BySide V.1.07 Release Note

BySide V.1.07 Release Note

BySide Version นี้จัดทำรายงานใหม่ 3 รายงาน

รายงานส่งออกข้อมูลภงด.3, ภงด.53 (Text File) – ระบบบัญชีเจ้าหนี้ (AP)

เป็นรายงานที่ใช้พิมพ์ข้อมูล ภงด. 3, ภงด.53 ออกเป็นรูปแบบ Text File เพื่อใช้ในการยื่นแบบ ภงด. 3, ภงด.53 ผ่านทาง Internet

(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่บทความ วิธีการยื่นแบบ ภงด. 3, ภงด.53 ผ่านทาง Internet)
BySide V.1.07 Release Note-001BySide V.1.07 Release Note-002

 รายงานสถานะของโครงการ (การใช้เวลา) – ระบบบริหารโครงการ

เป็นรายงานที่เพิ่มในระบบบริหารโครงการ  เพื่อแสดงรายการต่าง ๆ ดังนี้

1.  แสดงรายงานแยกตามรหัสโครงการดำเนินงาน

2.  แสดงคำสั่งผลิตตามคำสั่งขาย และใบสั่งผลิตย่อยทั้งหมด  ภายใต้โครงการดำเนินงาน

3. แสดงการใช้เวลาและอัตราค่าแรงในการผลิตสินค้าตามขั้นตอนการผลิตของแต่ละคำสั่งผลิต

พร้อมทั้งเปรียบเทียบเวลาตามแผนและเวลาที่ใช้จริง ภายใต้โครงการดำเนินงาน

BySide V.1.07 Release Note-003BySide V.1.07 Release Note-004

 

 

 รายงาน Material Variance Report – ระบบควบคุมการผลิต (SF)

Material Variance Report หรือรายงานสรุปต้นทุนวัตถุดิบ  มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงรายการเบิกใช้วัตถุดิบในการผลิตของแต่ละรหัสสินค้าตามช่วงเวลาที่ระบุ ซึ่งการเบิกใช้วัตถุจะแยกตาม  BOM, Plan และ Actual   มีรายละเอียดของรายงานดังนี้

1.  แสดงเฉพาะรายการที่ปิดคำสั่งผลิต และประมวลผลต้นทุนแล้วเท่านั้น

2.  แสดงรายงาน 2 แบบ คือแบบละเอียด และแบบสรุป

3.  แสดงจำนวนและมูลค่า(ตามต้นทุนมาตรฐาน) การเบิกใช้วัตถุดิบตาม BOM และ Plan ที่กำหนดไว้

4.  แสดงจำนวนและมูลค่า(ตามต้นทุนจริง) การเบิกใช้วัตถุดิบส่วนของ Actual ตามการเบิกใช้จริง

5.  แสดงผลต่าง (Variance) แบ่งเป็น

–  Usage  ได้จาก (จำนวนใช้จริง * ต้นทุนมาตรฐาน) – (จำนวน BOM * ต้นทุนมาตรฐาน)

–  ราคา  ได้จาก (จำนวนใช้จริง * ต้นทุนจริง) – (จำนวนใช้จริง*ต้นทุนมาตรฐาน)

–  รวม  ได้จาก  Usage – ราคา

 

BySide V.1.07 Release Note-005BySide V.1.07 Release Note-006BySide V.1.07 Release Note-007

 

Back

Posted in BySide Release Note, Release Note, ห้องสมุด Tagged with: , , ,

การประยุกต์ใช้ระบบงาน ECONS ในการควบคุมงานโครงการ

ECONSProjectMangement-001

กิตติศักดิ์ เปรมกิจ ผู้จัดการแผนก Consult

เนื่องจากในปีนี้ BBS มีโอกาสรับงาน Implement ระบบ ECONS ให้กับลูกค้าที่เป็นลักษณะงานโครงการมา 2 บริษัท ซึ่งเป็นงานผลิตและติดตั้ง การใช้งานระบบมีความแตกต่างจากงานผลิตและส่งมอบสินค้าอยู่พอสมควร เช่น การจัดทำใบเสนอราคา,การบันทึกรายได้และค่าใช้จ่ายตามโครงการ ,การรับเงินมัดจำ, การหักเงินประกันผลงาน เป็นต้น แต่ก็สามารถใช้งานระบบ ECONS ได้อย่างเป็นอย่างดี จึงขออธิบายวิธีการใช้งานของโปรแกรม ECONS และรายงานเพื่อผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับงานโครงการไว้ดังนี้

ภาพรวมของการใช้ระบบงาน ECONS
      แสดง/ซ่อน

      ECONSProjectMangement-002

การทำงานในระบบ ECONS ในส่วนของงานโครงการมีความเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกับระบบงานต่างๆ ได้แก่ ระบบการจัดทำใบเสนอราคา, ระบบควบคุมการจัดจำหน่าย, ระบบควบคุมการจัดซื้อ,ระบบบัญชีลูกหนี้,ระบบบัญชีเจ้าหนี้,ระบบบัญชีแยก ประเภททั่วไป,ระบบบริหารเงินสด, ระบบควบคุมสินค้าคงคลังและระบบควบคุมการผลิต เพื่อบันทึกรายการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับรายได้ ต้นทุนการผลิต และค่าใช้จ่ายของโครงการ โดยหน้าจอบันทึกในระบบที่เกี่ยวข้องจะสามารถอ้างถึงรหัสโครงการได้ทั้งหมด ทั้งนี้เพื่อนำไปออกรายงานสรุปสถานะของโครงการ

คุณสมบัติเฉพาะของระบบ ECONS ที่เกี่ยวข้องกับงานโครงการ
  1. สามารถบันทึกข้อมูลหลักโครงการได้ เพื่อใช้อ้างถึงในการบันทึกรายการในหน้าจอบันทึกต่างๆ
  2. สามารถบันทึกรายได้ของโครงการได้ ผ่านระบบบัญชีลูกหนี้
  3. สามารถบันทึกต้นทุนการผลิต และค่าใช้จ่ายของโครงการได้ ผ่านระบบควบคุมการผลิต, ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง และระบบบัญชีเจ้าหนี้
  4. สามารถจัดทำรายงานสรุปสถานะของโครงการได้
รายงานในระบบ ECONS ที่สำคัญ

1.รายงานสรุปการใช้วัตถุดิบ แสดงรายการเบิกวัตถุดิบตามแผน(BOM) เทียบกับการเบิกจริงของทุกๆใบสั่งผลิตที่อยู่ในโครงการ ทำให้เห็นผลต่างของการใช้วัตถุดิบ สามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์ปัญหาและหาแนวทางในการลดต้นทุนได้

      แสดง/ซ่อน

      ECONSProjectMangement-003

2.รายงานสรุปการใช้เวลา แสดงรายการการใช้เวลาตามแผน(Routing) เทียบกับการบันทึกเวลาจริงของทุกๆใบสั่งผลิตที่อยู่ในโครงการ ทำให้เห็นผลต่างของการใช้เวลา ทำให้ทราบความก้าวหน้าของงานผลิต และติดตั้ง สามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์ปัญหาและหาแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ได้

      แสดง/ซ่อน

      ECONSProjectMangement-004

3.รายงานสรุปโครงการ แสดงข้อมูลสรุป เปรียบเทียบรายได้ ต้นทุนการผลิต และค่าใช้จ่ายทั้งหมดของโครงการ ใช้เป็นข้อมูลในการบริหารจัดการได้ตั้งแต่เริ่มต้นโครงการจนปิดโครงการ

      แสดง/ซ่อน

      ECONSProjectMangement-005

4.รายงานควบคุมเงินมัดจำ แสดงข้อมูลการรับเงินมัดจำและการหักเงินมัดจำ ทำให้สามารถควบคุมการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเงินมัดจำของลูกค้าแต่ละราย แต่ละโครงการได้อย่างถูกต้อง

      แสดง/ซ่อน

      ECONSProjectMangement-006

5.รายงานเงินประกันผลงาน แสดงข้อมูล การหักเงินประกันผลงานที่ลูกค้าหักไว้ทุกครั้งที่ส่งมอบงาน โดยตกลงว่าจะมีการจ่ายเงินคืนให้เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ หรือการส่งมอบงานงวดสุดท้าย ซึ่งมักมีระยะเวลายาวตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป รายงานนี้จะช่วยแสดงสถานะเตือนให้บริษัททราบ ไม่ลืมที่จะวางบิลขอรับคืนเงินประกันจากลูกค้าเมื่อถึงกำหนดระยะเวลาที่ตกลง กัน

      แสดง/ซ่อน

      ECONSProjectMangement-007

ตัวอย่างหน้าจอบันทึกข้อมูล

1. ข้อมูลหลักโครงการ ใช้ในการบันทึกรายละเอียดของโครงการ เพื่อใช้อ้างอิงในระบบงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง มีข้อมูลที่สำคัญได้แก่

      • รหัสโครงการและชื่อโครงการ
      • วันที่เริ่มโครงการ และสิ้นสุดโครงการ
      • สถานะของโครงการ เริ่มโครงการ(Initial)
      • ระยะเวลาที่ลูกค้าจะคืนเงินประกันผลงานหลังจากจบโครงการ (เดือน)
      • ระบบงาน ECONS ที่จะใช้บันทึกรายได้ และค่าใช้จ่ายของโครงการได้ ถ้ากำหนดเป็น Y หน้าจอบันทึกที่เกี่ยวข้องจะสามารถระบุรหัสโครงการได้
      • มูลค่ารวมของโครงการ ใช้แสดงในรายงานสรุปสถานะของโครงการ

      แสดง/ซ่อน

      ECONSProjectMangement-008

2. การจัดทำใบเสนอราคา สามารถอ้างถึง โครงการได้ โดยหนึ่งโครงการมีได้หลายใบเสนอราคา ซึ่งรายละเอียดของการบันทึกใบเสนอราคางานโครงการยังมีคุณสมบัติเฉพาะเพิ่ม เติมอีก จะเขียนอธิบายในบทความหลังจากนี้ต่อไป

      แสดง/ซ่อน

      ECONSProjectMangement-009

3. การบันทึกใบสั่งขาย สามารถอ้างถึงโครงการได้ โดยหนึ่งโครงการมีได้หลายใบสั่งขาย โดยจะเปิดใบสั่งขายตามใบสั่งซื้อที่ลูกค้าเปิดมา

      แสดง/ซ่อน

      ECONSProjectMangement-010

4. บันทึกตั้งหนี้เงินมัดจำ สามารถอ้างถึงโครงการได้ โดยหนึ่งโครงการสามารถบันทึกรับเงินมัดจำได้มากกว่า 1 ครั้ง เมื่อผ่านรายการตั้งหนี้ สามารถดูรายงานการรับเงินมัดจำได้ทันที

      แสดง/ซ่อน

      ECONSProjectMangement-011

5. การบันทึกรับเงินมัดจำ อ้างถึงใบสำคัญตั้งหนี้เงินมัดจำ ของแต่ละโครงการได้ เมื่อผ่านรายการรับเงินมัดจำจะสามารถดูรายงานการรับเงินมัดจำได้ทันที ทำให้ทราบว่ารายการใดรับเงินแล้ว หรือยังไม่ได้รับเงิน

