
คลิป อธิบายวิธีการกำหนดขั้นตอนการผลิต กรณีที่หน่วยในการสั่งผลิตกับหน่วยที่บันท
บรรยายโดย คุณกิติศักดิ์ เปรมกิจ
คลิป อธิบายวิธีการกำหนดขั้นตอนการผลิต กรณีที่หน่วยในการสั่งผลิตกับหน่วยที่บันท
บรรยายโดย คุณกิติศักดิ์ เปรมกิจ
เป็นระบบงานใหม่ที่ทาง BBS พัฒนาขึ้น โดยใช้โปรแกรม เทคโนโลยีล่าสุดของ
จากประเทศฝรั่งเศส ทำให้โปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นมีความทันสมัย สามารถใช้ร่วมกับเทคโนโลยีใหม่ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
นอกจากนี้ BySide ยังสามารถทำงานเป็นอิสระจาก ECONS ทำให้ประหยัดค่า License ECONS จากการที่ไม่ต้องนับรวมเครื่องของผู้บริหารที่ใช้ดูข้อมูลอย่างเดียว ซึ่งค่า License BySide ต่อเครื่องนั้นจะราคาถูกกว่า License ECONS ต่อ User อย่างมาก
ระบบ GL เมนู A.B.F ข้อกำหนดรายงานทางการเงิน เพิ่มปุ่มลบรายงาน เพื่อใช้ในการลบรหัสรายงานที่ต้องการ โดยโปรแกรมจะทำการลบรายการข้อมูลคอลัมน์ รายการบรรทัด ของรหัสรายงานนั้น ๆ ให้ทั้งหมด มีวิธีการดังนี้
ปกติเวลาเราต้องการเก็บภาพหน้าจอ ส่วนใหญ่เราก็จะใช้การกดปุ่ม [Prt Sc] (จับภาพทั้งหน้าจอ) หรือกดปุ่ม [Alt]+[Prt Sc] (จับภาพเฉพาะหน้าต่างโปรแกรมที่เรากำลังทำงาน/ Active Windows) เพื่อเก็บภาพหน้าจอไว้ใน Clip board แล้วค่อยไป วาง/paste ในโปรแกรม word แต่ละรูปจะใช้พื้นที่จัดเก็บประมาณ 300kb ขึ้นไป และมีข้อจำกัดอื่น ๆ อีกหลายประการ [แสดงวีดีโอ]
เท่าที่ลองใช้ดู โปรแกรมนี้ดีกว่า [Prt Sc] มาก ๆ ครับ มีความสามารถเทียบเคียงกับโปรแกรมเสียตังค์อย่าง Snagit ได้เลยครับ
หากท่านใช้ Snagit แบบไม่มีลิขสิทธิ์อยู่ ลองเปลี่ยนมาเป็น Gadwin PrintScreen แทนจะดีกว่าครับ สบายใจกว่าเยอะเลยครับ
สนใจเยี่ยมชม web site ของ Gadwin ได้ที่ http://www.gadwin.com/ หรือ download ได้ที่ http://www.gadwin.com/download/ps_setup.exe
นอกจาก Print Screen แล้ว ทาง Gadwin ยังมี Program อื่น ๆ ที่น่าสนใจอีกได้แก่ GeForms สำหรับทำแบบฟอร์ม, Diagram Studio สำหรับ ทำผังองค์กร ขั้นตอนการผลิต (ใช้แทน Visio) และ Web Snapshot สำหรับพิมพ์ web Page ให้ download มาใช้งานได้ Free เช่นกัน
(ปล.ทดลองใช้งานแล้ว ดีหรือไม่ดีอย่างไร กรุณาแจ้งให้ทราบจะเป็นพระคุณครับ หรือหากต้องการ Freeware สำหรับงานใด ๆ แจ้งมาให้ผมช่วยหาก็ยินดีรับใช้ครับ)
จากการสอบถามเจ้าหน้าที่ของ BBS ที่เข้าไปติดตั้งระบบงานให้กับลูกค้า ส่วนใหญ่จะกำหนดให้ password เหมือนกันกับ user name หรือไม่ก็ตั้งรหัสผ่านที่เดาออกได้ง่าย ซึ่งเสี่ยงมากสำหรับระบบงาน ECONS ซึ่งเก็บข้อมูลของบริษัทจำนวนมาก ดังนั้น ผมจึงขอแนะนำข้อมูลเกี่ยวกับการตั้ง password มาให้เพื่อช่วยในการตรวจสอบว่ารหัสผ่านของท่านว่า “แข็งแรง” แค่ไหนครับ
1. เทคนิค 8 ข้อในการตั้งรหัสผ่าน -> http://www.freeware.in.th/blog/1871
2. 500 คำที่คุณไม่ควรเอามาตั้งเป็นรหัสผ่าน -> http://www.freeware.in.th/blog/2114
3. Web Site ที่ช่วยตรวจสอบความแข็งแรงของรหัสผ่าน
4. Utility และ Web site ช่วยในการตั้งและจัดการรหัสผ่าน
