การบันทึกต้นทุนสินค้านำเข้า ตอนที่ 1

    image002

    เดือนที่ผ่านมาทีมงาน Consult ได้มีโอกาสไปเยี่ยมเยียนลูกค้าที่ใช้ระบบงาน ECONS หลายราย พบว่ามี Feature ของระบบงาน ECONS ที่ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ แต่ลูกค้ายังไม่ได้นำมาใช้งาน เนื่องจากขาดความเข้าใจ หรือในช่วงแรกของการ Implement ยังไม่มีความพร้อมที่จะใช้งาน ผมจึงได้พยายามรวบรวมวิธีการประยุกต์ใช้ Feature เหล่านี้มาเขียนเป็นบทความให้ทุกท่านได้อ่านกัน โดยหวังให้ลูกค้าได้ใช้งานระบบงาน ECONS ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเรื่องแรกที่จะนำมาแชร์ให้ทราบคือ เรื่องการบันทึกต้นทุนสินค้านำเข้า ครับ

    เนื้อหาในบทความนี้แบ่งเป็น 2 ตอน
    ตอนแรกเป็นการอธิบายเพื่อให้ผู้อ่านทำความเข้าใจภาพรวมและเอกสารที่เกี่ยวข้องกันก่อน
    ส่วนตอนที่ 2 เป็นการอธิบายวิธีการบันทึกข้อมูลในระบบ ECONS
    สำหรับท่านที่ได้อ่านบทความนี้แล้ว เห็นว่าเรื่องนี้ตรงกับกรณีศึกษาที่ท่านมีอยู่ ผมอยากให้ลองทดสอบและวางแผนที่จะใช้งานดู หากติดปัญหาหรือต้องการคำแนะนำ,ฝึกอบรมเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามผมได้โดยตรงที่ kittisak.p@bbs.co.th

    การบันทึกต้นทุนสินค้านำเข้า

    กระบวนการนำเข้าวัตถุดิบมาใช้ในกระบวนการผลิต หรือนำเข้าสินค้าสำเร็จรูปจากต่างประเทศมาเพื่อขาย เป็นการดำเนินการที่ต้องผ่านขั้นตอน และมีความเกี่ยวข้องกับหน่วยงานต่างๆ หลายหน่วยงานไม่ว่าจะเป็น ผู้ส่งออก, ผู้นำเข้า, ธนาคารตัวแทนทั้งของผู้ผู้ส่งออกและของผู้นำเข้า , กรมศุลกากร, บริษัทเรือ, ตัวแทนนำเข้า เป็นต้น ทีนี้ผู้ใช้งานระบบ ECONS จะบันทึกต้นทุนค่าสินค้า และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการนำเข้าเป็นต้นทุนสินค้าได้อย่างไร

    ก่อนอื่นขออธิบาย Flow การทำงานและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้า ( กรุณาดูรูปภาพประกอบ )

     

     

     

     