      แสดง/ซ่อน

      ECONSProjectMangement-012

6. การบันทึกส่งสินค้า และตั้งหนี้หักเงินมัดจำ เมื่อบันทึกและผ่านรายการส่งสินค้าโดยอ้างใบสั่งขายของโครงการ ข้อมูลโครงการจะส่งต่อไปยังระบบบัญชีลูกหนี้อัตโนมัติ ซึ่งในหน้าจอนี่จะบันทึกรายการหักเงินมัดจำ โดยสามารถอ้างถึงเลขที่ใบสำคัญรับเงินมัดจำได้ ทั้งนี้จะทำให้สามารถแสดงยอดคงเหลือของเงินมัดจำตามใบสำคัญรับได้

      แสดง/ซ่อน

      ECONSProjectMangement-013

7. การบันทึกรับเงิน และหักเงินประกันผลงาน เมื่อมีการรับเงินในแต่ละงวด สามารถ บันทึกจำนวนเงินที่ลูกค้าหักเงินประกันผลงานได้ที่หน้าจอบันทึกค่าใช้จ่าย เมื่อผ่านรายการรับเงินสามารถดูรายงานการหักเงินประกันผลงานได้ทันที

      แสดง/ซ่อน

      ECONSProjectMangement-014ECONSProjectMangement-015

8. การบันทึกใบสั่งซื้อ สามารถอ้างถึงโครงการได้ โดยหนึ่งโครงการมีได้หลายใบสั่งซื้อ

      แสดง/ซ่อน

      ECONSProjectMangement-016

9. บันทึกรับสินค้า และตั้งเจ้าหนี้ เมื่อบันทึกและผ่านรายการรับสินค้า ข้อมูลโครงการจะส่งไปที่ระบบบัญชีเจ้าหนี้อัตโนมัติ หรือจะบันทึกตั้งเจ้าหนี้โดยอ้างถึงโครงการที่หน้าจอนี้ก็ได้ กรณีที่เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้ผ่านรายการมาจากระบบควบคุมการจัดซื้อ

      แสดง/ซ่อน

      ECONSProjectMangement-017

10. การบันทึกจ่ายเงิน สามารถอ้างถึงโครงการได้ โดยหนึ่งโครงการมีได้หลายใบสำคัญจ่าย

      แสดง/ซ่อน

      ECONSProjectMangement-018

11. การปรับปรุงสินค้าคงคลัง สามารถ อ้างถึงโครงการได้ ในแต่ละรายการสินค้าที่เบิก ซึ่งมักจะใช้หน้าจอนี้ในการบันทึกเบิกวัสดุสิ้นเปลืองที่สามารถระบุโครงการ ได้ แต่ไม่สามารถระบุใบสั่งผลิตได้ เมื่อผ่านรายการมูลค่าของการเบิกจะแสดงอยู่ในรายงานสรุปสถานะของโครงการส่วน ของค่าใช้จ่าย

      แสดง/ซ่อน

      ECONSProjectMangement-019

12. การเปิดใบสั่งผลิต สามารถอ้างถึง โครงการได้ โดยหนึ่งโครงการมีได้หลายใบสั่งผลิต เมื่อผ่านรายการอนุมัติคำสั่งผลิต สามารถดูรายงานสรุปสถานะของโครงการในส่วนของแผนการใช้วัตถุดิบและแผนการใช้ เวลางานได้ ในส่วนของการเบิกวัตถุดิบ และการบันทึกเวลาจะทำให้ระบบควบคุมการผลิตปรกติ เมื่อผ่านรายการจะแสดงข้อมูลในรายงานสรุปสถานะของโครงการทันที

      แสดง/ซ่อน

      ECONSProjectMangement-020

13. การปรับปรุงรายการบัญชี สามารถอ้างถึงโครงการได้ ใช้ในการบันทึกปรับปรุงรายการบันทึกรายได้หรือค่าใช้จ่ายต่างๆ และการบันทึกรับคืนเงินประกันผลงาน

      แสดง/ซ่อน

      ECONSProjectMangement-021

จะเห็นว่าไม่เฉพาะ แต่งานผลิต ระบบงาน ECONS สามารถรองรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับงานโครงการได้อย่างสมบูรณ์ หากมีข้อมูลเพิ่มเติมผมจะทยอย Update ให้ทราบในโอกาสต่อไป

<Download PDF>

Posted in การประยุกต์ใช้ ECONS, คู่มือ, คู่มือ ECONS, ห้องสมุด Tagged with: , , , , , , , ,

ภาษีซื้อต้องห้ามในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

ForbiddenInputTax-001A ForbiddenInputTax-001ForbiddenInputTax-000

ที่มา กรมสรรพากร

คำนำ

ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ภาษีที่จัดเก็บจากการขายสินค้า การให้บริการและการนําเข้าสินค้า ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ขายสินค้าหรือให้บริการไม่ว่าจะ ประกอบกิจการในรูปแบบใด หากมีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นคําขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีหน้าที่ต้องออกใบกํากับภาษีขายทุกครั้งที่มีการขายสินค้าหรือให้บริการ และหากมีการซื้อสินค้าหรือรับบริการจากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่า เพิ่มรายอื่นสามารถนําภาษีซื้อตามใบกํากับภาษีมาหักออกจากภาษีขายในการ คํานวณภาษีมูลค่าเพิ่มหรือขอคืนภาษีซื้อได้ สําหรับภาษีซื้อที่ผู้ประกอบการต้องพึงระมัดระวังในทางปฏิบัติคือ ภาษีซื้อต้องห้าม ที่กฎหมายไม่ให้นํามาหักออกจากภาษีขาย หรือไม่สามารถนํามาขอคืนภาษีซื้อได้ ในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม

กรมสรรพากรจึงได้จัดทําเอกสารเผยแพร่ “ภาษีซื้อต้องห้าม” ขึ้น เพื่อเผยแพร่ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม และผู้สนใจทั่วไป ได้รับความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติได้ถูกต้องเป็นแนวทางเดียวกันเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มต่อไปและ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้เสียภาษีทั่วไปได้เป็นอย่างดี

สารบัญ

ForbiddenInputTax-002

{ดาวน์โหลด}

{Version ปี 2554}

Posted in ห้องสมุด Tagged with:

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการเฉลี่ยภาษีซื้อ

VATProRateKnowledge

ที่มา : สรรพากรสาสน์ www.sanpakornsarn.com

 

ในการทำธุรกิจผู้ประกอบการหลายรายมักทำธุรกิจให้มีความหลากหลายและครบวงจร มากขึ้นเพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยผู้ประกอบการคนเดียวอาจประกอบธุรกิจหลายประเภท ซึ่งบางธุรกิจต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและบางธุรกิจไม่ต้องเสียภาษีมูลค่า เพิ่ม เช่น ธุรกิจขายปลาสวยงาม ถ้าขายเฉพาะปลาสวยงามก็ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ถ้าผู้ประกอบการมีบริการรับจ้างทำและตกแต่งตู้ปลา รวมทั้งจำหน่ายอุปกรณ์ต่างๆ ด้วยก็อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการจะต้องจัดการกับภาษีซื้อที่เกิด ขึ้นในธุรกิจทั้งสองประเภทอย่างถูกต้อง

 

ทําไมต้องเฉลี่ยภาษีซื้อ ?

การเฉลี่ยภาษีซื้อจะเกิดขึ้นในกรณีที่ผู้ประกอบการในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ประกอบกิจการทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) และประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (NON VAT) และผู้ประกอบการได้นำสินค้าหรือบริการ มาใช้ในกิจการทั้ง 2 ประเภท โดยไม่สามารถแยก ได้อย่างชัดเจนว่าสินค้าหรือบริการที่นำมาใช้นั้น เป็นการใช้ในกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงไม่สามารถแยกแยะได้ว่า ภาษีซื้อที่เกิดจากสินค้าหรือบริการนั้นเป็นภาษีซื้อของกิจการประเภทใดแน่ จึงต้องนำภาษีซื้อที่เกิดขึ้นมาเฉลี่ยตามส่วนของกิจการที่ตนเองนำภาษีมูลค่า เพิ่มไปใช้

 

ธุรกิจอะไรบ้างที่อาจต้องเฉลี่ยภาษีซื้อ ?

การประกอบธุรกิจประเภทที่อาจจำเป็นต้องเฉลี่ยภาษีซื้อ ตัวอย่างเช่น

    • การประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง (VAT) และธุรกิจให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ (NON VAT)
    • การประกอบธุรกิจให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ (NON VAT) และให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง (VAT)
    • การประกอบธุรกิจขายพืชผลทางการเกษตร (NON VAT) และประกอบธุรกิจส่งออกพืชผลทางการเกษตร (VAT)
    • การประกอบธุรกิจเงินทุนหลักทรัพย์ (NON VAT) และประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์ (VAT)

การเฉลี่ยภาษีซื้อมีวิธีการใดบ้าง ?

การเฉลี่ยภาษีซื้อมี 2 วิธีคือ

    1. เฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้
    2. เฉลี่ยภาษีซื้อตามพื้นที่การใช้อาคาร

การเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้ 

      แสดง/ซ่อน

      การเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้ ใช้สำหรับเฉลี่ยภาษีซื้อที่เกิดจากสินค้าหรือบริการ ที่ใช้ในการดำเนินกิจการทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม  ได้แก่
      1. ภาษีซื้อสำหรับค่าซื้อทรัพย์สินส่วนกลาง เช่น เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องตกแต่งสำนักงาน เครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ วัสดุสิ้นเปลือง เป็นต้น
      2. ภาษีซื้อสำหรับค่าใช้จ่ายส่วนกลาง เช่น ค่าสาธารณูปโภค ค่าโฆษณา ค่าซ่อมแซม เป็นต้น

      การเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้   มีวิธีการอย่างไร ?

      การเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้มีวิธีการและขั้นตอน ดังนี้

      ปีแรกที่เริ่มมีรายได้

      1.ให้ประมาณการรายได้ของกิจการทั้ง 2 ประเภททั้งที่ต้องเสียและไม่ต้องเสียภาษีมูลค่า-เพิ่มในปีที่เริ่มมีรายได้ (ปีแรกที่มีรายได้เกิดขึ้นจริงไม่น้อยกว่า 6 เดือนภาษี ทั้งนี้ไม่ว่าจะมี  รายได้ต่อเนื่องกันทุกเดือนภาษีหรือไม่ก็ตาม) เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการเฉลี่ยภาษีซื้อ โดยในปีแรกให้ถือเป็นภาษีซื้อได้ไม่เกินร้อยละ 50 ของภาษีซื้อที่นำมาเฉลี่ย
      2. สิ้นปีแรกที่เริ่มมีรายได้ให้ผู้ประกอบการทำการปรับปรุงภาษีซื้อให้เป็น ไปตามส่วนของรายได้ที่เกิดขึ้นจริงของแต่ละประเภทกิจการ ภายในเดือนภาษีแรกของปีถัดจากปีที่เริ่มมี   รายได้ โดยให้ปรับปรุงตั้งแต่เดือนภาษีแรกที่ได้มีการเฉลี่ยภาษีซื้อถึงเดือนภาษี สุดท้ายของปีที่เริ่มมีรายได้ พร้อมทั้งยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.30.2 เพิ่มเติมเพียงฉบับเดียวภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนภาษีแรกภายหลังสิ้นสุดปีที่เริ่มมีรายได้ โดยแยกเป็น 2 กรณี ดังนี้