เนื่องจาก ECONS เป็นระบบงานที่มีรายงานจำนวนมาก และรายงานหลายรายงาน ก็ออกแบบมาให้พิมพ์บนกระดาษขนาดใหญ่ (A3 or 15″x11″ or US Standard Fanfold) ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็น เครื่องพิมพ์ประเภท Dot Matrix ทั้งที่เป็นแบบ Hi-speed และ low-speed แต่ปัจจุบันผู้ใช้ ECONS มักไม่ได้ซื้อเครื่องพิมพ์ประเภทนี้แล้ว โดยหันมาซื้อ Laser Printer หรือ Ink Jet Printer ขนาดเล็กกันเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเครื่องพิมพ์กลุ่มนี้จะพิมพ์กระดาษขนาด A3 ไม่ได้ ทำให้เกิดปัญหา
ในเรื่องนี้ จริง ๆ แล้วไม่มีปัญหาครับ เพราะ Driver ของเครื่องพิมพ์ laser Printer เกือบทุกยี่ห้อ ยกเว้นรุ่นเก่า ๆ จะมี Feature Resize Option ให้สามารถย่อขนาดของรายงานจากกระดาษใหญ่ เป็น A4 ได้อัตโนมัติ โดยไม่ต้องปรับแก้ไขใด ๆ ที่รายงาน ECONS เลยครับ
ต.ย.การพิมพ์รายงานขนาด Legal เป็น A4
เริ่มจาก เปิดโปรแกรมรายงาน เลือก Printer Setup เลือก Printer ที่ต้องการพิมพ์ และเลือก Property จะแสดง Printer Property ของเครื่องพิมพ์ (หน้าตาจะแตกต่างในแต่ละยี่ห้อ) ให้มองหา Tab Effects หรือ Feature หรือชื่อที่ความหมายประมาณนี้ แล้วคลิกเลือก หา Resizing Option แล้วเลือก A4 ใน Field Print Document On (ในกรอบ Resizing Option ของแต่ละยี่ห้อ จะมี option ย่อย ๆ ต่างกันไป ซึ่งต้องทดลอง ดูว่า ช่วยทำให้ผลการพิมพ์ดีหรือไม่) สำหรับ ตย.นี้เป็น Hp printer จะต้อง Check box Scale to Fit ด้วยจะทำให้จัดหน้าสวยงามขึ้นครับ (ดูตัวอย่าง output ที่ได้จากการพิมพ์ตามต.ย.จาก output resize A3 to A4.jpg ที่แนบมาครับ [เป็นภาพที่ Scan จากรายงานทะเบียนทรัพย์สินที่พิมพ์จริง ๆ ครับ ปกติรายงานนี้ต้องใช้ A3 ครับ])
คำถาม จึงมีอยู่ว่า “งั้นทำรายงานกันเองได้ไหม?”
คำตอบ : ได้ครับ และทำได้ 4 วิธี ดังนี้
วิธีแรก : ใช้ Report Manager ในการปรับหน้าตาของรายงาน และสามารถแก้ไขการคำนวณได้เล็กน้อย อาทิเช่น เพิ่มยอดรวมคำนวณค่าเฉลี่ย แก้รายงานจากรายละเอียดให้เป็นสรุป เป็นต้น
วิธีที่สอง : เขียนโปรแกรม vfp ด้วยตนเอง แล้วไปใส่ในส่วนของ User Define Report ของ ECONS ซึ่งมีข้อดีตรง Run ภายใต้ Menu Permission ของ ECONS ทำให้ผู้ใช้ที่ใช้ ECONS ทุกคนสามารถใช้รายงานได้ ตามสิทธิ์ที่กำหนดไว้บน Menu Permission
วิธีที่สาม : ขอ Source Code ของ Standard Report (Form+Report) จาก BBS และไปปรับปรุงแก้ไขด้วยตนเอง และมาใส่ในส่วนของ User Define Report ของ ECONS
วิธีที่สี่ : จัดทำรายงานโดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ ดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลตรง ๆ (Crystal Report, Access, Excel) มีจุดอ่อนเกี่ยวกับ Security and Data permission เพราะคนใช้งานจะทราบ รหัสผ่านของฐานข้อมูล ซึ่งอาจทำให้เกิดการผิดพลาดต่อฐานข้อมูลได้ และสามารถ Run ได้บนบางเครื่องที่ Set up เพิ่มเติมเท่านั้น วิธีนี้เหมาะกับผู้ที่จัดเตรียมรายงานเป็นผู้ควบคุมระบบ IT หรือ ผู้บริหารครับ
คำถามต่อมา “ทาง BBS สนับสนุนอะไรบ้างในเรื่องนี้?”