    เอกสารที่เกี่ยวข้องในกระบวนการนำเข้าสินค้า

    1. PROFORMA INVOICE
      Proforma Invoice เป็นเอกสารยืนยันการสั่งซื้อ โดยผู้ส่งออกสินค้า ซึ่งจะมีรายละเอียดเงื่อนไขการชำระเงิน ,เงื่อนไขการส่งสินค้า, รายการสินค้า, จำนวน, ราคา และรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการชำระเงิน
    2. ใบเสร็จรับเงิน
      กรณีที่มีเงื่อนไข ต้องจ่ายมัดจำค่าสินค้าก่อนโหลดสินค้า ผู้นำเข้าจะต้องทำการโอนเงิน ให้กับธนาคารตัวแทน เพื่อส่งต่อให้กับผู้ส่งออก โดยผู้นำเข้าจะได้รับใบเสร็จรับเงินจากธนาคาร และส่งให้กับผู้ส่งออกเพื่อเป็นหลักฐานการชำระเงิน
    3. Commercial Invoice
      Commercial Invoice เป็นเอกสารที่ออกให้โดยผู้ส่งออก ใช้สำหรับแจ้งหนี้กับผู้นำเข้า ดังนั้น ใน Commercial Invoice จึงต้องแสดงรายการ จำนวน และมูลค่าของสินค้าที่ส่งออก เป็นสำคัญ
    4. Packing List
      Packing List เป็นเอกสารที่ออกให้โดยผู้ส่งออก เพื่อแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนหีบห่อ และน้ำหนักของสินค้าที่จัดส่ง
    5. Bill of Lading
      Bill of Lading หรือ ใบตราสารส่งสินค้า เป็นเอกสารที่บริษัทเรือ ออกให้เพื่อเป็นหลักฐานการรับสินค้าจากผู้ส่งออก ซึ่งผู้ส่งออก จะทำการ Scan เอกสารนี้ ส่งให้กับผู้นำเข้าเพื่อเรียกเก็บเงินค่าสินค้าส่วนที่เหลือ
    6. Invoice ค่าเรือ
      ใบแจ้งหนี้ค่าเรือ และค่าภาระยกขนสินค้า ซึ่งบริษัทเรือ เรียกเก็บกับตัวแทนนำเข้า ประกอบด้วย ค่า Freight (ค่าระวาง) , THC (Terminal Handing Charge : ค่าภาระหน้าท่า) , D/O (Delivery Order :ใบสั่งปล่อยสินค้า) ซึ่งจะต้องหัก ณ ที่จ่าย 1% และ Handing Charge (ค่าภาระยกขน) ซึ่งจะต้องหัก ณ ที่จ่าย 3%
    7. Form D
      Form D เป็นหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า ที่ออกให้โดยหน่อยงานราชการของประเทศสมาชิกผู้ส่งออก (มาเลเซีย) เป็นเอกสารที่ใช้ประกอบการยื่นขอใช้สุทธิลดหย่อนภาษีศุลกากร เป็นการลดอัตราภาษีศุลกากรแก่สินค้าที่นำเข้าระหว่างกันของประเทศสมาชิกอา เซียนภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA)ประกอบด้วย10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม พม่า ลาว และกัมพูชา
    8. ใบเสร็จรับเงิน
      ใบเสร็จรับเงินค่าสินค้าส่วนที่เหลือ ที่ผู้นำเข้าจ่ายผ่านธนาคารตัวแทน (ประเทศไทย) โดยผู้นำเข้าจะใช้เอกสารนี้เป็นหลักฐานการชำระเงิน ส่งให้ผู้ส่งออก
    9. ใบขนสินค้าขาเข้าพร้อมแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่ม