      กรณีต้องจ่ายชำระภาษีเพิ่มเติม

      ถ้าภาษีซื้อที่เฉลี่ยตามประมาณการรายได้ และได้นำมาหักออกจากภาษีขายแล้ว มากกว่า ภาษีซื้อที่หักได้จริง ผู้ประกอบการจะต้องชำระภาษีซื้อส่วนที่เกินนั้น โดยผู้ประกอบการไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแต่อย่างใด
      นอกจากนี้ให้ผู้ประกอบการนำภาษีซื้อส่วนที่เกินดังกล่าวซึ่งยังมิได้นำไปรวม เป็นต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการไปรวมคำนวณเป็นต้นทุนของ ทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการในปีที่เกิดรายการภาษีซื้อนั้น

      กรณีได้คืนภาษีมูลค่าเพิ่ม

      ถ้าภาษีซื้อที่เฉลี่ยตามประมาณการรายได้และได้นำมาหักออกจากภาษีขายแล้วน้อย กว่า ภาษีซื้อที่หักได้จริง ผู้ประกอบการมีสิทธิขอคืนภาษีซื้อส่วนที่ขาดนั้น
      นอกจากนี้ให้ผู้ประกอบการนำภาษีซื้อส่วนที่ขาดดังกล่าวซึ่งได้นำไปรวมเป็น ต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการแล้วไปหักออกจากต้นทุนของทรัพย์สิน หรือรายจ่ายของกิจการในปีที่เกิดรายการภาษีซื้อนั้น

      – ปีที่ 2 และปีต่อๆไป

      1. ให้ผู้ประกอบการเฉลี่ยภาษีซื้อที่เกิดขึ้นในปีที่ 2 และปีต่อๆ ไป โดยใช้รายได้ของปีที่ผ่านมาเป็นเกณฑ์ในการเฉลี่ยภาษีซื้อ
      2. สิ้นปีที่ 2 และปีต่อๆ ไป ผู้ประกอบการ สามารถเลือกปฏิบัติได้ดังนี้
      – ปรับปรุงภาษีซื้อให้เป็นไปตามส่วนของรายได้ที่เกิดขึ้นจริงในปีปัจจุบัน ของแต่ละประเภทกิจการ ภายในเดือนภาษีแรกของปีถัดไป โดยปฏิบัติเช่นเดียวกับสิ้นปีแรกที่เริ่มมีรายได้ หรือ
      – ไม่ปรับปรุงภาษีซื้อให้เป็นไปตามส่วนของรายได้ที่เกิดขึ้นจริงในปีปัจจุบัน วิธีนี้จะทำให้กิจการได้รับความสะดวกในการจัดทำบัญชี โดยเมื่อเริ่มต้นปีภาษีใหม่ก็จะใช้รายได้ของปีที่ผ่านมาเป็นเกณฑ์ในการ เฉลี่ยภาษีซื้อ
      เมื่อผู้ประกอบการได้เลือกปฏิบัติตามวิธีใดแล้วให้ถือปฏิบัติตามวิธีนั้น ตลอดไป เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้เปลี่ยนแปลงได้

      กรณีศึกษา 1 การเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้
      ห้างหุ้นส่วนจำกัดปลาสวย เริ่มเปิดดำเนินการในปี 2549 ประกอบธุรกิจขายปลาสวยงาม (NON VAT) และขายอุปกรณ์การเลี้ยงปลาต่างๆ (VAT) ได้ประมาณการสัดส่วนรายได้ของธุรกิจขายปลาสวยงามและอุปกรณ์การเลี้ยงปลา ต่างๆ ในสัดส่วน  40  :  60 ตามลำดับในปี 2549 มีภาษีซื้อที่เกิดจากทรัพย์สินและบริการส่วนกลางที่ใช้ในกิจการทั้ง 2 ประเภท ซึ่งไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจน ดังนี้

       

      may11_221

       

                  เมื่อสิ้นปี 2549  ปรากฏว่ารายได้ที่เกิดขึ้นจริงของธุรกิจขายปลาสวยงามและอุปกรณ์การเลี้ยงปลา ต่างๆ มีสัดส่วน  55 : 45  ตามลำดับ

      ประเด็นที่ 1 ในระหว่างปี 2549 ห้างหุ้นส่วนจำกัดปลาสวย จะต้องเฉลี่ยภาษีซื้ออย่างไรในแต่ละเดือน ?

      ในระหว่างปี 2549 ให้เฉลี่ยภาษีซื้อตามประมาณการรายได้ ของธุรกิจขายปลาสวยงามและอุปกรณ์การเลี้ยงปลาต่างๆ ในสัดส่วน 40  :  60 ตามลำดับ ในปี 2549 เป็นปีแรกที่เริ่มมี  รายได้ ให้ถือเป็นภาษีซื้อได้ไม่เกินร้อยละ 50 ของภาษีซื้อที่นำมาเฉลี่ย
      may12_476

                  ประเด็นที่ 2 สิ้นปี 2549 ห้างหุ้นส่วนจำกัดปลาสวยจะต้องปรับปรุงภาษีซื้ออย่างไร และมีผลกระทบต่อต้นทุนของทรัพย์สินและบริการอย่างไร?

      สิ้นปี 2549  ถือเป็นสิ้นปีแรกที่เริ่มมีรายได้ ผู้ประกอบการจะต้องปรับปรุงภาษีซื้อให้เป็นไปตามส่วนของรายได้ที่เกิดขึ้น จริงในปี 2549 ของแต่ละประเภทกิจการ ภายในเดือนมกราคม 2550  ดังนี้
      may13_482
                  จะเห็นได้ว่า ภาษีซื้อที่เฉลี่ยตามประมาณการรายได้ มากกว่า ภาษีซื้อที่หักได้จริง  45,750 > 41,175  = 4,575 บาท

      ดังนั้น ผู้ประกอบการจะต้องชำระภาษีเพิ่มเติม 4,575 บาท โดยยื่นแบบแสดงรายการ ภ.พ.30.2 เพิ่มเติมเพียงฉบับเดียว ภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2550 ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแต่อย่างใดโดยผู้ประกอบการจะ ต้องนำภาษีซื้อ จำนวน 4,575 บาท ไปรวมคำนวณเป็นต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของปี 2549 ที่เกิดรายการภาษีซื้อนั้น

      ประเด็นที่ 3 ในระหว่างปี 2550 หากมีภาษีซื้อที่ต้องนำมาเฉลี่ย จะต้องเฉลี่ยภาษีซื้ออย่างไร ?

      ปี 2550 ถือเป็นปีที่ 2 ที่มีรายได้ให้ผู้ประกอบการเฉลี่ยภาษีซื้อที่เกิดขึ้น โดยใช้สัดส่วนรายได้ที่เกิดขึ้นจริงของปี 2549 เป็นเกณฑ์ในการเฉลี่ยภาษีซื้อปี 2550  ในกรณีพบว่าปี 2549 ห้างหุ้นส่วนจำกัดปลาสวย มีรายได้จากการประกอบกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในสัดส่วน 55 : 45 ดังนั้นในปี 2550 ห้างหุ้นส่วนจำกัดปลาสวยจึงมีสิทธินำภาษีซื้อมาใช้ในอัตราร้อยละ 45   เมื่อสิ้นปี 2550 ผู้ประกอบการสามารถเลือกปรับปรุงภาษีซื้อให้เป็นไปตามส่วนของ   รายได้ที่เกิดขึ้นจริง ในปี 2550 หรือเลือกที่จะ  ไม่ปรับปรุงภาษีซื้อให้เป็นไปตามส่วนของรายได้    ที่เกิดขึ้นจริงในปี 2550 ก็ได้ แต่วิธีหลังผู้ประกอบการจะได้รับความสะดวกในการจัดทำบัญชีมากกว่า

                   การเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้ มีข้อยกเว้นหรือไม่ ?

      การเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้ มีข้อยกเว้นไม่ต้องนำภาษีซื้อมาเฉลี่ย หากรายได้จากการประกอบกิจการของปีที่ผ่านมาเป็นดังนี้

      (1) หากรายได้ของปีที่ผ่านมาของกิจการ VAT มีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของรายได้ทั้งหมด ผู้ประกอบการมีสิทธิเลือกนำภาษีซื้อทั้งจำนวนไปหักออกจากภาษีขาย แต่ผู้ประกอบการห้ามนำภาษีซื้อดังกล่าวไปรวมคำนวณเป็นต้นทุนของทรัพย์สิน หรือรายจ่ายของกิจการ และสิ้นปี ก็ไม่ต้องปรับปรุงภาษีซื้อ เช่น

      – รายได้จากการรับเหมาก่อสร้าง (VAT)                  90%
      – รายได้จากการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ (NON VAT)   10%
      รวมรายได้    100%

      (2) หากรายได้ของปีที่ผ่านมาของกิจการประเภท NON VAT มีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของรายได้ทั้งหมด ผู้ประกอบการมีสิทธิ เลือกไม่นำภาษีซื้อทั้งจำนวนไปหักออกจาก   ภาษีขาย แต่ให้นำไปรวมคำนวณเป็นต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการ และสิ้นปีก็ไม่ต้องปรับปรุงภาษีซื้อ เช่น

      – รายได้จากกิจการขายพืชผลทางการเกษตร (NON VAT) 90%
      – รายได้จากการส่งออกพืชผลทางการเกษตร (VAT)         10%
      รวมรายได้        100%

      สรุปประเด็นการเฉลี่ยภาษีซื้อได้ตามส่วนของรายได้

      ผู้ประกอบการหลายรายอาจมีความรู้สึกว่าหากกิจการต้องทำการเฉลี่ยภาษีซื้อ จะเกิดความยุ่งยากและอาจมีปัญหาในภายหลังได้  ดังนั้นหากผู้ประกอบการต้องการหลีกเลี่ยงการเฉลี่ยภาษีซื้อ หรือต้องการขจัดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการเฉลี่ยภาษีซื้อ ผู้ประกอบการควรต้องวางแผนการดำเนินธุรกิจให้ชัดเจนตั้งแต่แรก  ซึ่งมีหลายแนวทางยกตัวอย่างเช่น
      1. แยกหน่วยธุรกิจออกจากกันอย่างชัดเจนระหว่างธุรกิจที่ต้องเสียภาษีมูลค่า เพิ่ม    กับธุรกิจที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยแยกตั้งธุรกิจเป็นคนละบุคคลหรือคนละนิติบุคคล หรือ
      2. แยกสถานประกอบการ และแยกการบริหารงานของกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มออกจากกันอย่างชัดเจน หรือ
      3. แยกรายได้และค่าใช้จ่ายของกิจการทั้ง 2 ประเภทออกจากกัน เช่น แยกการจัดซื้อ แยกการออกใบกำกับภาษี แยกการใช้สินทรัพย์หรือบริการ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดการเฉลี่ยภาษีซื้อให้เหลือเฉพาะที่ไม่สามารถแบ่งแยก ได้จริงๆเท่านั้น

การเฉลี่ยภาษีซื้อตามพื้นที่การใช้อาคาร

      แสดง/ซ่อน

                      การเฉลี่ยภาษีซื้อตามพื้นที่การใช้อาคาร ใช้สำหรับเฉลี่ยภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารเพื่อใช้ในกิจการทั้ง ประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะนำภาษีซื้อที่เกิดขึ้นมาเฉลี่ยตามพื้นที่การใช้อาคาร

           การเฉลี่ยภาษีซื้อตามพื้นที่การใช้อาคาร มีวิธีการอย่างไร ?

