี้ และใบเพิ่มหนี้/ลดหนี้
3. แสดงจำนวนส่งสินค้า และราคา/หน่วย ตามหน่วยลูกค้า
4. ส่วนลด เป็นยอดรวมของส่วนลด Item และส่วนลดท้ายบิล
5. สามารถกำหนดเงื่อนไข ให้รวมยอดหรือไม่รวมยอดของใบลดหนี้/เพิ่มหนี้เนื่องจากการปรับราคา
การแสดงผลรายงานประวัติการขาย แยกตามลูกค้า
1. แสดงประวัติขายแยกตามลูกค้า โดยแสดงรายการเป็นรายสินค้า
2. แสดงจำนวนขาย, จำนวนของแถม, จำนวนรับคืน และจำนวนขายสุทธิ
3. สำหรับคอลัมน์มูลค่าขาย เป็นยอดขายที่หักส่วนลด Item และท้ายบิลแล้ว
4. เพิ่มหนี้ เป็นยอดเพิ่มหนี้ประเภทราคา (P)
5. ลดหนี้/รับคืน เป็นยอดรับคืนสินค้า และยอดลดหนี้ประเภทราคา (P)
6. สามารถกำหนดเงื่อนไข ให้รวมยอดหรือไม่รวมยอดของใบลดหนี้/เพิ่มหนี้เนื่องจากการปรับราคา
7. แสดงต้นทุนขาย และต้นทุนรับคืน พร้อมคำนวณหากำไรขั้นต้น
โดยแก้ไขรายงานทั้ง 2 ประเภทคือ รายงานสรุปโครงการ และรายงานสรุปโครงการแสดงมูลค่าสินค้าคงเหลือระหว่างทำ มีรายละเอียด ดังนี้
1. แก้ไขการคำนวณมูลค่าโครงการ ให้คำนวณจาก Sum(ยอดหนี้)- Sum(หักเงินมัดจำ )
2. ส่วนของค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพิ่มแสดงยอดรายการปรับปรุง IA และยอดตามใบตั้งหนี้ให้รวมยอดเฉพาะที่เป็นประเภท NON Inventory
3. เพิ่มการแสดงใบสั่งซื้อคงค้าง
รายการ | ระบบงาน | รายละเอียด |
---|---|---|
1 | บัญชีลูกหนี้ | รายงานการรับเงินมัดจำ แก้ไขไม่ให้แสดงรายการที่ทำการยกเลิกรายการประจำวันไปแล้ว |
2 | บริหารโครงการ | รายงานทั้งหมดในระบบบริหารโครงการ แก้ไขไม่ให้แสดงรายการที่ทำการยกเลิกรายการประจำวันไปแล้ว |
3 | ควบคุมการผลิต | แก้ไขรายงาน Material Variance Report กรณี Export เป็น Excel แล้วชื่อสินค้าไม่แสดง และเดิมการแสดงผลข้อมูลในรายงานจะคัดกรองให้แสดงรายการที่มีวันที่ปิดน้อยกว่าวันที่ทำ Prelim ได้แก้ไขให้แสดงรายการกรณีที่วันที่ปิดเท่ากับวันที่ Prelim ด้วย |
เพิ่มฟอร์มสำหรับพิมพ์รายการส่งสินค้า (STDCO6060) อีก 1 รูปแบบซึ่งรายงานนี้จะเพิ่มการแสดงข้อมูลสถานที่ส่ง และรายละเอียดเกี่ยวกับรถขนส่งสินค้า
เมนู K-C-B-B-A จอภาพบันทึก/แก้ไขการใช้วัตถุดิบ เพิ่มแสดง Field วิธีตัดยอดอัตโนมัติซึ่งมี 3 แบบได้แก่ N-เบิกเอง, O-ตัดอัตโนมัติตอนเปิดคำสั่งผลิต และ C-ตัดอัตโนมัติตอนปิดคำสั่งผลิต พร้อมเปิดให้แก้ไขได้ตามเงื่อนไขดังนี้
1. กรณีทำการ New Record ให้ Default เป็น N และแก้เป็น C ได้เท่านั้น
