เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการเฉลี่ยภาษีซื้อ

VATProRateKnowledge

ที่มา : สรรพากรสาสน์ www.sanpakornsarn.com

 

ในการทำธุรกิจผู้ประกอบการหลายรายมักทำธุรกิจให้มีความหลากหลายและครบวงจร มากขึ้นเพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยผู้ประกอบการคนเดียวอาจประกอบธุรกิจหลายประเภท ซึ่งบางธุรกิจต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและบางธุรกิจไม่ต้องเสียภาษีมูลค่า เพิ่ม เช่น ธุรกิจขายปลาสวยงาม ถ้าขายเฉพาะปลาสวยงามก็ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ถ้าผู้ประกอบการมีบริการรับจ้างทำและตกแต่งตู้ปลา รวมทั้งจำหน่ายอุปกรณ์ต่างๆ ด้วยก็อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการจะต้องจัดการกับภาษีซื้อที่เกิด ขึ้นในธุรกิจทั้งสองประเภทอย่างถูกต้อง

 

ทําไมต้องเฉลี่ยภาษีซื้อ ?

การเฉลี่ยภาษีซื้อจะเกิดขึ้นในกรณีที่ผู้ประกอบการในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ประกอบกิจการทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) และประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (NON VAT) และผู้ประกอบการได้นำสินค้าหรือบริการ มาใช้ในกิจการทั้ง 2 ประเภท โดยไม่สามารถแยก ได้อย่างชัดเจนว่าสินค้าหรือบริการที่นำมาใช้นั้น เป็นการใช้ในกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงไม่สามารถแยกแยะได้ว่า ภาษีซื้อที่เกิดจากสินค้าหรือบริการนั้นเป็นภาษีซื้อของกิจการประเภทใดแน่ จึงต้องนำภาษีซื้อที่เกิดขึ้นมาเฉลี่ยตามส่วนของกิจการที่ตนเองนำภาษีมูลค่า เพิ่มไปใช้

 

ธุรกิจอะไรบ้างที่อาจต้องเฉลี่ยภาษีซื้อ ?

การประกอบธุรกิจประเภทที่อาจจำเป็นต้องเฉลี่ยภาษีซื้อ ตัวอย่างเช่น

    • การประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง (VAT) และธุรกิจให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ (NON VAT)
    • การประกอบธุรกิจให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ (NON VAT) และให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง (VAT)
    • การประกอบธุรกิจขายพืชผลทางการเกษตร (NON VAT) และประกอบธุรกิจส่งออกพืชผลทางการเกษตร (VAT)
    • การประกอบธุรกิจเงินทุนหลักทรัพย์ (NON VAT) และประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์ (VAT)

การเฉลี่ยภาษีซื้อมีวิธีการใดบ้าง ?

การเฉลี่ยภาษีซื้อมี 2 วิธีคือ

    1. เฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้
    2. เฉลี่ยภาษีซื้อตามพื้นที่การใช้อาคาร

การเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้ 

      แสดง/ซ่อน

      การเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้ ใช้สำหรับเฉลี่ยภาษีซื้อที่เกิดจากสินค้าหรือบริการ ที่ใช้ในการดำเนินกิจการทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม  ได้แก่
      1. ภาษีซื้อสำหรับค่าซื้อทรัพย์สินส่วนกลาง เช่น เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องตกแต่งสำนักงาน เครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ วัสดุสิ้นเปลือง เป็นต้น
      2. ภาษีซื้อสำหรับค่าใช้จ่ายส่วนกลาง เช่น ค่าสาธารณูปโภค ค่าโฆษณา ค่าซ่อมแซม เป็นต้น

      การเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้   มีวิธีการอย่างไร ?

      การเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้มีวิธีการและขั้นตอน ดังนี้

      ปีแรกที่เริ่มมีรายได้

      1.ให้ประมาณการรายได้ของกิจการทั้ง 2 ประเภททั้งที่ต้องเสียและไม่ต้องเสียภาษีมูลค่า-เพิ่มในปีที่เริ่มมีรายได้ (ปีแรกที่มีรายได้เกิดขึ้นจริงไม่น้อยกว่า 6 เดือนภาษี ทั้งนี้ไม่ว่าจะมี  รายได้ต่อเนื่องกันทุกเดือนภาษีหรือไม่ก็ตาม) เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการเฉลี่ยภาษีซื้อ โดยในปีแรกให้ถือเป็นภาษีซื้อได้ไม่เกินร้อยละ 50 ของภาษีซื้อที่นำมาเฉลี่ย
      2. สิ้นปีแรกที่เริ่มมีรายได้ให้ผู้ประกอบการทำการปรับปรุงภาษีซื้อให้เป็น ไปตามส่วนของรายได้ที่เกิดขึ้นจริงของแต่ละประเภทกิจการ ภายในเดือนภาษีแรกของปีถัดจากปีที่เริ่มมี   รายได้ โดยให้ปรับปรุงตั้งแต่เดือนภาษีแรกที่ได้มีการเฉลี่ยภาษีซื้อถึงเดือนภาษี สุดท้ายของปีที่เริ่มมีรายได้ พร้อมทั้งยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.30.2 เพิ่มเติมเพียงฉบับเดียวภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนภาษีแรกภายหลังสิ้นสุดปีที่เริ่มมีรายได้ โดยแยกเป็น 2 กรณี ดังนี้

      กรณีต้องจ่ายชำระภาษีเพิ่มเติม

      ถ้าภาษีซื้อที่เฉลี่ยตามประมาณการรายได้ และได้นำมาหักออกจากภาษีขายแล้ว มากกว่า ภาษีซื้อที่หักได้จริง ผู้ประกอบการจะต้องชำระภาษีซื้อส่วนที่เกินนั้น โดยผู้ประกอบการไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแต่อย่างใด
      นอกจากนี้ให้ผู้ประกอบการนำภาษีซื้อส่วนที่เกินดังกล่าวซึ่งยังมิได้นำไปรวม เป็นต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการไปรวมคำนวณเป็นต้นทุนของ ทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการในปีที่เกิดรายการภาษีซื้อนั้น

      กรณีได้คืนภาษีมูลค่าเพิ่ม

      ถ้าภาษีซื้อที่เฉลี่ยตามประมาณการรายได้และได้นำมาหักออกจากภาษีขายแล้วน้อย กว่า ภาษีซื้อที่หักได้จริง ผู้ประกอบการมีสิทธิขอคืนภาษีซื้อส่วนที่ขาดนั้น
      นอกจากนี้ให้ผู้ประกอบการนำภาษีซื้อส่วนที่ขาดดังกล่าวซึ่งได้นำไปรวมเป็น ต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการแล้วไปหักออกจากต้นทุนของทรัพย์สิน หรือรายจ่ายของกิจการในปีที่เกิดรายการภาษีซื้อนั้น

      – ปีที่ 2 และปีต่อๆไป

      1. ให้ผู้ประกอบการเฉลี่ยภาษีซื้อที่เกิดขึ้นในปีที่ 2 และปีต่อๆ ไป โดยใช้รายได้ของปีที่ผ่านมาเป็นเกณฑ์ในการเฉลี่ยภาษีซื้อ
      2. สิ้นปีที่ 2 และปีต่อๆ ไป ผู้ประกอบการ สามารถเลือกปฏิบัติได้ดังนี้
      – ปรับปรุงภาษีซื้อให้เป็นไปตามส่วนของรายได้ที่เกิดขึ้นจริงในปีปัจจุบัน ของแต่ละประเภทกิจการ ภายในเดือนภาษีแรกของปีถัดไป โดยปฏิบัติเช่นเดียวกับสิ้นปีแรกที่เริ่มมีรายได้ หรือ
      – ไม่ปรับปรุงภาษีซื้อให้เป็นไปตามส่วนของรายได้ที่เกิดขึ้นจริงในปีปัจจุบัน วิธีนี้จะทำให้กิจการได้รับความสะดวกในการจัดทำบัญชี โดยเมื่อเริ่มต้นปีภาษีใหม่ก็จะใช้รายได้ของปีที่ผ่านมาเป็นเกณฑ์ในการ เฉลี่ยภาษีซื้อ
      เมื่อผู้ประกอบการได้เลือกปฏิบัติตามวิธีใดแล้วให้ถือปฏิบัติตามวิธีนั้น ตลอดไป เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้เปลี่ยนแปลงได้