      การเฉลี่ยภาษีซื้อตามพื้นที่การใช้อาคารมีวิธีการและขั้นตอน ดังนี้

      เมื่อเริ่มก่อสร้างอาคาร
      1. ให้ผู้ประกอบการทำการประมาณพื้นที่อาคารที่ใช้เพื่อการประกอบกิจการ VAT และ NON VAT โดยให้แจ้งประมาณการใช้พื้นที่เป็นตารางเมตรในแต่ละชั้นต่ออธิบดีกรมสรรพากร ตามแบบ ภ.พ.05.1 ภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มก่อสร้างอาคาร หรือวันที่ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างอาคาร แล้วแต่วันใดจะเกิดขึ้นก่อน
      2.ให้ผู้ประกอบการเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของการใช้พื้นที่อาคารที่ได้ประมาณ ไว้ตามอัตราส่วนของแต่ละกิจการ โดยเริ่มเฉลี่ยตั้งแต่เดือนภาษีแรกที่เกิดภาษีซื้อจากค่าก่อสร้างอาคาร

      เมื่ออาคารก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์
      1. ให้ผู้ประกอบการแจ้งการก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์ต่ออธิบดีกรมสรรพากร  ตามแบบ ภ.พ.05.2 ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์
      2. ภายในระยะเวลา 3 ปี นับแต่วันที่ก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์
      หากผู้ประกอบการยังไม่ได้ใช้พื้นที่ของอาคาร หรือใช้พื้นที่ของอาคารตรงตามที่ได้ประมาณไว้ หรือใช้พื้นที่ของอาคารในส่วนของกิจการ VAT และ NON VAT ไม่เกินกว่าที่ได้ประมาณการไว้ในแต่ละส่วน ในกรณีนี้ผู้ประกอบการไม่ต้องปรับปรุงภาษีซื้อที่ได้เฉลี่ยไว้

      กรณีศึกษา 2

      บริษัท แคน จำกัด มีแผนก่อสร้างอาคารสำนักงาน ได้ประมาณสัดส่วนการใช้พื้นที่อาคารสำนักงาน ในกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ในสัดส่วน  70 : 30 ตามลำดับเมื่อก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์แล้ว    สมมติว่าบริษัท แคน จำกัด มีสัดส่วนการใช้อาคารเกิดขึ้นจริงในกรณีต่างๆ ดังนี้

      may14_469

                        ข้อสรุป เมื่อก่อสร้างอาคารสำนักงานเสร็จสมบูรณ์แล้ว และบริษัท แคน จำกัด มีการใช้พื้นที่อาคารจริงตามที่ได้สมมติไว้ 4 กรณีดังกล่าวข้างต้น บริษัท แคน จำกัด ไม่ต้องปรับปรุงภาษีซื้อที่ได้เฉลี่ยไว้แล้ว

      หากผู้ประกอบการใช้พื้นที่อาคารไม่ตรงตามที่ได้แจ้งประมาณการไว้เป็นครั้งแรก ให้ผู้ประกอบการดำเนินการ ดังนี้
      1. ให้ผู้ประกอบการแจ้งการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่อาคารต่ออธิบดีกรมสรรพากร ภาย  ใน 30 วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่อาคาร
      2. ปรับปรุงภาษีซื้อของกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีแรกที่ใช้ พื้นที่อาคารไม่ตรงตามที่ได้ประมาณการไว้ โดยให้ปรับปรุงการเฉลี่ยภาษีซื้อเป็นรายเดือน ตั้งแต่เดือนภาษีแรกที่มีภาษีซื้อจากการก่อสร้างอาคารเกิด    ขึ้นจนถึงเดือนภาษีก่อนเดือนภาษีที่ได้ใช้พื้นที่อาคารดังกล่าว โดยยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.30.3 เป็นรายเดือนภาษีทุกเดือน เดือนละ 1 ฉบับ ตามจำนวนเดือนภาษีที่ปรับปรุงภาษีซื้อ โดยยื่นพร้อมกันทั้งหมดภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนภาษีที่มีการปรับปรุงภาษีซื้อ โดยแยกเป็น 2 กรณี ดังนี้

      กรณีต้องจ่ายชำระภาษีเพิ่มเติม
      ถ้าภาษีซื้อที่เฉลี่ยไว้ตามประมาณการและได้นำมาหักออกจากภาษีขายแล้ว มากกว่า ภาษีซื้อที่เฉลี่ยตามการใช้พื้นที่จริง ผู้ประกอบการต้องชำระภาษีซื้อส่วนเกิน โดยผู้ประกอบการต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม
      นอกจากนี้ให้ผู้ประกอบการ นำภาษีซื้อส่วนเกินซึ่งยังมิได้นำไปรวมเป็นต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่าย ของกิจการไปรวมคำนวณเป็นต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการในปีที่เกิด รายการภาษีนั้น

      กรณีได้คืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
      ถ้าภาษีซื้อที่เฉลี่ยไว้ตามประมาณการและได้นำมาหักออกจากภาษีขายแล้ว น้อยกว่า ภาษีซื้อที่เฉลี่ยตามการใช้พื้นที่จริง ผู้ประกอบการมีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มส่วนที่ขาด นอกจากนี้ให้ผู้ประกอบการนำภาษีซื้อส่วนที่ขาดซึ่งได้นำไปรวมเป็นต้นทุนของ ทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการแล้วไปหักออกจากต้นทุนของทรัพย์สินหรือราย จ่ายของกิจการในปีที่เกิดรายการภาษีนั้น

      กรณีศึกษา 3

      บริษัท แคน จำกัด มีแผนก่อสร้างอาคารสำนักงาน ได้ประมาณสัดส่วนการใช้พื้นที่อาคารสำนักงาน ในกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ในสัดส่วน  70 : 30 ตามลำดับ
      เมื่อก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์แล้ว    สมมติว่าบริษัท แคน จำกัด มีสัดส่วนการใช้อาคารเกิดขึ้นจริงในกรณีต่างๆ ดังนี้
      may15_465
                     ข้อสรุป เมื่อก่อสร้างอาคารสำนักงานเสร็จสมบูรณ์แล้ว และบริษัท แคน จำกัด มีการใช้พื้นที่อาคารจริงตามที่ได้สมมติไว้ 4 กรณีดังกล่าวข้างต้น บริษัท แคน จำกัด ต้องปรับปรุงภาษีซื้อที่ได้เฉลี่ยไว้แล้ว เนื่องจากมีการใช้พื้นที่จริงในส่วนของกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและ กิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกินกว่าที่ได้ประมาณการไว้ในแต่ละส่วน
      หากผู้ประกอบการใช้พื้นที่อาคารไม่ตรงตามที่ได้แจ้งประมาณการไว้เป็นครั้ง ที่สองหรือครั้งต่อๆ ไป ให้ผู้ประกอบการดำเนินการดังนี้
      1. ให้ผู้ประกอบการแจ้งการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่อาคารต่ออธิบดีกรมสรรพากร ภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่อาคาร
      2. ปรับปรุงการเฉลี่ยภาษีซื้อดังกล่าวตั้งแต่ เดือนภาษีที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่อาคารในครั้งก่อน จนถึงเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่อาคารครั้งหลังสุด และให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงในครั้งแรก
      3. เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา 3 ปี นับแต่วันที่อาคารก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว ผู้ประกอบการจะเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่อาคารอย่างไรก็ได้ โดยไม่ต้องปรับปรุงการเฉลี่ยภาษีซื้อแต่อย่างใด
      4. ในกรณีที่อาคารได้ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว และต่อมาได้มีภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารเกิดขึ้นอีก โดยไม่สามารถแยกได้ชัดเจนว่าเป็นภาษีซื้อในส่วนใด จะต้องนำภาษีซื้อดังกล่าวมาเฉลี่ยตามอัตราส่วนการใช้พื้นที่ที่เกิดขึ้นจริง

      กรณีศึกษา 4

      บริษัท บีบี จำกัด เริ่มก่อสร้างในเดือนสิงหาคม 2548 เพื่อใช้ในกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยได้ประมาณการการใช้พื้นที่อาคารในส่วนของกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่า เพิ่มในอัตรา 70% และกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 30% ของพื้นที่อาคารทั้งหมด อาคารได้ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ในเดือนพฤษภาคม 2549 โดยมีภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2548 ถึงเดือนพฤษภาคม 2549 ดังนี้

      เมื่อเริ่มก่อสร้างอาคาร
      ให้เฉลี่ยภาษีซื้อตามประมาณการที่ได้กำหนดไว้สำหรับกิจการที่ต้องเสียภาษี มูลค่าเพิ่มในอัตรา 70% และกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 30%

      may16_507

                 เมื่อก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์
      ได้มีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่การใช้อาคารดังนี้

      may17_242

      การเปลี่ยนแปลงครั้งที่ 1 เดือนมิถุนายน 2549 กิจการไม่ต้องปรับปรุงภาษีซื้อที่เฉลี่ยไว้ เนื่องจากการใช้พื้นที่อาคารจริงไม่เกินกว่าที่ได้ประมาณการไว้
      การเปลี่ยนแปลงครั้งที่ 2 เดือนตุลาคม 2549 กิจการต้องปรับปรุงภาษีซื้อที่เฉลี่ยไว้ เนื่องจากพื้นที่การใช้อาคารจริงไม่เป็นไปตามที่ได้ประมาณการไว้ โดยใช้พื้นที่อาคารเพื่อกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกินกว่า ที่ประมาณการไว้

      ดังนั้นกิจการต้องเฉลี่ยภาษีซื้อตามพื้นที่การใช้อาคารที่เกิดขึ้นจริง ในส่วนของกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 40% และกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 60%

      may18_503

       

      may19_533

                การปรับปรุงภาษีซื้อในเดือนตุลาคม 2549 จะต้องปฏิบัติดังนี้

      1.ชำระภาษีซื้อส่วนเกิน เนื่องจากภาษีซื้อที่เฉลี่ยไว้ตามประมาณการ มากกว่า ภาษีซื้อที่เฉลี่ยตามการใช้พื้นที่จริง
      765,100  > 437,200  = 327,900  บาท
      ดังนั้นผู้ประกอบการต้องชำระภาษีซื้อเพิ่มเติม 327,900  บาท
      ผู้ประกอบการต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.30.3 เป็นรายเดือนภาษีทั้ง 10 เดือน เดือนละ 1 ฉบับ ตามจำนวนเดือนภาษีที่ปรับปรุงภาษีซื้อ โดยยื่นพร้อมกันทั้งหมด 10 ฉบับ ภายในวันที่ 15 ของเดือนพฤศจิกายน 2549 โดยผู้ประกอบการต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร

      2. นำภาษีซื้อส่วนเกินจำนวน  327,900  บาท ไปรวมคำนวณเป็นต้นทุนของอาคารหรือรายจ่ายของกิจการในปีที่เกิดรายการภาษีนั้น