คำตอบ :
1.ให้ข้อมูล (Information)
Help Desk มีหน้าที่ให้ข้อมูลว่าแต่ละโปรแกรมทำงานอย่างไร จัดเก็บที่ไหนอย่างไร ตามที่ลูกค้าสอบถามมาเพื่อให้ลูกค้าสามารถดึงข้อมูลเหล่านั้น
มาใช้ได้ ทาง BBS ถือว่า ข้อมูลเป็นของลูกค้า ลูกค้ามีสิทธิ์ที่จะใช้ข้อมูลของตนเองอย่างไรก็ได้ครับ อย่างไรก็ดี ท่านไม่ควร Update ข้อมูลใด ๆ
กลับไปยัง ECONS ครับ หากจำเป็นจริง ๆ กรุณาหารือกับเราด้วยทุกครั้งครับ
2.ให้คำแนะนำ (Suggestion)
เนื่องจากวิธีในการแก้ไขหรือจัดทำ Report นั้นมีหลายวิธีตามที่เรียนข้างต้น ลูกค้าควรเลือกใช้วิธีใดที่เหมาะสมกับความต้องการนั้น ๆ มากที่สุด
เรื่องนี้เป็นหน้าที่ของ Help Desk ที่จะรับฟังและทำความเข้าใจเกี่ยวกับความต้องการแก้ไขนั้น แล้วให้คำแนะนำว่าควรเลือกใช้วิธีใด แก้ไขอย่างไร
เช่น แนะนำว่า รายงานเดิมใดที่ใกล้เคียงกับความต้องการมากที่สุด และต้องปรับแก้ไขโปรแกรมรายงานนั้นอย่างไรจึงจะถูกต้อง เป็นต้น
3.ให้ Source Code ของรายงานตามที่ร้องขอ (Source Code)
ในกรณีที่ลูกค้าเลือกจัดทำรายงานใหม่ โดยนำรายงาน ECONS เดิมมาปรับแก้ (วิธีที่สาม) สามารถร้องขอ Source Code ของรายงานเดิม
ที่ต้องการจาก Help Desk ได้ครับ แต่การให้ Source Code จะให้ได้เฉพาะ Source Code ของรายงาน และต้องเป็นรายงานที่ไม่มีการ Update
ข้อมูลเท่านั้นครับ ทั้งนี้การให้ Source Code แต่ละครั้ง จะส่งให้เฉพาะรายงานที่ต้องการนำไปแก้ไขจริง ๆ เท่านั้น ไม่ได้ให้ Source Code ของรายงาน
ทุกรายงานไปให้ทั้งหมด ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการเวอร์ชั่นของโปรแกรมโดยรวมครับ
4.ให้การฝึกอบรม (Training)
การสร้าง/แก้ไขรายงานตาม วิธีที่ 1-3 นั้น จำเป็นต้องมีการฝึกอบรมให้เข้าใจก่อนครับ โดยคนที่จะเข้ารับการฝึกอบรมควรจะต้องมีพื้นฐานในการเขียน
โปรแกรมมากพอสมควรครับ การฝึกอบรมมีระยะเวลาที่แตกต่างกันตามทักษะ และระดับความยากง่ายของรายงานที่ต้องการเขียนโปรแกรม ดังนั้น
หากลูกค้าต้องการส่งบุคลากรมาฝึกอบรม กรุณาติดต่อมายัง Help Desk ครับ เรายินดีจัดการฝึกอบรมให้เหมาะสมกับทักษะของเจ้าหน้าที่ของท่านครับ
5.ให้ความช่วยเหลืออื่น ๆ (Support) เช่น
– จัดเก็บ Source code ของรายงานที่ลูกค้าได้แก้ไขไว้เป็น Back up ให้
– ส่งความต้องการรายงานนั้นให้ทีม Develop ดูว่าควรเป็น Standard Report หรือไม่ ถ้าใช่ก็ประสานงานให้มีการพัฒนาให้ โดยลูกค้าไม่ต้องแก้ไขเอง
– ช่วยทดสอบรายงานที่ท่านเขียนเสร็จว่าถูกต้องหรือไม่
ฯลฯ
คำถามสุดท้าย “มีข้อจำกัดอะไรบ้างไหม?”