      กรณีศึกษา 1 การเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้
      ห้างหุ้นส่วนจำกัดปลาสวย เริ่มเปิดดำเนินการในปี 2549 ประกอบธุรกิจขายปลาสวยงาม (NON VAT) และขายอุปกรณ์การเลี้ยงปลาต่างๆ (VAT) ได้ประมาณการสัดส่วนรายได้ของธุรกิจขายปลาสวยงามและอุปกรณ์การเลี้ยงปลา ต่างๆ ในสัดส่วน  40  :  60 ตามลำดับในปี 2549 มีภาษีซื้อที่เกิดจากทรัพย์สินและบริการส่วนกลางที่ใช้ในกิจการทั้ง 2 ประเภท ซึ่งไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจน ดังนี้

       

      may11_221

       

                  เมื่อสิ้นปี 2549  ปรากฏว่ารายได้ที่เกิดขึ้นจริงของธุรกิจขายปลาสวยงามและอุปกรณ์การเลี้ยงปลา ต่างๆ มีสัดส่วน  55 : 45  ตามลำดับ

      ประเด็นที่ 1 ในระหว่างปี 2549 ห้างหุ้นส่วนจำกัดปลาสวย จะต้องเฉลี่ยภาษีซื้ออย่างไรในแต่ละเดือน ?

      ในระหว่างปี 2549 ให้เฉลี่ยภาษีซื้อตามประมาณการรายได้ ของธุรกิจขายปลาสวยงามและอุปกรณ์การเลี้ยงปลาต่างๆ ในสัดส่วน 40  :  60 ตามลำดับ ในปี 2549 เป็นปีแรกที่เริ่มมี  รายได้ ให้ถือเป็นภาษีซื้อได้ไม่เกินร้อยละ 50 ของภาษีซื้อที่นำมาเฉลี่ย
      may12_476

                  ประเด็นที่ 2 สิ้นปี 2549 ห้างหุ้นส่วนจำกัดปลาสวยจะต้องปรับปรุงภาษีซื้ออย่างไร และมีผลกระทบต่อต้นทุนของทรัพย์สินและบริการอย่างไร?

      สิ้นปี 2549  ถือเป็นสิ้นปีแรกที่เริ่มมีรายได้ ผู้ประกอบการจะต้องปรับปรุงภาษีซื้อให้เป็นไปตามส่วนของรายได้ที่เกิดขึ้น จริงในปี 2549 ของแต่ละประเภทกิจการ ภายในเดือนมกราคม 2550  ดังนี้
      may13_482
                  จะเห็นได้ว่า ภาษีซื้อที่เฉลี่ยตามประมาณการรายได้ มากกว่า ภาษีซื้อที่หักได้จริง  45,750 > 41,175  = 4,575 บาท

      ดังนั้น ผู้ประกอบการจะต้องชำระภาษีเพิ่มเติม 4,575 บาท โดยยื่นแบบแสดงรายการ ภ.พ.30.2 เพิ่มเติมเพียงฉบับเดียว ภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2550 ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแต่อย่างใดโดยผู้ประกอบการจะ ต้องนำภาษีซื้อ จำนวน 4,575 บาท ไปรวมคำนวณเป็นต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของปี 2549 ที่เกิดรายการภาษีซื้อนั้น

      ประเด็นที่ 3 ในระหว่างปี 2550 หากมีภาษีซื้อที่ต้องนำมาเฉลี่ย จะต้องเฉลี่ยภาษีซื้ออย่างไร ?