      สรุปประเด็นการเฉลี่ยภาษีซื้อตามพื้นที่การใช้อาคาร

      ผู้ประกอบการควรทำการประมาณการใช้พื้นที่อาคารอย่างระมัดระวัง โดยต้องประมาณการการใช้พื้นที่ให้ชัดเจนและแน่นอน สำหรับกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อหลีกเลี่ยงความยุ่งยากในการต้องปรับปรุงภาษีซื้อที่ได้เฉลี่ยไว้แล้ว โดยเมื่ออาคารก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ผู้ประกอบการจะต้องใช้พื้นที่อาคารตาม ส่วนที่ได้แจ้งประมาณการไว้หรือไม่เกินกว่าที่ได้ประมาณการไว้ในแต่ละส่วน เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี นับตั้งแต่เดือนภาษีที่อาคารก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์
      หากผู้ประกอบการใช้พื้นที่อาคารสำหรับกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่า เพิ่ม และประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกินกว่าส่วนที่ได้ประมาณการไว้ จะมีผลต่อภาษีซื้อที่เฉลี่ยไว้ในช่วงของการก่อสร้างอาคาร ทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับปรุงการเฉลี่ยภาษีซื้อให้ตรงตามการใช้พื้นที่จริง โดยต้องปรับปรุงการเฉลี่ยภาษีซื้อ ย้อนหลังกลับไปตั้งแต่แรกที่เริ่มมีภาษีซื้อจาก การก่อสร้างอาคาร และปรับปรุงเป็นรายเดือน-ภาษี หากผู้ประกอบการใช้ภาษีซื้อมากเกินไปต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มด้วย อีกทั้งเมื่อมีการปรับปรุงการเฉลี่ยภาษีซื้อจะส่งผลต่อการ จัดทำบัญชีของผู้ประกอบการ โดยผู้ประกอบการต้องปรับปรุงต้นทุนของอาคารและค่าเสื่อมราคาให้ถูกต้องอีก ด้วย

บทสรุป

จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมดในเรื่องของการเฉลี่ยภาษีซื้อ คงจะทำให้ผู้ประกอบการหลายๆท่านมีความเข้าใจในเรื่องราวของการเฉลี่ย  ภาษีมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายใหม่ที่ประกอบธุรกิจทั้งประเภท VAT และ NON VAT จะได้ใช้เป็นแนวทางในการวางแผนและจัดการกับภาษีซื้อที่เกิดขึ้นได้อย่างถูก ต้องทั้งการเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้และการเฉลี่ยภาษีซื้อตามพื้นที่ การใช้อาคาร ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการจะต้องวางแผนจัดการกับการเฉลี่ยภาษีซื้อ ตั้งแต่เริ่มต้นเพื่อที่จะได้ไม่เกิดปัญหายุ่งยากและเป็นภาระในภายหลังเมื่อ ต้องปรับปรุงบัญชีหรือเสียภาษีเพิ่มเติมอีก


บรรณานุกรม

  • สรรพากรสาร์น
  • กลุ่มนักวิชาการภาษีอากร. ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร 2549. กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการพิมพ์, 2549
  • สมเดช  โรจน์คุรีเสถียร และคณะ. การบัญชีภาษีอากร. กรุงเทพมหานคร: ธรรมนิติ เพรส, 2549
  • สมเดช  โรจน์คุรีเสถียร และคณะ. กลยุทธ์การวางแผนภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งระบบ. กรุงเทพมหานคร: ธรรมนิติ เพรส, 2548
  • สรรพากร, กรม. ประมวลรัษฎากรฉบับอิเล็กทรอนิกส์ [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.rd.go.th, 1 มีนาคม 2550
  • สุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัย. เอกสารการสอนชุดวิชา การสอบบัญชี การบัญชีภาษีอากร และการวางแผนภาษี หน่วยที่ 9-15. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549
Posted in ห้องสมุด Tagged with:

ECONS V2.13E Rvs 580004 : Release Note

ECONS V2.13E Rvs 580004 : Release Note

ECONS V2.13E Rvs 580004  นี้มีการแก้ไขปรับปรุงโปรแกรมจำนวน 5 รายการ ดังนี้

ปรับเพิ่มการบันทึกข้อมูล และพิมพ์รายงานภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.2

จอภาพและรายงานที่แก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้1.   ระบบบัญชีเจ้าหนี้ (AP)

1.1  เมนูบันทึกการจ่ายเงิน  :  เพิ่มการบันทึกแบบที่ใช้ยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายภ.ง.ด.2 โดยทำการแยกประเภทเงินได้ทั้ง 5 ประเภท ดังรูป

ECONS V2.13E Rvs 580004

1.2 รายงานหนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายก่อน POST (STDAP6040) และรายงานหนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายหลัง POST (STDAP6037)

2

1.3 รายงานภาษีหัก ณ ที่จ่าย (STDAP6034)

3

1.4 รายงานภาษีเงินได้ (STDAP6035)

4

5

1.5 รายงานบัญชีพิเศษ (STDAP6036)

6

2. ระบบเงินทดรองจ่าย ( AV)

2.1 เมนูบันทึกการเคลียร์เงินทดรอง : เพิ่มการบันทึกแบบที่ใช้ยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายภ.ง.ด.2 โดยทำการแยกประเภทเงินได้ทั้ง 5 ประเภท ดังรูป

7

2.2 รายงานหนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายก่อน POST (STDAV6015)

8

3. ระบบเงินสดย่อย (PC)

3.1 เมนูบันทึกการเบิกเงินสดย่อย : เพิ่มการบันทึกแบบที่ใช้ยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายภ.ง.ด.2 โดยทำการแยกประเภทเงินได้ทั้ง 5 ประเภท ดังรูป

9

3.2 รายงานหนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายก่อน POST (STDPC6009)10

 

Back

ปรับหน้าจอรับเงินให้บันทึกเลขที่ใบกำกับภาษีซ้ำกันได้

1. เพิ่มฟิลด์ใช้เลขที่ใบสำคัญรับเป็นใบกำกับภาษี

11

กำหนด Y จะ Default เลขที่ใบกำกับภาษีตามเลขที่ใบสำคัญรับทุกรายการและไม่สามารถแก้ไขได้

12

กำหนด N เปิดให้ผู้ใช้กำหนดเลขที่ใบกำกับภาษีด้วยตนเอง

13

2. แก้ไขให้เลขที่ใบสำคัญรับเดียวกัน สามารถบันทึกเลขที่ใบกำกับภาษีเป็นเลขเดียวกันได้ทุกรายการ

14

3. รายงานภาษีขาย16

Back

ปรับหน้าจอตั้งลูกหนี้ให้สามารถอ้างถึงเอกสารหักล้างเงินมัดจำได้

เมื่อมีการหักล้างเงินมัดจำโปรแกรมจะเปิดให้ระบุเลขที่ที่เคยรับเงินมัดจำไว้ ทำให้ทราบว่าการหักล้างเงินมัดจำนี้เป็นการหักล้างจากเลขที่รับเงินมัดจำใด ซึ่งจะแสดงรายการที่รายงานการรับเงินมัดจำ (BySide)

171819

Back

ปรับหน้าจอตั้งลูกหนี้และบันทึกใบสำคัญให้สามารถบันทึกโครงการดำเนินงานที่ปิดแล้ว เพื่อรองรับการรับคืนเงินประกันผลงาน
เนื่องจากเงินประกันผลงานที่ลูกค้าหักไว้ จะมีระยะเวลากำหนดการขอรับคืนจากลูกค้า ซึ่งโครงการอาจมีสถานะ C-Closd ไปแล้ว ทำให้มีการปรับหน้าจอตั้งลูกหนี้ และหน้าจอบันทึกใบสำคัญให้สามารถอ้างอิงการรับคืนเงินประกันผลงานของโครงการที่ปิดไปแล้วได้
2021

Back

ปรับหน้าจออนุมัติการขอซื้อ

หน้าจออนุมัติการขอซื้อ ผู้ใช้ต้องทำการเลือกรหัสผู้อนุมัติก่อน และเนื่องจากผู้อนุมัติจะมีผู้ขอซื้อที่ต้องรับผิดชอบหลายรหัส เมื่อคลิก Lookup รหัสผู้อนุมัติแต่เดิมโปรแกรมจะแสดงรหัสผู้อนุมัติซ้ำๆ ตามรหัสผู้ขอซื้อทำให้ค้นหายาก จึงปรับปรุงให้แสดงรหัสผู้อนุมัติเพียงรายการเดียวเพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาดังรูป22

Back

Posted in ECONS Release Note, Release Note, ห้องสมุด Tagged with: , , , ,

BySide V.1.06 Release Note

BySide V.1.06 Release Note

BySide Version นี้จัดทำรายงานใหม่ 3 รายงาน, ปรับการบันทึกโครงการดำเนินงาน และปรับปรุงการค้นหาข้อมูลของ Look Up

รายงานป้ายบ่งชี้สถานะ – ระบบควบคุมการผลิต (SF)

รายงานป้ายบ่งชี้สถานะ เป็นรายงานใหม่เพิ่มใน ระบบควบคุมการผลิต (SF) เพื่อแสดงรายการคำสั่งผลิตสินค้าแยกตามเลขที่คำสั่งผลิตและศูนย์การผลิต โดยจะแสดงข้อมูลสินค้า, จำนวนสั่งผลิต และวันที่กำหนดเสร็จ รายงานนี้จะพิมพ์ออกเป็น Label เพื่อนำไปใช้ในการบ่งชี้ว่าสินค้าผลิตมาจากเลขที่คำสั่งผลิตและศูนย์การผลิตใด
BySide V.1.06 Release Note-001-1BySide V.1.06 Release Note-001-2

Back

รายงานการรับเงินมัดจำ – ระบบบัญชีลูกหนี้ (AR)

รายงานการรับเงินมัดจำ มี 2 รูปแบบคือ แบบละเอียดและแบบสรุป เป็นรายงานใหม่เพิ่มใน ระบบบัญชีลูกหนี้ (AR) แสดงรายการรับเงินมัดจำ และหักเงินมัดจำ แยกตามลูกค้า และโครงการดำเนินงาน โดยสามารถตรวจสอบรายการแยกตามปีการทำงานได้
BySide V.1.06 Release Note-002-1BySide V.1.06 Release Note-002-2BySide V.1.06 Release Note-002-3

Back

รายงานการหักเงินประกันผลงาน – ระบบบัญชีลูกหนี้ (AR)

รายงานการหักเงินประกันผลงาน มี 2 รูปแบบคือ แบบละเอียดและแบบสรุป เป็นรายงานใหม่เพิ่มใน ระบบบัญชีลูกหนี้ (AR) แสดงรายการหักเงินมัดจำแยกตามลูกค้า และโครงการดำเนินงาน โดยสามารถตรวจสอบเฉพาะรายการที่ค้างรับเงินคืน หรือทั้งหมดได้

    • รายงานจะแสดงวันที่หักเงินประกันผลงาน
    • วันที่ครบกำหนดรับคืนเงินประกันผลงาน (หากแสดงข้อความจำนวนเดือน หมายถึงยังไม่ปิดโครงการ)
    • สถานะการรับคืนเงินประกันผลงาน (สถานะเป็น Blank หมายถึงยังไม่ได้รับคืนเงินประกันผลงาน)
    • กรณีที่เกินกำหนดการรับคืนเงินประกันผลงานรายงานจะแสดงแถบสีเหลืองของรายการที่เกินกำหนดนั้น

BySide V.1.06 Release Note-003-1BySide V.1.06 Release Note-003-2BySide V.1.06 Release Note-003-3