คำตอบ :
ในการปูพื้นฐานในการเขียนโปรแกรมให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมครับ
3. ทาง BBS ไม่ต้องรับผิดชอบในความถูกต้องของรายงานที่พัฒนาโดยลูกค้าเอง หากมีข้อผิดพลาดใด ๆ ทางลูกค้าต้องเป็นผู้แก้ไขดูแลต่อไปเองครับ
สนใจข้อมูลเพิ่มเติม หรือหากต้องการฝึกอบรม สามารถติดต่อที่ Help Desk หรือตอบกลับมาตาม E-mail นี้ก็ได้ครับ ยินดีให้บริการเสมอครับ
โดยกำหนดเงื่อนไข ของทุกรายงาน เป็นสองคอลัมน์ เพื่อเปรียบเทียบยอดสะสมงวดปัจจุบัน กับยอดสะสมงวดก่อน ดังภาพ
2. ปรับปรุงคู่บัญชีต้นทุนที่ใช้ในการผลิตเข้าบัญชีต้นทุนขายประจำงวด ณ สิ้นงวด 1/13 โดยตัวเลขจะนำมาจากยอดยกไปในรายงานงบทดลอง และมีบัญชีที่เกี่ยวข้องกับต้นทุนผลิต ดังนี้
รหัสบัญชี | ชื่อบัญชี | เดบิต | เครดิต | หมายเหตุ | ที่มาข้อมูล |
11400-12 | วัตถุดิบปลายงวด | 2,100,000.00 | – | 1.ปรับปรุงวัตถุดิบใช้ไป | ได้มาจากการตรวจนับสิ้นงวด |
61110-90 | บัญชีพักวัตถุดิบทางตรงใช้ไป | 5,824,659.12 | – | ผลแตกต่าง | |
11400-11 | วัตถุดิบต้นงวด | – | 2,294,996.78 | ยอดยกมาต้นงวด | |
61110-91 | บัญชีพักซื้อวัตถุดิบ | – | 5,629,662.34 | ยอดซื้อวัตถุดิบสุทธิ (ซื้อ+ค่าขนส่ง-ส่งคืนสินค้าและส่วนลดรับ) | |
7,924,659.12 | 7,924,659.12 | ||||
11400-22 | วัสดุสิ้นเปลืองปลายงวด | 1,700,000.00 | – | 2.ปรับปรุงวัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป | ได้มาจากการตรวจนับ |
61120-90 | บัญชีพักวัถุดิบทางอ้อมใช้ไป | 626,929.81 | – | ผลแตกต่าง | |
11400-21 | วัสดุสิ้นเปลืองต้นงวด | – | 1,690,293.81 | ยกมา | |
61120-91 | บัญชีพักซื้อวัตถุดิบทางอ้อม | – | 636,636.00 | ซื้อวัสดุสิ้นเปลืองสุทธิ | |
2,326,929.81 | 2,326,929.81 | ||||
11400-32 | งานระหว่างทำปลายงวด | 5,000,000.00 | – | 3.ปรับปรุงงานระหว่างทำใช้ไป | ได้มาจากการตรวจนับ |
11400-31 | งานระหว่างทำต้นงวด | – | 4,982,931.23 | ยกมา | |
61200-90 | บัญชีพักงานระหว่างทำใช้ไป | – | 17,068.77 | ผลแตกต่าง | |
5,000,000.00 | 5,000,000.00 | ||||
11400-42 | สินค้าสำเร็จรูปปลายงวด | 3,900,000.00 | – | 4.ปรับปรุงต้นทุนขาย | ได้มาจากการตรวจนับ |
51100-00 | ต้นทุนสินค้าที่ขาย | 5,995,153.51 | – | ผลแตกต่าง | |
11400-41 | สินค้าสำเร็จรูปต้นงวด | – | 4,484,352.10 | ยกมา | |
51100-90 | บัญชีพักต้นทุนผลิต | – | 5,410,801.41 | ใช้ไป+ค่าใช้จ่ายทางตรง+โสหุ้ย |
รหัสบัญชี | ชื่อบัญชี | เดบิต | เครดิต | หมายเหตุ | ที่มาข้อมูล |
11400-12 | วัตถุดิบปลายงวด | 1,500,000.00 | – | 1.ปรับปรุงวัตถุดิบใช้ไป | ได้มาจากการตรวจนับ |
61110-90 | บัญชีพักวัตถุดิบทางตรงใช้ไป | 6,424,659.12 | – | ผลแตกต่าง | |
11400-11 | วัตถุดิบต้นงวด | – | 2,294,996.78 | ยกมา | |
61110-91 | บัญชีพักซื้อวัตถุดิบ | – | 5,629,662.34 | ซื้อวัตถุดิบสุทธิ | |
7,924,659.12 | 7,924,659.12 | ||||