      ปี 2550 ถือเป็นปีที่ 2 ที่มีรายได้ให้ผู้ประกอบการเฉลี่ยภาษีซื้อที่เกิดขึ้น โดยใช้สัดส่วนรายได้ที่เกิดขึ้นจริงของปี 2549 เป็นเกณฑ์ในการเฉลี่ยภาษีซื้อปี 2550  ในกรณีพบว่าปี 2549 ห้างหุ้นส่วนจำกัดปลาสวย มีรายได้จากการประกอบกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในสัดส่วน 55 : 45 ดังนั้นในปี 2550 ห้างหุ้นส่วนจำกัดปลาสวยจึงมีสิทธินำภาษีซื้อมาใช้ในอัตราร้อยละ 45   เมื่อสิ้นปี 2550 ผู้ประกอบการสามารถเลือกปรับปรุงภาษีซื้อให้เป็นไปตามส่วนของ   รายได้ที่เกิดขึ้นจริง ในปี 2550 หรือเลือกที่จะ  ไม่ปรับปรุงภาษีซื้อให้เป็นไปตามส่วนของรายได้    ที่เกิดขึ้นจริงในปี 2550 ก็ได้ แต่วิธีหลังผู้ประกอบการจะได้รับความสะดวกในการจัดทำบัญชีมากกว่า

                   การเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้ มีข้อยกเว้นหรือไม่ ?

      การเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้ มีข้อยกเว้นไม่ต้องนำภาษีซื้อมาเฉลี่ย หากรายได้จากการประกอบกิจการของปีที่ผ่านมาเป็นดังนี้

      (1) หากรายได้ของปีที่ผ่านมาของกิจการ VAT มีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของรายได้ทั้งหมด ผู้ประกอบการมีสิทธิเลือกนำภาษีซื้อทั้งจำนวนไปหักออกจากภาษีขาย แต่ผู้ประกอบการห้ามนำภาษีซื้อดังกล่าวไปรวมคำนวณเป็นต้นทุนของทรัพย์สิน หรือรายจ่ายของกิจการ และสิ้นปี ก็ไม่ต้องปรับปรุงภาษีซื้อ เช่น

      – รายได้จากการรับเหมาก่อสร้าง (VAT)                  90%
      – รายได้จากการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ (NON VAT)   10%
      รวมรายได้    100%

      (2) หากรายได้ของปีที่ผ่านมาของกิจการประเภท NON VAT มีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของรายได้ทั้งหมด ผู้ประกอบการมีสิทธิ เลือกไม่นำภาษีซื้อทั้งจำนวนไปหักออกจาก   ภาษีขาย แต่ให้นำไปรวมคำนวณเป็นต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการ และสิ้นปีก็ไม่ต้องปรับปรุงภาษีซื้อ เช่น

      – รายได้จากกิจการขายพืชผลทางการเกษตร (NON VAT) 90%
      – รายได้จากการส่งออกพืชผลทางการเกษตร (VAT)         10%
      รวมรายได้        100%

      สรุปประเด็นการเฉลี่ยภาษีซื้อได้ตามส่วนของรายได้

      ผู้ประกอบการหลายรายอาจมีความรู้สึกว่าหากกิจการต้องทำการเฉลี่ยภาษีซื้อ จะเกิดความยุ่งยากและอาจมีปัญหาในภายหลังได้  ดังนั้นหากผู้ประกอบการต้องการหลีกเลี่ยงการเฉลี่ยภาษีซื้อ หรือต้องการขจัดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการเฉลี่ยภาษีซื้อ ผู้ประกอบการควรต้องวางแผนการดำเนินธุรกิจให้ชัดเจนตั้งแต่แรก  ซึ่งมีหลายแนวทางยกตัวอย่างเช่น
      1. แยกหน่วยธุรกิจออกจากกันอย่างชัดเจนระหว่างธุรกิจที่ต้องเสียภาษีมูลค่า เพิ่ม    กับธุรกิจที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยแยกตั้งธุรกิจเป็นคนละบุคคลหรือคนละนิติบุคคล หรือ
      2. แยกสถานประกอบการ และแยกการบริหารงานของกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มออกจากกันอย่างชัดเจน หรือ
      3. แยกรายได้และค่าใช้จ่ายของกิจการทั้ง 2 ประเภทออกจากกัน เช่น แยกการจัดซื้อ แยกการออกใบกำกับภาษี แยกการใช้สินทรัพย์หรือบริการ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดการเฉลี่ยภาษีซื้อให้เหลือเฉพาะที่ไม่สามารถแบ่งแยก ได้จริงๆเท่านั้น

การเฉลี่ยภาษีซื้อตามพื้นที่การใช้อาคาร

      แสดง/ซ่อน

                      การเฉลี่ยภาษีซื้อตามพื้นที่การใช้อาคาร ใช้สำหรับเฉลี่ยภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารเพื่อใช้ในกิจการทั้ง ประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะนำภาษีซื้อที่เกิดขึ้นมาเฉลี่ยตามพื้นที่การใช้อาคาร

           การเฉลี่ยภาษีซื้อตามพื้นที่การใช้อาคาร มีวิธีการอย่างไร ?