Back

ปรับหน้าบันทึกโครงการดำเนินงาน

ปรับปรุงหน้าบันทึกโครงการดำเนินงานโดยการเพิ่มฟิลด์การบันทึก ดังนี้

    • วันที่อนุญาติบันทึกข้อมูลรับเงินประกันผลงาน หรือวันที่ครบกำหนดรับคืนเงินประกันผลงาน เปิดให้บันทึกเฉพาะโครงการดำเนินงานที่สถานะ C-Close เท่านั้น นำไปใช้ในการตรวจสอบในรายงานการหักเงินประกันผลงานว่าเกินกำหนดรับคืนเงินแล้วหรือยัง และนำไปใช้ในการตรวจสอบเพื่ออนุญาติให้บันทึกอ้างอิงการรับคืนเงินประกันผลงานที่ระบบบัญชีลูกหนี้
    • สถานะการรับเงินประกันผลงาน สถานะ N คือยังไม่ได้รับคืนเงินประกันผลงาน และสถานะ Y คือได้รับคืนเงินประกันผลงานแล้ว ใช้ในการแสดงสถานะในรายงานการหักเงินประกันผลงาน

BySide V.1.06 Release Note-004

Back

ปรับปรุงการค้นหาข้อมูลของ Look Up

ปรับปรุงการค้นหาข้อมูลของ Look Up ให้สามารถค้นหารายการตามข้อความที่ระบุโดยข้อความนั้นอยู่ตำแหน่งใดก็ได้ เช่น ค้นหาชื่อลูกค้าที่มีคำว่า “เลิศ” Look Up ก็จะแสดงรหัสลูกค้าทุกรายการที่มีคำว่า “เลิศ” ดังรูป วิธีการคือ คลิกที่สัญลักษณ์ แว่นขยาย จากนั้นคลิกสัญลักษณ์ รูปกรวย ในคอลัมน์ที่ต้องการค้นหาแล้วกำหนดข้อความที่ต้องการค้นหา
BySide V.1.06 Release Note-005

Back

Posted in BySide Release Note, Release Note, ห้องสมุด Tagged with: , ,

BySide V.1.05 Release Note

BySide V.1.05 Release Note

BySide Version นี้ มีการจัดทำรายงานใหม่ 4 รายงาน (4 รูปแบบ)

รายงานสรุปต้นทุนคำสั่งผลิต – ระบบต้นทุนการผลิต(CS)

เป็นรายงานที่เพิ่มในระบบต้นทุนการผลิต (CS) มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงต้นทุนมาตรฐาน และต้นทุนจริงของคำสั่งผลิตที่มีการรับสินค้าบางส่วนหรือทั้งหมดแล้ว โดยดูได้ทั้งคำสั่งผลิตที่ยังไม่ปิด หรือปิดแล้ว

BySide V.1.05 Release Note-001-1BySide V.1.05 Release Note-001-2

Back

รายงานผลการผลิตประจำวัน – ระบบควบคุมการผลิต (SF)

BySide V.1.05 Release Note-002-1เป็นรายงานที่เพิ่มในระบบควบคุมการผลิต (SF) เพื่อแสดงเวลาผลิต, เวลาสูญเสีย, จำนวนที่ผลิตได้ ของแต่ละเลขที่คำสั่งผลิต โดยแยกตามเครื่องจักร, ศูนย์การผลิต, กลุ่มศูนย์การผลิต และวันที่ผลิต โดยสามารถแยกดูตามกะได้
 
 

เนื่องจากรายงานนี้เป็นรายงานที่แสดงข้อมูลหลายคอลัมน์ทำให้ไม่สามารถ Preview เป็นรูปแบบรายงานได้ จึงเป็นรายงานที่จัดทำโดยพิมพ์ลงที่ Excel File ให้อัตโนมัติ ซึ่งผู้ใช้สามารถบันทึก/แก้ไข Excel File ได้
 
 
 
BySide V.1.05 Release Note-002-2

Back

รายงาน Cost Saving – ระบบควบคุมการจัดซื้อ (PO)

BySide V.1.05 Release Note-003-2เป็นรายงานที่เพิ่มในระบบควบคุมการจัดซื้อ (PO) แสดงรายการจัดซื้อสินค้าโดยแสดงมูลค่าซื้อสินค้าปัจจุบันกับมูลค่าซื้อสินค้าก่อนหน้า เพื่อเทียบให้เห็นว่ามูลค่าปัจจุบันซื้อได้ราคาที่สูงกว่าหรือต่ำกว่ามูลค่าซื้อก่อนหน้า
BySide V.1.05 Release Note-003-1
หมายเหตุ ความหมาย Cost Saving
0 คือจำนวนเงินรวมปัจจุบัน เท่ากับ จำนวนเงินรวมล่าสุด ทำให้ Cost Saving เป็น 0 (ซื้อได้ในราคาเท่าเดิม)
มากกว่า 0 คือจำนวนเงินรวมปัจจุบัน น้อยกว่า จำนวนเงินรวมล่าสุด (ซื้อได้ในราคาที่ต่ำกว่าเดิม)
น้อยกว่า 0 คือจำนวนเงินรวมปัจจุบัน มากกว่า จำนวนเงินรวมล่าสุด (ซื้อได้ในราคาที่สูงกว่าเดิม)

Back

รายงาน Cost Avoidance – ระบบควบคุมการจัดซื้อ (PO)

เป็นรายงานที่เพิ่มในระบบควบคุมการจัดซื้อ (PO) แสดงรายการประวัติขอซื้อสินค้า และสั่งซื้อสินค้า เพื่อเทียบมูลค่าขอซื้อสินค้าและมูลค่าสั่งซื้อสินค้า
BySide V.1.05 Release Note-004-1BySide V.1.05 Release Note-004-2

Back

Posted in BySide Release Note, Release Note, ห้องสมุด Tagged with: , ,

ECONS V2.13E Rvs 580003 : Release Note

ECONS V2.13E Rvs 580003 : Release Note

ECONS V2.13E Rvs 580003 นี้มีการแก้ไขปรับปรุงโปรแกรมจำนวน 4 รายการ ดังนี้

ปรับปรุงจอภาพ บันทึก/แก้ไข เวลาประจำวัน 2 – ระบบควบคุมการผลิต (SF)

จอภาพบันทึก/แก้ไขเวลาประจำวัน 2 มีการแก้ไข 2 รายการ ดังนี้
 

1. การบันทึกเวลาให้สามารถบันทึกเฉพาะเวลา Setup ได้ในกรณี Run Time เป็น 0: รองรับ บางขั้นตอนปฏิบัติงานที่มีลักษณะพิเศษ ที่มีระยะเวลาการทำงานเท่ากันทุกครั้ง ไม่ว่าจะมีปริมาณผลผลิตเท่าใด เช่น การตรวจรับ การตรวจสอบ และรองรับในกรณีการ Setup แล้วเครื่องจักรมีปัญหาไม่สามารถเริ่มปฏิบัติงานได้ ต้องย้ายไปใช้เครื่องจักรอื่น
ECONS V2.13E Rvs 580003 Release Note-001-1

2. การบันทึกเวลาในกรณีบันทึกเวลาสูญเสีย ไม่จำเป็นต้องระบุเลขที่คำสั่งผลิต : เพื่อให้สามารถระบุรายละเอียดของเวลาสูญเสียให้ละเอียดขึ้น เป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์ OEE
ECONS V2.13E Rvs 580003 Release Note-001-2

Back

เพิ่มการอ้างอิงโครงการบนเอกสาร อีก 5 ระบบงาน รวมเป็น 10 ระบบงาน

ตามที่เพิ่มเติมระบบบริหารโครงการในโปรแกรม BySide V1.04 ซึ่งใช้สำหรับบันทึกรายละเอียดโครงการดำเนินงาน เพื่อนำไปใช้ในการอ้างอิงรายการในระบบงาน ECONS ทำให้สามารถตรวจสอบถึงรายการต่าง ๆ ที่นำมาดำเนินการในโครงการนั้น ๆ ได้ และใน ECONS V.2.13E Rvs 580002 (version ก่อนหน้านี้) มีระบบงานที่แก้ไขให้สามารถอ้างอิงโครงการดำเนินงานได้แล้ว จำนวน 5 ระบบงาน ประกอบด้วย
 
ECONS V2.13E Rvs 580003 Release Note-002

    1. ระบบกำหนดและจัดทำใบเสนอราคา (ES)
    2. ระบบควบคุมการจำหน่าย (CO)
    3. ระบบบัญชีลูกหนี้ (AR)
    4. ระบบควบคุมการผลิต (SF)
    5. ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง (IC)

และใน ECONS V.2.13E Rvs 580003 นี้ ได้เพิ่มเติมให้สามารถอ้างอิงโครงการดำเนินงานอีก 5 ระบบงาน ดังนี้

    1. ระบบบัญชีทั่วไป (GL)
    2. ระบบควบคุมการจัดซื้อ (PO)
    3. ระบบบัญชีเจ้าหนี้ (AP)
    4. ระบบเงินทดรองจ่าย (AV)
    5. ระบบเงินสดย่อย (PC)

โครงการดำเนินงานที่นำมาอ้างอิงในรายการต่าง ๆ จะต้องมีข้อกำหนดดังนี้

    1. โครงการดำเนินงานอยู่ในสถานะ O – On going
    2. โครงการดำเนินงานนำไปอ้างอิงได้เฉพาะระบบที่เปิดให้สามารถนำไปอ้างอิงได้เท่านั้น
    3. โครงการดำเนินงานนำไปอ้างอิงได้เฉพาะรายการที่มีวันที่รายการอยู่ในระหว่างวันที่เริ่มต้น – สิ้นสุดโครงการเท่านั้น

ประโยชน์ที่ได้จากการอ้างอิงโครงการ คือ รายงานสถานะโครงการ ในรูปแบบต่าง ๆ ที่สามารถจัดพิมพ์ได้ในโปรแกรม BySide ได้แก่

    1. รายงานสถานะโครงการ – การใช้วัตถุดิบ (BySide V.1.04)
    2. รายงานสถานะโครงการ – การใช้แรงงาน (ระหว่างดำเนินการ)
    3. รายงานสรุปสถานะโครงการ (ระหว่างดำเนินการ) : แสดงรายได้ รายละเอียดต้นทุน คชจ.จากระบบงานต่าง ๆ ตลอดจนกำไรขาดทุนของโครงการ

Back

ปรับปรุงการบันทึกรายการบัญชีกรณียกเลิกเช็ค – ระบบบัญชีลูกหนี้ (AR)

เดิมการบันทึกรับเงิน ประเภทเช็ค โดยมีประเภทภาษีเป็นภาษีค่าบริการ และมีการบันทึกการหักภาษีหัก ณ ทีจ่ายด้วย เมื่อผู้ใช้ทำการยกเลิกเช็คโปรแกรมจะสร้างรายการเพื่อหักยอดภาษีขายให้อัตโนมัติ พร้อมกลับรายการบัญชีภาษีค่าบริการ และภาษีหัก ณ ที่จ่าย ให้อัตโนมัติด้วย ซึ่งทำให้เกิดปัญหากรณีที่มีการนำส่งภาษีขาย และภาษีหัก ณ ที่จ่ายไปแล้ว
จึงได้ทำการแก้ไขการทำงานกรณีที่มีการยกเลิกเช็ค ดังนี้

  1. เมนูการยกเลิกเช็ค กรณีเป็นเช็ครับจากใบสำคัญรับประเภทภาษีค่าบริการ และภาษีหัก ณ ที่จ่าย เมื่อประมวลผลยกเลิกเช็คจะไม่ทำการสร้างรายการและไม่กลับรายการบัญชีเพื่อหักยอดภาษีขาย และภาษีหัก ณ ที่จ่าย
  2. เมนูการรับเงิน เมื่อมีการบันทึกรับเงินครั้งต่อไป ผู้ใช้จะไม่ต้องบันทึกเลขที่ใบกำกับภาษี และรายการภาษีหัก ณ ที่จ่ายอีก
  3. เมนูผ่านรายการรับเงิน ไม่มีการสร้างรายการภาษีขายอีกกรณีที่เป็นการรับเงินอีกครั้งหลังจากยกเลิกเช็ค