      ใบขนสินค้าขาเข้า เป็นแบบพิมพ์ที่กรมศุลกากรกำหนดให้ผู้นำเข้าต้องยื่นต่อกรมศุลกากรในการนำ เข้าสินค้า โดย แยกเป็น 9 แบบตามประเภทของสินค้า สำหรับตัวอย่างนี้ เป็น ใบขนสินค้าขาเข้าพร้อมแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งใช้สำหรับการนำเข้าสินค้าทั่วไป รายละเอียดที่สำคัญในใบขน คือ มูลค่าสินค้า , มูลค่าอากรขาเข้า,มูลค่าฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีมูลค่าเพิ่ม
    10. ใบเบิกเงินทดรองจ่าย
      สำหรับตัวอย่างเอกสารชุดนี้ ผู้แทนนำเข้า ได้ทำการเบิกเงินทดรองจ่ายบางส่วน จากผู้นำเข้า เพื่อนำไปจ่ายค่าใช้จ่ายนำเข้าต่างๆ ผู้แทนนำเข้าจึงออกเอกสาร ใบเบิกเงินทดรองจ่ายไว้เพื่อเป็นหลักฐาน
    11. ใบเสร็จรับเงินค่าภาษีอากรขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม
      ใบเสร็จรับเงินค่าภาษีอากรขาเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นหลักฐานการรับเงิน ที่กรมศุลกากร ออกให้ เมื่อตัวแทนนำเข้าชำระเงินภาษีอากรขาเข้า และภาษีมูลค่าเพิ่ม
    12. ใบเสร็จรับเงินค่าแคชเชียร์เช็ค
      เมื่อตัวแทนนำเข้า ได้ทำการซื้อแคชเชียร์เช็ค เพื่อชำระเงินค่าภาษีอากรขาเข้า และค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงมีใบเสร็จรับเงินค่าแคชเชียร์เช็คออกให้
    13. ใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียมการผ่านพิธีการ และค่าล่วงเวลาเมื่อตัวแทนนำเข้า ได้ชำระเงินค่าธรรมเนียมการผ่านพิธีการ และค่าล่วงเวลา ให้กับกรมศุลกากร จึงมีใบเสร็จรับเงินออกให้
    14. ใบเสร็จรับเงินค่าบริการจัดส่งข้อมูล
      เมื่อตัวแทนนำเข้า ได้ชำระเงินค่าบริการจัดส่งข้อมูล จึงมีใบเสร็จรับเงินออกให้
    15. ใบเสร็จรับเงินค่า Demurrage Charge
      Demurrage Charge เป็น ค่าเสียเวลาของเรือ หรือค่าเสียเวลาของตู้สินค้าที่ไม่สามารถนำออกจากท่าได้ตามเวลาที่กำหนด
    16. ใบเสร็จรับเงินค่ายกขนสินค้าและค่าเช่าโรงพักสินค้าท่าเรือ
      ใบเสร็จค่ายกตู้ Container และค่าเช่าโรงพักสินค้าท่าเรือ
    17. ใบเสร็จค่าเรือ,ค่าภาระยกขนสินค้า/ใบสั่งปล่อย, Freight Charge
      ใบเสร็จค่าเรือ,ค่าภาระยกขนสินค้า/ใบสั่งปล่อย, Freight Charge
    18. หนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่ายค่าเรือ,ค่าภาระยกขนสินค้า/ใบสั่งปล่อย, Freight Charge
      เมื่อตัวแทนนำเข้า ได้ทำการหัก ณ ที่จ่ายค่าเรือ,ค่าภาระยกขนสินค้า/ใบสั่งปล่อย, Freight Charge และออกหนังสือรับรอง หัก ณ ที่จ่ายแทนผู้นำเข้าไว้
    19. ใบแจ้งหนี้ค่าตัวแทนนำเข้า และค่าใช้จ่ายนำเข้า
      หลังจาก จบขั้นตอนนำเข้าสินค้า ตัวแทนนำเข้าจะทำการรวบรวมเอกสารประกอบการนำเข้าต่างๆ และแจ้งหนี้ค่าบริการตัวแทนนำเข้าและค่าใช้จ่ายต่างๆ กับผู้นำเข้า