2. กรณีแก้ไข Record เดิม หากเป็น O อยู่ ห้ามแก้ไข
3. กรณีแก้ไข Record เดิม หากเป็น C อยู่ แก้ไขเป็น N ได้เท่านั้น
4. กรณีแก้ไข Record เดิม หากเป็น N และไม่มียอดเบิกรวมถึงยอดเบิกที่ยังไม่ Post ให้แก้เป็น C ได้เท่านั้น
เป็นการเก็บข้อมูลเฉลี่ยส่วนลดท้ายบิลแยกตาม Item สินค้าที่ขาย เพื่อใช้ในการออกรายงานประวัติการขาย(รวมเฉลี่ยส่วนลดท้ายบิล) และรายงานจัดอันดับยอดขายตามสินค้า โดยจะนำส่วนลดท้ายบิลนี้ไปหักยอดขายเพื่อคำนวณเป็นยอดขายสุทธิ ทั้งนี้ สามารถกำหนดเงื่อนไขให้โปรแกรมเก็บหรือไม่เก็บข้อมูลเฉลี่ยส่วนลดท้ายบิลได้ มีรายละเอียดดังนี้
1. กำหนดเงื่อนไขให้โปรแกรมเก็บ (Y) หรือไม่เก็บ (N) ข้อมูลเฉลี่ยส่วนลดท้ายบิล ที่จอภาพ F.A.A ค่าเริ่มต้นระบบงานในระบบ CO
2. แก้ไขจอภาพการประมวลผล เพื่อให้เก็บข้อมูลเฉลี่ยส่วนลดท้ายบิล ดังนี้
2.1 จอภาพ F.E.B ผ่านรายการส่งสินค้า
2.2 จอภาพ F.E.E ผ่านรายการส่งสินค้า (ใหม่)
2.3 จอภาพ F.F.B ผ่านรายการตั้งลูกหนี้
2.4 จอภาพ F.G.B ผ่านรายการรับคืนสินค้า
2.5 จอภาพ F.G.D.B ผ่านรายการคืนสินค้า(ใบรับคืน)
ในการ Implement ระบบ ERP คู่มือการใช้งานเป็นเรื่องสำคัญ การจัดทำคู่มือในรูปแบบของการบันทึกวิดีโอหน้าจอช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเรียนรู้วิธีการใช้งานได้จากภาพและเสียง ทำให้เข้าใจเนื้อหาได้เร็วขึ้น สามารถดูทบทวนได้ ดังตัวอย่างที่ผมทำ เพื่อ อธิบายวิธีการ Load data จาก Excel File เข้าระบบ BI (Qlikview)
เครื่องมือที่ใช้ในการจัดทำสื่อการสอนในปัจจุบันมีหลาย Software วันนี้ผมขอแนะนำโปรแกรม Microsoft Expression Encoder ซึ่งสามารถบันทึกวิดีโอ ตัดต่อได้ และใส่ภาพคนอธิบายได้ คล้ายกับ Camtasia แต่สามารถใช้งานได้ Free สามารถบันทึกวิดีโอต่อเนื่องได้ 10 นาที (ยาวกว่านี้ก็น่าเบื่อแล้วครับ) Version นี้ใช้ได้ตั้งแต่ Windows XP Service Pack 3 ขึ้นไป มี Limit นิดเดียวตรงที่ไม่สามารถ Encode เป็น MP4 ได้ใน Version Free Output ที่ Encode ได้จะเป็น Fle.WMV เท่านั้น ต้องหาโปรแกรมแปลง File หรือ Web แปลง File Online อีกที ผมใช้ http://www.convertfiles.com/converter.php ก็สะดวกดี
ลองพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในองค์กรให้น่าสนใจด้วยวิธีง่ายๆ กันนะครับ
Link Download โปรแกรม https://www.microsoft.com/en-us/download/details.aspx?id=18974