แสดงรายละเอียดการทำงานของโปรแกรมโดยเปรียบเทียบคู่บัญชีก่อนและหลังแก้ไข ดังนี้

1. บันทึกรายการรับเงินครั้งที่ 1 ประเภทภาษีเป็นภาษีค่าบริการ และมีการบันทึกการหักภาษีหัก ณ ทีจ่ายด้วย พร้อมผ่านรายการการรับเงิน

    ECONS V2.13E Rvs 580003 Release Note-003-1ECONS-V2.13E-Rvs-580003-Release-Note-003-1A

 

2. ทำการยกเลิกเช็ค

    ECONS V2.13E Rvs 580003 Release Note-003-2ECONS-V2.13E-Rvs-580003-Release-Note-003-2A

 

รายงานภาษีขาย หลังผ่านรายการยกเลิกเช็ค : จะเห็นว่า รายการภาษีขายไม่ถูกยกเลิกไปด้วย เช่นเดียวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่ไม่ถูกยกเลิกไปด้วยเช่นกัน

ECONS V2.13E Rvs 580003 Release Note-003-3
 

3. บันทึกรายการรับเงินครั้งที่ 2 พร้อมผ่านรายการการรับเงิน

    ECONS V2.13E Rvs 580003 Release Note-003-4ECONS-V2.13E-Rvs-580003-Release-Note-003-3A

 

รายงานภาษีขาย หลังผ่านรายการรับเงินครั้งที่ 2 ซึ่งจะไม่มีรายการภาษีขายเกิดขึ้นซ้ำอีก

ECONS V2.13E Rvs 580003 Release Note-003-5

Back

รายการ ระบบงาน รายละเอียด
1 บัญชีเจ้าหนี้ (AP) แก้ไขโปรแกรมเมื่อทำการ New รายละเอียดรายการเพิ่มเติมในใบแจ้งหนี้ในระบบ AP แล้วเกิดข้อผิดพลาด (SIR1504030)
2 บัญชีลูกหนี้ (AR) แก้ไขการพิมพ์ใบกำกับ ในกรณีเลือกเงื่อนไขเลขที่ใบกำกับไม่ถูกต้อง โปรแกรมฟ้อง Error  แล้วหลุดจากโปรแกรม Econs (SIR1505019)
3 เงินยืมทดรอง (AV) แก้ไขหน้าเบิกเงินทดรอง ,เคลียร์เงินทดรองให้กลุ่มเอกสารแสดงเฉพาะกลุ่มเอกสารของแต่ละประเภทเท่านั้น (ไม่รวมกลุ่มเอการการรับเงิน หรือจ่ายเงิน) (SIR1505019)
4 ควบคุมการขาย (CO) แก้ไขการสร้างคำสั่งขายไม่ถูกต้อง หลังจากยกเลิกการส่งสินค้า ข้อมูล วันที่สั่งซ์้อ ,วันที่ต้องการ เลขที่ใบแจ้งหนี้ไม่ถูกต้อง (ในกรณีที่มีส่งสินค้าหลายๆ คำสั่งขายในใบแจ้งหนี้เดียวกัน โปรแกรมจะใช้วันที่จากข้อมูลใบแจ้งหนี้มาลง แทนที่จะใช้จากประวัติ) (SIR1503037)
5 ควบคุมการขาย (CO) ปัญหาเรื่อง ผ่านรายการส่งสินค้า, แล้วมีข้อความว่า “Error Sysem 1526”  สาเหตุเกิดจากการบันทึกส่งสินค้าที่อ้างถึงคำสั่งขายเดียวกัน และทำการ post รายการที่กำหนดให้ปิดคำสั่งขายไปก่อน โดยใบส่งสินค้าอีกใบยังไม่การปลด hold ออก ซึ่งจริงๆ แล้วในกรณีนี้ต้องติดข้อผิดพลาด “A” แต่โปรแกรมกลับตรวจไม่พบข้อผิดพลาด และเมื่อนำไปผ่านรายการก็จะขึ้น Message ดังกล่าว (SIR1408047)
6 บริหารระบบ (GB) แก้ไข Lookup ในกรณีที่ key ข้อมูลเข้าไปถูกต้องแล้ว แต่ยังแสดงตารางขึ้นมาให้เลือกเมื่อมีการ Enter ( ปัญหานี้จะเกิดเฉพาะเมื่อใช้ในการแสดงข้อมูล แล้วเก็บใน Field User defined  หรือ Field ที่ขนาดไม่ตรงกับขนาด field ที่สนใจ ) (SIR1504027)
7 ควบคุมสินค้า (IC) แก้ไขกรณีการ set ค่าครั้งแรกของประเภทคำสั่งปรับปรุงให้บันทึกประเภทคำสั่งมาตรฐานโดยลงค่า site ให้ด้วย (SIR1505019)
8 ควบคุมการผลิต (SF) เเจ้ง bug หน้าจอจัดทำคำสั่งผลิต เลขที่อ้างอิงคำสั่งผลิตเมื่อ cancel เลขที่ running จะกระโดดข้าม (SIR1501049)

Back

Posted in ECONS Release Note, Release Note, ห้องสมุด Tagged with: , ,

BySide V.1.04 Release Note

BySide V.1.04 Release Note

BySide Version นี้ มีการเพิ่มระบบบริหารโครงการ เพื่อจัดเก็บข้อมูลหลักโครงการ, จัดทำรายงานใหม่ 6 รายงาน (8 รูปแบบ) และ เพิ่ม 5 รูปแบบใน 3 รายงานเดิม

รายงานสถานะใบแจ้งหนี้ – ระบบบัญชีลูกหนี้ (AR)

BySide V.1.04 Release Note-001-1

เป็นรายงานที่เพิ่มในระบบบัญชีลูกหนี้ (AR) มีวัตถุประสงค์เพื่อ

    1. แสดงสถานะใบแจ้งหนี้ทั้งหมดแยกตามวันที่ใบแจ้งหนี้
    2. แสดงข้อมูลใบวางบิลของแต่ละใบแจ้งหนี้
    3. แสดงข้อมูลการรับเงินของแต่ละใบแจ้งหนี้

BySide V.1.04 Release Note-001-2

Back

รายงานใบตรวจสอบชิ้นงาน – ระบบควบคุมคุณภาพ (QM)

BySide V.1.04 Release Note-002-1

เป็นรายงานที่เพิ่มในระบบควบคุมคุณภาพ (QM) มี 2 รูปแบบคือ พิมพ์รายงานแบบฟอร์ม และแบบรายงานผล มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงรายการตรวจสอบสินค้า ผลการตัดสินใจ ตามเลขที่ใบตรวจสอบ

 

รายงานใบรับรองการวิเคราะห์สำหรับผลิตภัณฑ์ – ระบบควบคุมคุณภาพ (QM)

BySide V.1.04 Release Note-003-2

เป็นรายงานที่เพิ่มในระบบควบคุมคุณภาพ (QM) เพื่อรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ว่าผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้วทุกขั้นตอน

BySide V.1.04 Release Note-003-1

รายงาน Tag ผลิต – ระบบควบคุมการผลิต (SF)

BySide V.1.04 Release Note-004-2

เป็นรายงานที่เพิ่มในระบบควบคุมการผลิต (SF) มีวัตถุประสงค์เพื่อพิมพ์ Tag คำสั่งผลิตสินค้าลงกระดาษ Label ตามจำนวนการบรรจุ

BySide V.1.04 Release Note-004-1

รายงานของเสีย – ระบบควบคุมการผลิต (SF)

แต่เดิมรายงานในระบบงาน ECONS จะมีแต่แบบละเอียด ที่ BySide ได้เพิ่มแบบสรุป 3 ประเภท คือ

    1. รายการของเสียแยกตามศูนย์การผลิต แบบสรุป
    2. รายการของเสียแยกตามกลุ่มค่าแรง แบบสรุป
    3. รายการของเสียแยกตามคำสั่งผลิต แบบสรุป
BySide V.1.04 Release Note-005-1BySide V.1.04 Release Note-005-2

BySide V.1.04 Release Note-005-3BySide V.1.04 Release Note-005-4
รายงานประมาณการจ่ายเงิน – ระบบบัญชีเจ้าหนี้ (AP)

แต่เดิมรายงานในระบบงาน ECONS จะมีแต่แบบละเอียด ที่ BySide ได้เพิ่มรายงานแบบสรุป โดยแสดงยอดสรุปตามรหัสผู้ขาย

BySide V.1.04 Release Note-006-1BySide V.1.04 Release Note-006-2

Back

รายงานประวัติการขาย – ระบบควบคุมการจำหน่าย (CO)

รายงานประวัติการขาย เพิ่มเติมรูปแบบการแสดงตามวันที่ส่งสินค้า – เลขที่ใบแจ้งหนี้

BySide V.1.04 Release Note-007-1BySide V.1.04 Release Note-007-2

Back

รายงานวิเคราะห์ราคาขายเบื้องต้น – ระบบควบคุมการจำหน่าย (CO)

เป็นรายงานที่เพิ่มในระบบควบคุมการจำหน่าย (CO) เพื่อแสดงราคาขายสินค้า ต้นทุนมาตรฐาน กำไรขั้นต้น ของสินค้าทุกรายการ ทั้งนี้ผู้ใช้สามารถกำหนดเงื่อนไขเพื่อคัดกรองข้อมูลต่าง ๆ ได้โดยแต่ละเงื่อนไขจะแสดงรายการข้อมูลดังนี้

    1. เฉพาะรายการที่ราคาขายต่อหน่วยเท่ากับ 0 รายงานแสดงข้อมูลสินค้าที่กำหนดราคาขายสินค้าเป็น 0
    2. เฉพาะรายการที่ต้นทุนมาตรฐานเท่ากับ 0 รายงานแสดงข้อมูลสินค้าที่กำหนดต้นทุนมาตรฐานสินค้าเป็น 0
    3. เฉพาะรายการที่กำไรขั้นต้นต่ำกว่า 0 รายงานแสดงข้อมูลสินค้าที่กำไรขั้นต้นน้อยกว่า 0
    4. เฉพาะรายการที่ % กำไรขั้นต้น อยู่ในช่วงที่ระบุ

BySide V.1.04 Release Note-008-1BySide V.1.04 Release Note-008-2

Back

รายงานประวัติการแก้ไขข้อมูลโครงสร้างสินค้า – ระบบโครงสร้างและขั้นตอนการผลิต (BM)

เป็นรายงานที่เพิ่มในระบบโครงสร้างและขั้นตอนการผลิต (BM) เพื่อแสดงประวัติการเพิ่มรายการ, แก้ไขข้อมูล และลบข้อมูลโครงสร้างสินค้า โดยรายงานแสดง 2 ประเภท คือ แสดงตามรหัสสินค้าหลัก และแสดงตามวันที่-เวลาแก้ไขข้อมูลล่าสุด

BySide V.1.04 Release Note-009-1

 
 
 
 
หมายเหตุ ความหมายของประเภทรายการที่แสดงในรายงาน
ADD : คือการเพิ่มโครงสร้างสินค้าเข้าไปใหม่
DEL : Delete คือการลบโครงสร้างสินค้าออกจากระบบ
CGF : Change From คือข้อมูลก่อนทำการแก้ไข
CGT : Change To คือข้อมูลหลังทำการแก้ไข (เมื่อมีการแก้ไขโครงสร้างสินค้า ระบบจะเก็บข้อมูล CGF และ CGT คู่กันเสมอ)