    โปรดติดตามฉบับหน้า : การบันทึกข้อมูลในระบบ ECONS

    กิตติศักดิ์ เปรมกิจ
    ผู้จัดการแผนกที่ปรึกษา
    บริษัท บิสซิเนส บูลเลทีน เซอร์วิส จำกัด

Posted in การประยุกต์ใช้ ECONS, คู่มือ ECONS, ห้องสมุด Tagged with: , ,

การใช้งาน Mobile Devices ต่างๆควบคู่ไปกับการทำงาน

     
    aimage002

    การใช้งานคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเป็นเครื่องมือในการทำงานเพียงอย่างเดียวใน การทำงานในองค์กรนั้นอาจดูเหมือนเป็นเรื่องปกติครับถ้าหากตอนนี้เราอยู่ใน ยุค 90’s

     

    แต่ปัจจุบันในปี 2014 เทคโนโลยีต่างๆได้เดินทางมาไกลขึ้นมากทีเดียว เรามี Internet ที่มีความเร็วสูงขึ้นมาก มันไม่ใช่เรื่องยากอีกแล้วในสมัยนี้ที่เราจะหา Internet ที่มีความเร็วสูงกว่า 1 Mbps ในขณะที่เมื่อก่อนนั้น ผมยังจำ 56 kbps Modem ของผมได้อยู่เลย นั่นหมายความว่า จากวันนั้นจนถึงวันนี้ ความเร็วของ Internet ได้เพิ่มขึ้นอย่างน้อยๆ 20 เท่าตัวเลยทีเดียว ไม่เพียงเท่านั้น ทั้ง หน่วยประมวลผล ระบบปฏิบัติการใหม่ๆ รวมไปจนกระทั่งเซ็นเซอร์ตัวเล็กๆต่างๆก็ได้ถูกพัฒนาต่อเนื่อง จนในวันนี้ อุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์มากมายที่พึ่งพาเทคโนโลยีต่างๆเหล่านี้ถือกำเนิดขึ้นมา และกลายเป็นอุปกรณ์ที่เราเห็นทั่วๆไปในชีวิตประจำวันของพวกเรา เราได้เห็นการกำเนิดของ iPhone ซึ่งกลายมาเป็นการเริ่มต้นของยุค smartphone, iPad ซึ่งทำให้คนเราอยากจะหันมาถือ Tablet ใช้กันบ้าง และอุปกรณ์ที่น่าสนใจอื่นๆอีกมากมาย เช่น Google glass, ทีวี และ smartphone จอโค้ง, Touch screen laptops ฯลฯ คำถามถัดมาที่เราอาจจะเริ่มถามตัวเราเองคือ ในเมื่อมีอุปกรณ์ต่างๆมากมายขนาดนี้แล้ว จะไม่ลองหยิบเอามาใช้งานกันหน่อยหรือ?

     

    ก่อนจะตอบคำถามข้อนี้ได้ เราอาจต้องตอบให้ได้ก่อนว่า แล้วถ้าจะหยิบมาใช้แล้วมันจะมีประโยชน์คุ้มค่ากับเราหรือไม่?

     

    ในบทความเกี่ยวกับ QR Code ทั้ง 3 ตอนที่ผ่านมา ผมได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถของตัวเก็บข้อมูลชนิดนี้ และประโยชน์ที่จะได้รับการรับข้อมูลเข้าระบบที่รวดเร็ว ครบถ้วน และถูกต้องครับ ซึ่งแน่นอน การนำ QR Code ไปใช้งานยังจุดต่างๆก็จำเป็นต้องพึ่งเครื่องมือที่เหมาะสม หากจุดที่อ่าน QR Code เป็นจุดที่จำเป็นต้องใช้เครื่องอ่านที่พกพาได้ในการอ่าน เราก็จำเป็นต้องหาเครื่องที่เหมาะสมในการใช้งานลักษณะนี้ ซึ่งเราจะเห็นได้ทันทีเลยว่า อุปกรณ์ประเภท smartphone และ tablet นั้นตอบโจทย์ข้อนี้ได้ไม่ยากเย็นเลย

     

    ในวงการกีฬาเอง ข้อมูลและสถิตินั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมากเลยทีเดียว และเราก็เริ่มเห็นที่จะเห็นการหยิบเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาใช้งานมากขึ้น เรื่อยๆ อดีตนักเทนนิสมือวางอันดับ 1 ของโลกก็หยิบ Google glasses มาใส่ระหว่างฝึกซ้อมกับโค้ชของเขา ผู้จัดการทีมของสโมสรฟุตบอลทีมดังอย่าง บาเซโลน่า ก็เคยหยิบ Google glasses มาใส่เพื่อช่วยในการวิเคราะห์ ในอนาคตอันใกล้นี้ เราอาจเห็น Supervisor ขององค์กรเราใส่ Google glasses เพื่อตรวจคุณภาพของสินค้าว่าผ่านเกณฑ์หรือไม่ก็เป็นได้