11400-22 | วัสดุสิ้นเปลืองปลายงวด | 1,200,000.00 | – | 2.ปรับปรุงวัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป | ได้มาจากการตรวจนับ |
61120-90 | บัญชีพักวัตถุดิบทางอ้อมใช้ไป | 1,126,929.81 | – | ผลแตกต่าง | |
11400-21 | วัสดุสิ้นเปลืองต้นงวด | – | 1,690,293.81 | ยกมา | |
61120-91 | บัญชีพักซื้อวัตถุดิบทางอ้อม | – | 636,636.00 | ซื้อวัสดุสิ้นเปลืองสุทธิ | |
2,326,929.81 | 2,326,929.81 | ||||
11400-32 | งานระหว่างทำปลายงวด | 4,000,000.00 | – | 3.ปรับปรุงงานระหว่างทำใช้ไป | ได้มาจากการตรวจนับ |
11400-31 | งานระหว่างทำต้นงวด | – | 4,982,931.23 | ยกมา | |
61200-90 | บัญชีพักงานระหว่างทำใช้ไป | 982,931.23 | ผลแตกต่าง | ||
4,982,931.23 | 4,982,931.23 | ||||
11400-42 | สินค้าสำเร็จรูปปลายงวด | 3,000,000.00 | – | 4.ปรับปรุงต้นทุนขาย | ได้มาจากการตรวจนับ |
51100-00 | ต้นทุนสินค้าที่ขาย | 11,520,153.51 | – | ผลแตกต่าง | |
11400-41 | สินค้าสำเร็จรูปต้นงวด | – | 4,484,352.10 | ยกมา | |
51100-90 | บัญชีพักต้นทุนผลิต | – | 10,035,801.41 | ใช้ไป+ค่าใช้จ่ายทางตรง+โสหุ้ย | |
14,520,153.51 | 14,520,153.51 |
โดยกำหนดเงื่อนไข ของทุกรายงาน เป็นสองคอลัมน์ เพื่อเปรียบเทียบยอดประจำงวดปัจจุบัน กับงวดก่อน ดังภาพ
2. สำหรับงบต้นทุนผลิตและต้นทุนขาย จะต้องดำเนินการปรับปรุงบัญชีในแต่ละงวด เพื่อให้รายงานแสดงมูลค่าที่ถูกต้อง ตามตัวอย่าง ดังนี้
เดือน 1/2013
เดือน 2/2013
ท่านผู้อ่านเคยได้ยินถึงข้อแตกต่างระหว่างคำว่า ข้อมูล (Data) กับ สารสนเทศ (Information) ไหมครับ?
ข้อมูลอาจเปรียบได้กับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และรอบๆตัวเรานั้นก็มีข้อมูลเกิดขึ้นเต็มไปหมดครับ ยกตัวอย่างเช่นหลอดไฟดวงหนึ่งถูกเปิดไว้ มันจึงส่องสว่างอยู่ นี่ก็ถือว่าเป็นข้อมูลทางด้านภาพ (Visual data) อย่างหนึ่งครับ
ถ้าเช่นนั้น ข้อมูลต่างกับสารสนเทศอย่างไรครับ? สารสนเทศก็เป็นข้อมูลเหมือนกันครับ แต่สารสนเทศเป็นข้อมูลที่มีความหมาย และสามรถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น ถ้าหลอดไฟที่เราเห็นนั้น คือหลอดไฟบอกสถานะว่าน้ำมันของเรากำลังใกล้จะหมดแล้ว ทำให้เราต้องเริ่มมองหาปั๊มน้ำมันสำหรับที่เราจะเติมน้ำมันเพื่อให้รถวิ่งต่อไปได้ กรณีเช่นนี้ก็ถือว่าเป็นสารสนเทศทางด้านภาพ (Visual information) อย่างหนึ่งครับ โดยเรารับข้อมูลที่เป็นภาพเข้ามาด้วยดวงตาของเรา ประมวลข้อมูลดังกล่าวด้วยสมองของเราว่าแสงที่เราเห็นนั้นมีความหมายอย่างไร และความหมายของข้อมูลที่เราได้ก็คือ สารสนเทศนั่นเองครับ
ดังนั้น เราจะเห็นได้ว่า ก่อนที่เราจะเอาข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้ และกลายมาเป็นสารสนเทศนั้น ข้อมูลนั้นๆจะต้องผ่านการประมวลผลเสียก่อน
ที่ผมกล่าวมานั้นมีความสำคัญอย่างไรครับ? แล้วเกี่ยวข้องกับ QR Code อย่างไร? เดี๋ยวผมจะลองยกตัวอย่างกรณีศึกษาให้ท่านผู้อ่านได้เห็นภาพชัดเจนขึ้นนะครับ