      การเฉลี่ยภาษีซื้อตามพื้นที่การใช้อาคารมีวิธีการและขั้นตอน ดังนี้

      เมื่อเริ่มก่อสร้างอาคาร
      1. ให้ผู้ประกอบการทำการประมาณพื้นที่อาคารที่ใช้เพื่อการประกอบกิจการ VAT และ NON VAT โดยให้แจ้งประมาณการใช้พื้นที่เป็นตารางเมตรในแต่ละชั้นต่ออธิบดีกรมสรรพากร ตามแบบ ภ.พ.05.1 ภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มก่อสร้างอาคาร หรือวันที่ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างอาคาร แล้วแต่วันใดจะเกิดขึ้นก่อน
      2.ให้ผู้ประกอบการเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของการใช้พื้นที่อาคารที่ได้ประมาณ ไว้ตามอัตราส่วนของแต่ละกิจการ โดยเริ่มเฉลี่ยตั้งแต่เดือนภาษีแรกที่เกิดภาษีซื้อจากค่าก่อสร้างอาคาร

      เมื่ออาคารก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์
      1. ให้ผู้ประกอบการแจ้งการก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์ต่ออธิบดีกรมสรรพากร  ตามแบบ ภ.พ.05.2 ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์
      2. ภายในระยะเวลา 3 ปี นับแต่วันที่ก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์
      หากผู้ประกอบการยังไม่ได้ใช้พื้นที่ของอาคาร หรือใช้พื้นที่ของอาคารตรงตามที่ได้ประมาณไว้ หรือใช้พื้นที่ของอาคารในส่วนของกิจการ VAT และ NON VAT ไม่เกินกว่าที่ได้ประมาณการไว้ในแต่ละส่วน ในกรณีนี้ผู้ประกอบการไม่ต้องปรับปรุงภาษีซื้อที่ได้เฉลี่ยไว้

      กรณีศึกษา 2

      บริษัท แคน จำกัด มีแผนก่อสร้างอาคารสำนักงาน ได้ประมาณสัดส่วนการใช้พื้นที่อาคารสำนักงาน ในกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ในสัดส่วน  70 : 30 ตามลำดับเมื่อก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์แล้ว    สมมติว่าบริษัท แคน จำกัด มีสัดส่วนการใช้อาคารเกิดขึ้นจริงในกรณีต่างๆ ดังนี้

      may14_469

                        ข้อสรุป เมื่อก่อสร้างอาคารสำนักงานเสร็จสมบูรณ์แล้ว และบริษัท แคน จำกัด มีการใช้พื้นที่อาคารจริงตามที่ได้สมมติไว้ 4 กรณีดังกล่าวข้างต้น บริษัท แคน จำกัด ไม่ต้องปรับปรุงภาษีซื้อที่ได้เฉลี่ยไว้แล้ว

      หากผู้ประกอบการใช้พื้นที่อาคารไม่ตรงตามที่ได้แจ้งประมาณการไว้เป็นครั้งแรก ให้ผู้ประกอบการดำเนินการ ดังนี้
      1. ให้ผู้ประกอบการแจ้งการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่อาคารต่ออธิบดีกรมสรรพากร ภาย  ใน 30 วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่อาคาร
      2. ปรับปรุงภาษีซื้อของกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีแรกที่ใช้ พื้นที่อาคารไม่ตรงตามที่ได้ประมาณการไว้ โดยให้ปรับปรุงการเฉลี่ยภาษีซื้อเป็นรายเดือน ตั้งแต่เดือนภาษีแรกที่มีภาษีซื้อจากการก่อสร้างอาคารเกิด    ขึ้นจนถึงเดือนภาษีก่อนเดือนภาษีที่ได้ใช้พื้นที่อาคารดังกล่าว โดยยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.30.3 เป็นรายเดือนภาษีทุกเดือน เดือนละ 1 ฉบับ ตามจำนวนเดือนภาษีที่ปรับปรุงภาษีซื้อ โดยยื่นพร้อมกันทั้งหมดภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนภาษีที่มีการปรับปรุงภาษีซื้อ โดยแยกเป็น 2 กรณี ดังนี้