     

    หากจะเอามาประยุกต์ใช้กับวงการอุตสาหกรรม เราอาจนำ smartphone หรือ tablet เข้ามาใช้ในการบันทึกผลผลิตในไลน์ผลิต หรือ อาจใช้เป็นเครื่องมือแสดงผลลัพธ์และรายงานต่างๆแบบ interactive ให้กับผู้บริหารได้ดู หรือ อาจใช้เป็นตัวตรวจจับและควบคุมการขนส่งสินค้าผ่านระบบGPSฯลฯ

     

    ดังนั้น เมื่อท่านผู้อ่านอาจจะเริ่มมองเห็นประโยชน์ในการนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ แล้ว เริ่มเห็นว่ามันคุ้มค่าที่จะหยิบมาใช้แล้ว คำถามสุดท้ายคือ แล้วเราจะนำข้อมูลต่างๆเหล่านี้ที่ได้จากการนำเอา smartphone และ tablet มาใช้มาผนวกเข้าด้วยกันเป็นสาระสนเทศที่มีประโยชน์กับองค์กรได้อย่างไร? เพราะหากข้อมูลต่างๆที่ได้มาไม่สามารถนำมาแปรรูปและนำเข้ามาผนวกกันได้ก็ไร้ ความหมาย

     

    ผมมีคำตอบให้ครับ เราจะนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ได้ก็ต่อเมื่อ ระบบบริหารทรัพยากรขององค์กรของท่านมีความพร้อมที่จะรองรับการใช้งาน เทคโนโลยีเหล่านี้ครับ และแน่นอนว่า ECONS เองก็เป็นระบบ ERP ที่มีความสามารถในการรองรับเทคโนโลยีดังกล่าวได้ครับ

     
    จับกระแสโลกให้ทัน และนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ครับ ผมรับรองได้ว่าประตูบานใหม่ๆอาจเปิดขึ้นมาให้ท่านผู้อ่านได้พบเห็นอีกมากมาย ทีเดียวเลยครับ

Posted in ห้องสมุด Tagged with:

การใช้งานระบบ ECONS ร่วมกับ Microsoft Project

    ในระบบควบคุมการผลิต เมื่อมีเลื่อนแผนการผลิต ตามปรกติจะต้องแก้ไขโดยการเปลี่ยนวันที่เริ่มต้น และวันที่สิ้นสุดของงานแต่ละขั้นตอน โดยเข้าไปแก้ไขที่เมนู K-C-B-B-B “บันทึกแก้ไขการปฏิบัติงาน” ทีละใบสั่งผลิต ทีละขั้นตอนการผลิต

    image002

    ในกรณีที่มีใบสั่งผลิตที่ต้องแก้ไขจำนวนมาก ก็จะไม่ค่อยสะดวกนัก ก่อนหน้านี้ BBS ได้พัฒนาโปรแกรม ECONS ให้สามารถทำงานร่วมกับโปรแกรม Microsoft Project ได้ โดยการ Export ข้อมูลตารางการผลิตจาก ECONS ออกมาที่ Microsoft Project แล้วแก้ไขเปลี่ยนแปลงเวลาเริ่ม และเวลาเสร็จด้วย Gantt Chart view และ Update ข้อมูลกลับไปที่ตารางการผลิตของ ECONS ซึ่งสามารถลดเวลา และอำนวยความสะดวกในการปรับปรุงแผนการผลิตได้เป็นอย่างดี ในปัจจุบันมีลูกค้าหลายรายใช้วิธีนี้ในการปรับเปลี่ยนแผนการผลิตอยู่