มีองค์กรอยู่ 2 องค์กรครับ องค์กรแรกชื่อ บจก.นับด้วยมือ และองค์กรที่สองชื่อ บจก.ใช้เครื่องช่วยครับ ทั้งสององค์กรขายสินค้าชนิดเดียวกัน และโจทย์ที่ทั้งสององค์กรได้รับนั้นคือ การนับสต๊อกสินค้า เราลองมาดูการทำงานของทั้งสององค์กรนี้กัน
เมื่อถึงเวลานับสต๊อก พนักงานจำนวนหนึ่งของ บจก.นับด้วยมือ ก็จะถือเอกสารการตรวจนับที่ต้องการจะนับไปคนละใบ แล้วเดินเข้าไปที่คลังสินค้า และทำการนับทันที หลังจากนับเสร็จแล้ว พนักงานแต่ละคนก็จะเดินทางไปยังห้องคอมพิวเตอร์ของคลังสินค้า และนำใบสินค้าที่ได้ทำการจดบันทึกสินค้าที่นับไว้แล้วนั้นมอบให้กับผู้บันทึกข้อมูล ที่จะทำหน้าที่บันทึกข้อมูลการนับสินค้าเข้าไปยังระบบงาน ERP เพื่อให้สามารถผลิตรายงานการตรวจนับสินค้าได้
เราลองมาวิเคราะห์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกันเล็กน้อยนะครับ สำหรับ บจก.นับด้วยมือ สินค้าที่ต้องนับนั้นคือข้อมูลครับ และรายงานการตรวจนับนั้นคือ สารสนเทศ ที่เป็นผลลัพธ์ที่ผู้บริหารของ บจก.นับด้วยมือต้องการ จุดที่น่าสนใจคือ การประมวลผลก่อนที่ข้อมูลจะกลายมาเป็นสารสนเทศครับ ขั้นตอนของการประมวลผลมีดังนี้คือ
มาดูทางด้าน บจก.ใช้เครื่องช่วย กันบ้าง เมื่อถึงเวลานับสต๊อก พนักงานของ บจก.ใช้เครื่องช่วย จะหยิบ Smartphone ไปคนละเครื่องไปยังคลังสินค้า แล้วทำการอ่าน QR Code ที่ติดไว้บนสินค้าอยู่แล้ว เพื่อนับสินค้าตัวนั้นๆ เมื่อทำการอ่าน Smartphone แต่ละเครื่องนั้นได้ถูกตั้งค่าให้เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายภายในขององค์กรอยู่แล้ว และทำให้สามารถอัพโหลดข้อมูลที่อ่านไว้แล้วนั้นเข้าไปยังระบบ ERP ได้ทันที เมื่ออ่านเสร็จหมดแล้ว พนักงานก็เพียงแต่นำ Smartphone กลับมาเก็บเอาไว้ใช้ในครั้งถัดไปเท่านั้น
ได้เวลาวิเคราะห์อีกครั้งนะครับ บจก.ใช้เครื่องช่วย เองก็มีโจทย์เหมือนกันกับ บจก.นับด้วยมือ ครับ คือการแปลงข้อมูลสินค้าที่ต้องนับ ให้ไปเป็นรายงานการตรวจนับสินค้าครับ แต่ที่ต่างกันอย่างเห็นได้ชัดคือ ขั้นตอนที่ใช้ในการประมวลผลครับ โดยที่ขั้นตอนของการประมวลผลของ บจก.ใช้เครื่องช่วย มีดังนี้ครับ
เมื่อเปรียบเทียบขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลของทั้งสององค์กรนั้น เราจะเห็นได้ชัดเจนเลยครับว่า ขั้นตอนของ บจก.ใช้เครื่องช่วย นั้นน้อยและสั้นกว่า บจก.นับด้วยมือ ซึ่งถ้าเทียบจริงๆแล้วอาจเหมือนกับทำงานซ้ำซ้อนด้วยซ้ำ ขั้นตอนการทำงานที่มากกว่าก็เท่ากับเวลาการทำงานที่มากกว่า ซึ่งก็อาจแปลได้ถึงความล่าช้าของรายงานตัวนั้นๆด้วย
ไม่เพียงเท่านั้น จากขั้นตอนการทำงานต่างๆ บจก.นับด้วยมือ นั้นต้องเสี่ยงกับข้อมูลที่ผิดพลาดอีกด้วย เช่น ในกรณีที่พนักงานที่เข้าไปนับด้วยมือเขียนข้อมูลที่นับได้ลงไปบนเอกสารการตรวจนับผิด หรืออาจจะมีการนับสินค้าชิ้นเดิมซ้ำ หรืออาจเป็นในกรณีที่ผู้บันทึกข้อมูลเข้าไปในระบบงาน ERP นั้นบันทึกข้อมูลผิด ยิ่งขั้นตอนมีมาก และจำนวนข้อมูลมีมาก โอกาสที่จะเกิดข้อผิดพลาดเหล่านี้ก็จะยิ่งสูงตามไปด้วย แต่ในขณะเดียวกัน สำหรับ บจก.ใช้เครื่องช่วย นั้น โปรแกรมที่อยู่ใน Smartphone มีการตรวจสอบฐานข้อมูลอยู่เสมอว่าสินค้าชิ้นไหนถูกนับไปแล้ว จึงไม่มีข้อผิดพลาดในการนับซ้ำแต่อย่างใด ข้อผิดพลาดของข้อมูลจึงลดลงอย่างมากเลยทีเดียว