เมื่อบริษัทได้รับเงินมัดจำจากลูกค้า และบริษัทได้นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มของเงินมัดจำนั้นไปยังกรมสรรพากรเรียบร้อยแล้ว ต่อมาภายหลังมีการยกเลิกสัญญา โดยบริษัทตกลงว่าบริษัทจะจ่ายเงินมัดจำคืนให้ลูกค้าทั้งจำนวน
กรณีนี้ นอกจากบริษัท จะต้องตีเช็คจ่ายเพื่อคืนเงินให้แก่ลูกค้าแล้ว ยังต้องออกใบลดหนี้ เพื่อหักล้างกับภาษีมูลค่าเพิ่มที่นำส่งไปแล้ว ให้แก่ลูกค้าด้วย
ระบบงาน ECONS ในส่วนของ ระบบบัญชีลูกหนี้ และระบบบัญชีเจ้าหนี้ มี Feature ที่รองรับการทำงานเรื่องนี้ ผมจึงนำตัวอย่างการบันทึกข้อมูลมาให้ศึกษากัน และได้สรุปรายการบันทึกบัญชีไว้อย่างละเอียดด้วยครับ
กรณีที่บริษัทต้องจ่ายเงินมัดจำล่วงหน้าค่าสินค้าให้กับผู้ขายก่อนที่ผู้ขายจะดำเนินการผลิตและส่งสินค้าให้กับบริษัท ซึ่งในทางบัญชีจะบันทึกยอดเงินที่จ่ายไปนี้เข้าเป็นบัญชีลูกหนี้เงินมัดจำไว้ก่อน และเมื่อผู้ขายส่งสินค้ามา บริษัทจึงจะทำการบันทึกรับสินค้าและตั้งเจ้าหนี้ โดยจะต้องมีการนำเงินมัดจำที่จ่ายไปแล้วมาหักยอดที่แจ้งหนี้ ตัวอย่างเช่น สั่งซื้อสินค้า 100 บาท มัดจำ 30 บาท เมื่อรับของจะได้ต้องบันทึกว่ารับของ 100 บาท หักเงินมัดจำ 30 บาท สุทธิต้องจ่ายเพิ่ม 70 บาท เป็นต้น
ระบบงาน ECONS มีฟีเจอร์รองรับกรณีจ่ายเงินมัดจำ/เงินล่วงหน้า ดังนี้
สัปดาห์หน้าผมได้รับเชิญจากลูกค้าท่านหนึ่งให้ไปบรรยายเรื่องการจัดทำรายงานเพื่อผู้บริหารด้วย BI Software ตอนนี้เตรียม Slide เสร็จแล้วจึงขอ Share ให้ทุกท่านได้ดูกัน หลักสูตรนี้เหมาะกับลูกค้าที่ใช้ระบบ ERP มาสักระยะหนึ่งแล้ว ต้องการเครื่องมือในการจัดทำรายงานเพื่อผู้บริหารที่ง่ายๆ แต่มีประสิทธิภาพ ผู้บริหารทำเองได้ Download ได้จาก Link นี้
ท่านที่สนใจต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือต้องการเข้ารับการอบรมติดต่อมาที่ BBS ได้เลยครับ
รายการ | ระบบงาน | รายละเอียด |
---|---|---|
1 | บัญชีลูกหนี้ | แก้ไขจอภาพบันทึกรายการรับเงิน กรณียกเลิกรายการรับเงิน จากนั้นทำการบันทึกรับเงินอีกครั้งโดยอ้างถึงใบแจ้งหนี้เดิม พบว่าโปรแกรมไม่คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้ |
2 | ควบคุมการจัดซื้อ | แก้ไขจอภาพบันทึกรายการรับสินค้า กรณีกดปุ่มลบข้อมูลพบว่าโปรแกรมลบข้อมูลสถานที่เก็บไม่ครบทุก Records |
ความเห็นล่าสุด