    image004

    image006

    เดือนที่ผ่านมาแผนก Consult ได้มีโอกาสปรับปรุง Feature นี้ให้ดีขึ้น จากเดิมที่สามารถปรับเปลี่ยนแผนการได้เฉพาะเวลาเริ่มและเวลาเสร็จได้เท่า นั้น ให้สามารถเปลี่ยนศูนย์การผลิตหรือเครื่องจักรได้ด้วย ผมจึงนำเรื่องนี้มาแจ้งให้ลูกค้าทุกท่านทราบ สำหรับท่านที่ต้องการใช้ Feature นี้ สามารถ Download Template และ โปรแกรม Update ได้ตาม Link นี้ (ภายใน 15 วัน)
     

    https://www.sendspace.com/file/90z3o1

    https://www.sendspace.com/delete/90z3o1/e27aecbe97a182f237a73f47206307e4

     

    ส่วนท่านที่ยังไม่เคยใช้สามารถติดต่อขอคำแนะนำ หรือ ขอรับการอบรมได้ที่แผนก Consult ครับ

     

Posted in ห้องสมุด Tagged with: , ,

การ Config VPN Windows 8.1 สำหรับ Windows Server 2003

     

    เดือนที่ผ่านมีลูกค้าท่านหนึ่งพบปัญหาว่าไม่สามารถกำหนดค่า Virtual private network (VPN) เครื่อง Windows 8.1 ไปที่เครื่อง Server ที่ติดตั้ง Windows server 2003 ได้ ผมจึงได้มีโอกาสทดสอบและพบว่า Windows 8.1 มี Default ค่าที่ทำให้ไม่สามารถ Connect กับเครื่อง Server ที่มี Version เก่ากว่าได้ เพื่อแก้ปัญหานี้จะต้องแก้ไข Setup ดังต่อไปนี้


    1. Tab Security หน้าจอ VPN Connection ให้กำหนดค่าการรับรองความถูกต้องตามภาพ
    2. image002


    3. แก้ไข Registry ที่ \HKEY_LOCAL_MACHINE\SYSYEM\CurrentControlSet\Service\RasMan\Parameters\AllowPPTPWeakCrypto = 1 ตามภาพ
    4. image004


    5. Restart เครื่อง


    จากนั้นเครื่อง Windows 8.1 ของท่าน จะสามารถ VPN ไปที่เครื่อง Server 2003 ได้ไม่มีปัญหาครับ

     

Posted in ห้องสมุด Tagged with: ,

ECONS เป็น Software ที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง

     

    เดือนที่ผ่านมาผมได้รับการติดต่อจากลูกค้าของเรา ท่านหนึ่งที่ใช้งานระบบ ECONS V2.12 มาตั้งแต่ปี 2550 มีความต้องการที่จะ Upgrade Version ระบบงาน ECONS เป็น V.213E ซึ่งเป็น Version ล่าสุด ผมได้มีโอกาสเข้าไปพบลูกค้าเพื่อที่จะอธิบายความสามารถของโปรแกรมรุ่นล่าสุด และประโยชน์ที่จะได้รับจากการ Upgrade ผมจึงรวบรวม Feature ที่เพิ่มขึ้นมาจาก Software รุ่นเดิม จาก News Letter ฉบับก่อน ๆ มาทำเป็น Presentation สำหรับนำเสนอลูกค้าก็พบว่า มีสิ่งที่พัฒนาให้ดีขึ้นร่วม 100 Feature เลยทีเดียว และ 70% พัฒนาในช่วงปี 2555 – 2557 เหตุที่ ECONS มี Feature เพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ BBS ต้องขอบคุณลูกค้าทุกท่านที่ได้แจ้งความต้องการและแนะนำมาที่แผนก Helpdesk ทาง CRF และแผนก Consult จากการเข้าไปเยี่ยมลูกค้า หรือ Implement โครงการใหม่ เรื่องที่ลูกค้าแจ้งมาแต่ละเดือน จะเอามานำเสนอในการประชุม Development Meeting ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกวันจันทร์ สัปดาห์สุดท้ายของเดือน ที่ประชุมจะพิจารณาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโปรแกรมจาก Spec ที่นำเสนอ,ผลกระทบขากการแก้ไข ตลอดจนวิธีการนำโปรแกรมไปใช้ เมื่อที่ประชุมเห็นว่าความสามารถใหม่ๆ ที่นำเสนอมีประโยชน์กับลูกค้าส่วนใหญ่ของเรา ก็จะอนุมัติให้ทางแผนก Development พัฒนาโปรกแกรมมาตรฐาน ( Standard Software ) และเมื่อโปรแกรมเสร็จพนักงานทุกฝ่ายของ BS จะดำเนินการทดสอบจนครบทุกแผนกแล้วประกาศ Launch New Feature ให้ลูกค้าทุกท่านทราบผ่านทาง News Letter อย่างสม่ำเสมอ