กรณีศึกษานี้ยังเป็นแค่การนับสินค้าเท่านั้นนะครับ แค่นี้เราก็เห็นข้อแตกต่างและประโยชน์ที่ได้รับจากการนำ QR Code มาใช้อย่างชัดเจนแล้ว แล้วถ้ายิ่งเป็นโจทย์ที่ข้อมูลที่มีการบันทึกมากๆ เช่น การตรวจเช็คสินค้าที่ต้องส่งให้ลูกค้าที่มีจำนวนมากๆ หรือ การทำ Product Traceability ข้อมูลที่เราต้องการบันทึกนั้นมีมากกว่าเพียงแค่จำนวนเท่านั้น อาจต้องมีการบันทึก Lot number, Expiry date, Serial number ฯลฯ ด้วย การทำสิ่งเหล่านี้ ด้วยมืออาจยิ่งเสี่ยงต่อความผิดพลาดของข้อมูลมากขึ้น ใช้เวลาการทำงานมากขึ้น และอาจถึงขั้นทำไม่ไหวเนื่องจากจำนวนของข้อมูลที่มหาศาลเลยทีเดียว ในขณะที่ข้อมูลที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้นั้น สามารถเก็บเอาไว้ใน QR Code ได้ ทำให้ขั้นตอนการทำงานในส่วนนี้ เมื่อนำ QR Code มาใช้แล้วไม่ได้ยุ่งยากขึ้นแต่ประการใด
ดังนั้น การที่เรานำ QR Code มาใช้งานในขั้นตอนการทำงานเหล่านี้จึงให้ประโยชน์แก่ผู้ใช้ได้มากมายครับ ข้อมูลที่ก่อนหน้านี้เคย บันทึกไม่ถูก บันทึกไม่ทัน หรือจนกระทั่งบันทึกไม่ไหว ก็จะกลายเป็นเพียงเรื่องในอดีตเท่านั้นครับ
ในตอนต่อไป ผมจะพูดถึง เครื่องมือที่ใช้ในการอ่าน QR Code ที่ทาง BBS ได้พัฒนาโปรแกรมเพื่อใช้กับเครื่องอ่านให้สามารถใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพและราคาย่อมเยาครับ
หลายท่านอาจจะทราบกันดีอยู่แล้วนะครับว่า คำว่า QR ใน QR Code นั้น ย่อมาจากคำว่า Quick Response ครับ ซึ่งมีความหมายในภาษาไทยว่า “ตอบสนองอย่างรวดเร็ว” นั่นเองครับ โดยที่ตัว QR Code นั้นถูกออกแบบมาให้มีความสามารถถูกตรวจจับและอ่านได้โดยง่าย แต่ความรวดเร็วนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับเพียงแค่ตัว QR Code อย่างเดียวเท่านั้นนะครับ อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันเลยนั้นก็คือ เครื่องอ่านนั่นเองครับ โดยในวันนี้เราจะมาพูดถึงเครื่องอ่าน QR Code ชนิดต่างๆกัน เพื่อที่เราจะสามารถตัดสินใจได้ว่า เครื่องอ่านชนิดใดเหมาะสมกับการใช้งานของท่านผู้อ่านมากที่สุดครับ
เครื่องอ่านชนิดแรกที่ผมอยากจะกล่าวถึงคือ เครื่องอ่าน QR Code ที่สามารถเชื่อมต่อกับ Computer ได้โดยตรงผ่าน USB port ครับ เครื่องอ่านเหล่านี้เป็นเพียง “ตัวรับข้อมูล” เท่านั้น และไม่สามารถประมวลผล คิดคำนวณ หรือทำอย่างอื่นเพิ่มเติมได้นอกจากการ อ่าน QR Code เท่านั้นครับ โดยสมองและการประมวลผลอื่นๆหลังจากรับข้อมูลทั้งหมดเข้ามานั้น จะต้องทำอยู่บน Computer ที่เครื่องอ่านเหล่านี้เชื่อมต่ออยู่เท่านั้นครับ เครื่องอ่านเหล่านี้มีข้อดีที่มีราคาค่อนข้างถูก แต่ก็มีข้อจำกัดอื่นๆอยู่มากเช่นกัน ซึ่งข้อจำกัดข้อที่ใหญ่ที่สุดก็น่าจะเป็นการที่จำเป็นจะต้องเชื่อมต่อกับ Computer เท่านั้นจึงจะสามารถทำงานได้ จากข้อจำกัดข้อนี้ จึงทำให้เราเห็นว่า เครื่องอ่านชนิดนี้เหมาะกับการทำงานบางลักษณะ และเฉพาะจุดที่สามารถตั้ง Computer ได้เท่านั้น เช่น จุดชำระเงิน (Cashier) เป็นต้น