BySide V.1.04 Release Note-009-3BySide V.1.04 Release Note-009-2

จอภาพบันทึก/แก้ไข ข้อมูลหลักโครงการ – ระบบบริหารโครงการ
BySide V.1.04 Release Note-010

ระบบบริหารโครงการ นี้ เป็นระบบงานเพิ่มเติม หรือ Add-ons Module ของ ECONS มีไว้เพื่อให้ผู้ใช้ระบบงาน กำหนดข้อมูลหลักโครงการขึ้นมา และสามารถนำไปอ้างอิงในรายการทางบัญชีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในระบบ ECONS เพื่อนำมาจัดทำรายงานตามโครงการ ในรูปแบบต่าง ๆ ต่อไป
ข้อมูลหลักโครงการประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ๆ ดังนี้
 

    1. ข้อมูลโครงการ ได้แก่ ชื่อโครงการ วันที่ เริ่มต้น วันที่สุดสิ้น สถานะโครงการ รายละเอียดโครงการ มูลค่าโครงการ และข้อกำหนดว่า ระบบงานใดบ้างที่อนุญาตให้อ้างอิงโครงการ
    2. ข้อมูลเงินงวด ซึ่งเป็นรายละเอียดรายได้โครงการว่า รับเงินกี่งวด งวดละเท่าใด ควรแจ้งหนี้เมื่อใด
    3. ข้อมูลเอกสารแนบ ซึ่งอนุญาตให้ผู้ใช้ระบบงานสามารถแนบเอกสารที่เกิดขึ้นในโครงการ เช่น BOQ, รายละเอียดการออกแบบ เอกสารสัญญา ฯลฯ ที่ถูก Scan ให้เป็น Soft File แล้ว นำมา upload เก็บรวมกันกับข้อมูลหลักโครงการ

สถานะโครงการ ประกอบด้วย

    I-Initialize : โครงการอยู่ระหว่างการเตรียมการ ยังไม่สามารถนำไปอ้างอิงบน ECONS ได้ (Default)
    O-On Going : โครงการอยู่ระหว่างดำเนินการ สามารถนำไปอ้างอิงบนเอกสารต่าง ๆ บน ECONS ได้ โดยเอกสารที่อ้างอิงต้องมีวันที่ระหว่าง วันที่เริ่มต้น – สิ้นสุดโครงการ
    X-Cancel : โครงการถูกยกเลิก โดยจะยกเลิกได้เฉพาะโครงการที่ยังไม่มีรายการใด ๆ ที่อ้างอิง

รายงานสถานะของโครงการ(การใช้วัตถุดิบ) – ระบบบริหารโครงการ
BySide V.1.04 Release Note-011-2

เป็นรายงานที่เพิ่มในระบบบริหารโครงการ เพื่อแสดงรายการเบิกใช้วัตถุดิบของแต่ละคำสั่งผลิต ภายใต้โครงการดำเนินงาน
 

BySide V.1.04 Release Note-011-1

Posted in BySide Release Note, Release Note, ห้องสมุด Tagged with: , , , , , ,

ECONS V2.13E Rvs 580002 : Release Note

ECONS V2.13E Rvs 580002 : Release Note

 

ECONS V2.13E Rvs 580002  นี้มีการแก้ไขปรับปรุงโปรแกรมจำนวน 8 รายการ ดังนี้

 เพิ่มการเก็บประวัติการแก้ไขข้อมูลโครงสร้างสินค้า

ในระบบโครงสร้างและขั้นตอนการผลิต (BOM & Routing) ได้ปรับปรุงโปรแกรมให้มีการเก็บประวัติในการเพิ่มเติม, แก้ไข และลบข้อมูลโครงสร้างสินค้า ซึ่งผู้ใช้งานสามารถดูข้อมูลประวัติการแก้ไขต่างๆ ได้จากรายงานประวัติการแก้ไขข้อมูลโครงสร้างสินค้า

วัตถุประสงค์

เพื่อเก็บประวัติการแก้ไขข้อมูลโครงสร้างสินค้า โดยสามารถทราบได้ว่า

  • ผู้ใช้งานรายใดเป็นผู้ทำการเพิ่มเติม, แก้ไข และลบข้อมูลโครงสร้างสินค้า
  • การเพิ่มเติม, แก้ไข และลบข้อมูลโครงสร้างสินค้านั้น เกิดขึ้นเมื่อใด
  • ข้อมูลที่ทำการเพิ่มเติม, แก้ไข และลบข้อมูลโครงสร้างสินค้านั้นเป็นอย่างไร

รายละเอียดการแก้ไข

  1. หน้าค่าเริ่มต้น ระบบงาน (Menu A-A) เลือกกำหนดว่าจะเก็บประวัติการแก้ไขข้อมูลโครงสร้าง หรือไม่ โดยเลือก N (No) กรณีที่ไม่ต้องการเก็บประวัติ หรือเลือก Y (Yes) กรณีที่ต้องการเก็บประวัติ
  2. ที่หน้าบันทึกโครงสร้างสินค้า (Menu B-A) เมื่อผู้ใช้งานทำการเพิ่ม, แก้ไข, ลบ หรือคัดลอกโครงสร้างสินค้า ระบบจะทำการบันทึกประวัติการทำงานนั้นในระบบงาน
  3. สามารถตรวจสอบประวัติการเพิ่มรายการ, แก้ไขข้อมูล และลบข้อมูล ได้จากรายงานประวัติการแก้ไขข้อมูลโครงสร้างสินค้า ตามรหัสสินค้าหลัก และตามวันที่แก้ไขล่าสุด (BySide V1.04)

Back

 เพิ่มการอ้างอิงโครงการบนเอกสาร สำหรับ 5 ระบบงาน

ตามที่เพิ่มเติมระบบบริหารโครงการในโปรแกรม BySide V1.04  ซึ่งใช้สำหรับบันทึกรายละเอียดโครงการดำเนินงาน  เพื่อนำไปใช้ในการอ้างอิงรายการในระบบงาน ECONS  ทำให้สามารถตรวจสอบถึงรายการต่าง ๆ ที่นำมาดำเนินการในโครงการนั้น ๆ ได้   ใน ECONS V.2.13E Rvs 580002  มีระบบงานที่แก้ไขให้สามารถอ้างอิงโครงการดำเนินงานได้แล้ว คือ

  1. ระบบกำหนดและจัดทำใบเสนอราคา (ES)
  2. ระบบควบคุมการจำหน่าย (CO)
  3. ระบบบัญชีลูกหนี้ (AR)
  4. ระบบควบคุมการผลิต (SF)
  5. ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง (IC)

สำหรับระบบงานที่เหลือ จะมีการปรับปรูงโปรแกรมให้สามารถอ้างอิงโครงการได้ทั้งหมดใน Revision ต่อ ๆ ไป

โครงการดำเนินงานที่นำมาอ้างอิงในรายการต่าง ๆ จะต้องมีข้อกำหนดดังนี้

  1. โครงการดำเนินงานอยู่ในสถานะ O – On going
  2. โครงการดำเนินงานนำไปอ้างอิงได้เฉพาะระบบที่เปิดให้สามารถนำไปอ้างอิงได้เท่านั้น
  3. โครงการดำเนินงานนำไปอ้างอิงได้เฉพาะรายการที่มีวันที่รายการอยู่ในระหว่างวันที่เริ่มต้น – สิ้นสุดโครงการเท่านั้น

ประโยชน์ที่ได้จากการอ้างอิงโครงการ คือ รายงานสถานะโครงการ ในรูปแบบต่าง ๆ ที่สามารถจัดพิมพ์ได้ในโปรแกรม BySide ได้แก่

  1. รายงานสถานะโครงการ – การใช้วัตถุดิบ (BySide V.1.04)
  2. รายงานสถานะโครงการ – การใช้แรงงาน (ระหว่างดำเนินการ)
  3. รายงานสรุปสถานะโครงการ (ระหว่างดำเนินการ) : แสดงรายได้ รายละเอียดต้นทุน คชจ.จากระบบงานต่าง ๆ ตลอดจนกำไรขาดทุนของโครงการ

Back

 แก้ไขการทำงานผิดพลาดของโปรแกรม 6 เรื่อง ฺ(Bug Fixed)
รายการ ระบบงาน รายละเอียด
1 บัญชีลูกหนี้ (AR) ไม่สามารถผ่านรายการตั้งลูกหนี้ได้เนื่องจาก ชื่อลูกค้ายาวเกิน 60 Digits
2 บัญชีลูกหนี้ (AR) แก้ไขการประมวลผลรับเงินให้เก็บเลขทีบิลที่มีการอ้างถึงในหน้าบันทึกรับเงินในประวัติการรับเงินด้วย
3 ควบคุมการขาย(CO) แก้ไขการบันทึกส่งสินค้าอัตโนมัติ ให้ลงวันที่ส่งในรายละเอียดการส่ง (Arship) ตามวันที่ส่งที่กำหนด (เดิมจะลงด้วยวันที่ทำการบันทึกส่ง)
4 สินค้าคงคลัง (IC) แก้ไขปัญหาการประมวลผลต้นทุนใหม่เฉพาะสินค้าในกรณีที่เป็นการจ่ายออกแล้วคำนวณต้นทุนแบบ EXPF ไม่สามารถคำนวณได้
5 สินค้าคงคลัง (IC) Re-Cal Prelim เฉพาะ Part เมื่อเสร็จ 1 รายการจะเกิด Error เมื่อจะทำรายการต่อไป
6 ควบคุมการจัดซื้อ (PO) แก้ไขปัญหาการลบข้อมูลในระบบ PO->รหัสผู้รับผิดชอบ เนื่องจาก Trigger  T_D_REPONSE ที่ใช้เมื่อทำการลบข้อมูลไม่ถูกต้อง

Back

Posted in ECONS Release Note, Release Note, ห้องสมุด Tagged with: , ,

Instagram BBS

No images found!
Try some other hashtag or username

Instagram #BBSECONS

No images found!
Try some other hashtag or username

ความเห็นล่าสุด

หมวดหมู่

ป้ายกำกับ

BOM e-tax PDF/A-3 QR CODE Utility Van Sales ขั้นตอนการผลิต ควบคุมคุณภาพ คำสั่งผลิต ค่าขนส่ง ต้นทุน บริหารโครงการ บัญชีแยกประเภททั่วไป ผลิต ผู้ขาย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ระบบควบคุมการจัดจำหน่าย ระบบควบคุมการจัดจำหน่าย (Van Sales) ระบบควบคุมการจัดซื้อ ระบบควบคุมการผลิต ระบบควบคุมการสั่งซื้อ ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง ระบบบัญชีทั่วไป ระบบบัญชีลูกหนี้ ระบบบัญชีเจ้าหนี้ ระบบรักษาความปลอดภัย ระบบโครงสร้างและขั้นตอนการผลิต รับคืนสินค้า ลูกหนี้ สต๊อกการ์ด สินค้าคงคลัง สินทรัพย์ถาวร ส่งสินค้า เงินทดรองจ่าย เงินมัดจำ เงินสดย่อย เจ้าหนี้ โอนย้ายสินค้าคงคลัง ใบขอซื้อ ใบสั่งขาย ใบสั่งซื้อ ใบสั่งผลิต ใบเบิกวัตถุดิบ ใบแจ้งหนี้