     

    ผมเอา Presentation ที่ไปนำเสนอลูกค้าเมื่อวันก่อนมา Share ให้ Download โดยกด Link ที่นี่ ได้เลยครับ

     

    หวังว่าจะเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์กับทุกท่านไม่ว่าจะเป็นลูกค้าที่ยังใช้ V.212 อยู่ ต้องการ Upgrade เป็น V.213E หรือลูกค้าที่ใช้ V.213 แล้วต้องการ Update New Feature

     
    หากมีข้อสงสัย หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถสอบถามมาที่แผนก Consult และ Helpdesk ได้เลยครับ

     

Posted in ห้องสมุด

ใช้ระบบ ECONS อย่างไรที่เรียกว่า 100%

     

    เมื่อเดือนก่อนทีมงาน Consult ได้รับคำถามง่ายๆ แต่ตอบยากจากผู้บริหารของลูกค้าท่านหนึ่งว่า “ระบบ ECONS ที่ใช้งานอยู่จนถึงปัจจุบันได้ 100 % หรือยัง” ซึ่งเป็นคำถามที่ดี และน่าสนใจ ผมจึงนำคำตอบเรื่องนี้มาเขียนเป็นบทความให้ทุกท่านได้อ่านกันในเดือนนี้

     

    ในความเห็นของผม การใช้งานระบบ ECONS ให้มีประสิทธิภาพ พิจารณาจากคุณภาพ และการใช้ข้อมูลจากระบบ ซึ่งมีอยู่ 3 ระดับ

    image002

    ระดับที่ 1 เรียกว่า Up-to-date

    เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน (User) สามารถบันทึกข้อมูลประจำวันได้ครบทุกกรณี เป็นปัจจุบัน ทันเวลาที่จะนำไปใช้งาน ซึ่งอาจยอมให้ล่าช้าได้ 1 ชั่วโมง หรือ 1 วัน อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถในการบันทึก และความต้องการใช้ข้อมูลในระดับนี้อาศัยความสามารถในการบันทึกข้อมูลของ User เป็นหลัก การที่ User สามารถบันทึกข้อมูลได้ทันวันต่อวัน สามารถตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนได้เบื้องต้น แสดงให้เห็นว่าระบบ ERP ที่ประกอบไปด้วย Hardware, network, software และ User สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างไม่มีปัญหา ในช่วงของการ Implement แรกๆ จำเป็นที่จะต้องได้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันก่อน

    ระดับที่ 2 เรียกว่า Accurate

    หมายถึง ข้อมูลที่บันทึกมีความถูกต้อง เป็นหน้าที่ของหัวหน้างาน หรือผู้จัดการ (Middle management) ที่จะต้องสามารถตรวจสอบข้อมูลที่ User บันทึกได้ โดยใช้รายงานประกอบระบบเมื่อพบปัญหาสามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง ต้องการความช่วยเหลือหรือคำแนะนำจาก Consult น้อยลง สามารถส่งข้อมูลให้หน่วยงานถัดไป หรือจัดทำรายงานเพื่อผู้บริหารได้อย่างถูกต้อง ในขั้นตอนนี้หากผู้ที่มีหน้าที่ตรวจสอบไม่เข้าใจระบบ ไม่เคยตรวจสอบข้อมูลที่ User บันทึกเลยการ Up-to-date ของข้อมูลที่เคยทำได้ก็จะน้อยลง User บางคนเห็นว่าไม่มีใครตรวจสอบก็อาจหยุดบันทึกไปเลยก็ได้ การทำงานประจำวันก็จะเริ่มติดขัด