ในงานประเภทที่จำเป็นจะต้องอ่านข้อมูล QR Code จากหลายๆสถานที่ ยกตัวอย่างเช่น การตรวจนับสินค้าในสต๊อกจากหลายๆโกดังสินค้า การเก็บข้อมูลภาคสนาม หรือแม้กระทั่งการเช็คสถานะของบน Shelf เราต้องยอมรับว่า เราไม่สามารถแบก Computer ไปกับเราทุกที่เพื่อทำการอ่านข้อมูลในลักษณะนี้ได้ (หรือถึงแบกไหวก็คงไม่สะดวกนัก) ในการทำงานลักษณะนี้ การหยิบเครื่องอ่าน QR Code ประเภท Handheld จึงเหมาะสมกว่า เครื่องอ่าน QR Code ประเภท Handheld นั้น ส่วนอยู่จะเป็นเครื่องอ่านที่มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการณ์ในตัวของมันเอง (Windows CE, Android ฯลฯ) ดังนั้น เครื่องอ่านประเภทนี้ จึงมีความสามารถในการประมวลผลเองได้อีกด้วย ข้อเสียของเครื่องอ่านประเภทนี้คือ ราคาที่สูงพอสมควร ถ้าเปรียบเทียบกับเครื่องอ่าน QR Code แบบเชื่อมต่อด้วย USB นั้น (ในเวลาที่ผมเขียนบทความนี้นั้น ราคาของเครื่องอ่านแบบเชื่อมต่อด้วย USB อยู่ที่ประมาณ 3,000 บาท) ราคาของเครื่องอ่านประเภท Handheld อาจแพงกว่าเป็น 10 เท่าตัวเลยทีเดียว (ในเวลาที่ผมเขียนบทความนี้นั้น ราคาของเครื่องอ่านแบบ Handheld อยู่ที่ประมาณ 30,000 บาท) ดังนั้น ด้วยข้อจำกัดในเรื่องต้นทุนที่ค่อนข้างสูง อาจทำให้การนำเครื่อง Handheld มาใช้นั้น นำมาใช้ไม่ได้เต็มที่ หรือไม่ครบทุกจุดที่ต้องการอ่านข้อมูล
ทางบริษัท BBS นั้น ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการนำ QR Code มาประยุกต์ใช้งาน และได้เห็นถึงจุดอ่อนของเครื่องอ่านทั้งสองชนิดเช่นกัน พวกเราจึงได้พัฒนา Software ที่ทำให้ Smartphone ที่มีขายตามท้องตลาดทั่วไปนั้น สามารถอ่าน QR Code ได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพไม่น้อยหน้าไปกว่าเครื่องอ่าน QR Code ประเภท Handheld เลย
ใช่แล้วครับ Smartphone ที่เราๆใช้กันอยู่นี่ล่ะครับ เราสามารถประยุกต์เอามาใช้งานเพื่ออ่านข้อมูล QR Code ได้อย่างสบายๆ ซึ่งราคาของ Smartphone นั้นก็มีราคาถูกกว่าเครื่องอ่านประเภท Handheld อยู่พอสมควร (ในเวลาที่ผมเขียนบทความนี้นั้น ราคาของ Smartphone นั้นอยู่ที่ประมาณ 4,000 – 25,000 บาท) และแน่นอน Smartphone นั้นพกพาสะดวก ใช้งานง่าย และสามารถประมวลผลได้เองอย่างรวดเร็วด้วย เพราะก็มาพร้อมระบบปฏิบัติการณ์ในตัวมันเองเช่นกัน เป็นความสามารถที่คุ้มค่าลงตัวจริงๆ
แต่แน่นอนครับ แม้ผมจะบอกว่า Smartphone ใดๆก็สามารถนำมาใช้ได้นั้น แต่การเลือก Smartphone ที่เอามาใช้งานนั้นก็สำคัญเช่นกัน เราควรจะเลือก Smartphone ที่มีความทนทานพอสมควร มีกล้องที่มีความละเอียดที่พอเหมาะ และมีความสามารถในการรับสัญญาณ WiFi ได้ดีครับ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุดครับ
QR Code เป็นเครื่องมือที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของท่านผู้อ่านได้ ทั้งในเรื่องความรวดเร็ว และแม่นยำของข้อมูล แถมยังเป็นเครื่องมือที่มีราคาย่อมเยาที่จะเอามาใช้อีกด้วย เห็นอย่างนี้แล้ว พร้อมจะใช้ QR Code กันหรือยังครับ?
ความเห็นล่าสุด