    ระดับที่ 3 เรียกว่า Reliable

    หมายถึง ความเชื่อถือได้ของข้อมูลที่ได้จากระบบ ข้อนี้เป็นบทบาทสำคัญของผู้บริหารระดับสูง (Top management) ต้องได้รับรายงานจากระบบ และนำรายงานเพื่อผู้บริหาร (Management report)ไปใช้ในการวิเคราะห์ และตัดสินใจได้ รายงานต่างๆ เป็นปัจจุบัน มีความถูกต้อง และเชื่อถือได้ ผู้บริหารเข้าถึงข้อมูลของรายงานต่างๆ ในระบบเป็นอย่างดีสามารถนำข้อมูลไปใช้ประกอบการตัดสินใจในด้านการขาย ด้านการผลิต และด้านการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันให้เกิดการพัฒนาข้อมูลและระบบงานอย่างต่อเนื่องคุณภาพ ของข้อมูลทั้ง 3 ระดับ ไม่ใช่ขั้นตอนที่ต้องทำทีละขั้น ทุกคนในองค์กรต้องมีส่วนร่วมกับการนำระบบมาใช้ตั้งแต่เริ่มต้น Implement และร่วมกันพัฒนาคุณภาพของข้อมูลให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ไปพร้อมกัน 100% ของผมจึงหมายถึงทุกคนในองค์กร ตั้งแต่ User จนถึงผู้บริหารระดับสูงได้ใช้ประโยชน์จากระบบ ECONS ให้พึงระลึกว่าเรานำระบบ ERP มาเพื่อให้ทุกคนได้ใช้ ไม่ใช่นำมาให้ User ใช้เท่านั้น ถ้าผู้จัดการ หรือผู้บริหารไม่เคยได้รับประโยชน์จากระบบงานเลยแบบนี้ยังถือว่าไม่ 100 % นะครับ

Posted in การประยุกต์ใช้ ECONS, ห้องสมุด

Instagram BBS

No images found!
Try some other hashtag or username

Instagram #BBSECONS

No images found!
Try some other hashtag or username

ความเห็นล่าสุด

หมวดหมู่

ป้ายกำกับ

BOM e-tax PDF/A-3 QR CODE Utility Van Sales ขั้นตอนการผลิต ควบคุมคุณภาพ คำสั่งผลิต ค่าขนส่ง ต้นทุน บริหารโครงการ บัญชีแยกประเภททั่วไป ผลิต ผู้ขาย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ระบบควบคุมการจัดจำหน่าย ระบบควบคุมการจัดจำหน่าย (Van Sales) ระบบควบคุมการจัดซื้อ ระบบควบคุมการผลิต ระบบควบคุมการสั่งซื้อ ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง ระบบบัญชีทั่วไป ระบบบัญชีลูกหนี้ ระบบบัญชีเจ้าหนี้ ระบบรักษาความปลอดภัย ระบบโครงสร้างและขั้นตอนการผลิต รับคืนสินค้า ลูกหนี้ สต๊อกการ์ด สินค้าคงคลัง สินทรัพย์ถาวร ส่งสินค้า เงินทดรองจ่าย เงินมัดจำ เงินสดย่อย เจ้าหนี้ โอนย้ายสินค้าคงคลัง ใบขอซื้อ ใบสั่งขาย ใบสั่งซื้อ ใบสั่งผลิต ใบเบิกวัตถุดิบ ใบแจ้งหนี้