      กรณีต้องจ่ายชำระภาษีเพิ่มเติม
      ถ้าภาษีซื้อที่เฉลี่ยไว้ตามประมาณการและได้นำมาหักออกจากภาษีขายแล้ว มากกว่า ภาษีซื้อที่เฉลี่ยตามการใช้พื้นที่จริง ผู้ประกอบการต้องชำระภาษีซื้อส่วนเกิน โดยผู้ประกอบการต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม
      นอกจากนี้ให้ผู้ประกอบการ นำภาษีซื้อส่วนเกินซึ่งยังมิได้นำไปรวมเป็นต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่าย ของกิจการไปรวมคำนวณเป็นต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการในปีที่เกิด รายการภาษีนั้น

      กรณีได้คืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
      ถ้าภาษีซื้อที่เฉลี่ยไว้ตามประมาณการและได้นำมาหักออกจากภาษีขายแล้ว น้อยกว่า ภาษีซื้อที่เฉลี่ยตามการใช้พื้นที่จริง ผู้ประกอบการมีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มส่วนที่ขาด นอกจากนี้ให้ผู้ประกอบการนำภาษีซื้อส่วนที่ขาดซึ่งได้นำไปรวมเป็นต้นทุนของ ทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการแล้วไปหักออกจากต้นทุนของทรัพย์สินหรือราย จ่ายของกิจการในปีที่เกิดรายการภาษีนั้น

      กรณีศึกษา 3

      บริษัท แคน จำกัด มีแผนก่อสร้างอาคารสำนักงาน ได้ประมาณสัดส่วนการใช้พื้นที่อาคารสำนักงาน ในกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ในสัดส่วน  70 : 30 ตามลำดับ
      เมื่อก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์แล้ว    สมมติว่าบริษัท แคน จำกัด มีสัดส่วนการใช้อาคารเกิดขึ้นจริงในกรณีต่างๆ ดังนี้
      may15_465
                     ข้อสรุป เมื่อก่อสร้างอาคารสำนักงานเสร็จสมบูรณ์แล้ว และบริษัท แคน จำกัด มีการใช้พื้นที่อาคารจริงตามที่ได้สมมติไว้ 4 กรณีดังกล่าวข้างต้น บริษัท แคน จำกัด ต้องปรับปรุงภาษีซื้อที่ได้เฉลี่ยไว้แล้ว เนื่องจากมีการใช้พื้นที่จริงในส่วนของกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและ กิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกินกว่าที่ได้ประมาณการไว้ในแต่ละส่วน
      หากผู้ประกอบการใช้พื้นที่อาคารไม่ตรงตามที่ได้แจ้งประมาณการไว้เป็นครั้ง ที่สองหรือครั้งต่อๆ ไป ให้ผู้ประกอบการดำเนินการดังนี้
      1. ให้ผู้ประกอบการแจ้งการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่อาคารต่ออธิบดีกรมสรรพากร ภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่อาคาร
      2. ปรับปรุงการเฉลี่ยภาษีซื้อดังกล่าวตั้งแต่ เดือนภาษีที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่อาคารในครั้งก่อน จนถึงเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่อาคารครั้งหลังสุด และให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงในครั้งแรก
      3. เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา 3 ปี นับแต่วันที่อาคารก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว ผู้ประกอบการจะเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่อาคารอย่างไรก็ได้ โดยไม่ต้องปรับปรุงการเฉลี่ยภาษีซื้อแต่อย่างใด
      4. ในกรณีที่อาคารได้ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว และต่อมาได้มีภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารเกิดขึ้นอีก โดยไม่สามารถแยกได้ชัดเจนว่าเป็นภาษีซื้อในส่วนใด จะต้องนำภาษีซื้อดังกล่าวมาเฉลี่ยตามอัตราส่วนการใช้พื้นที่ที่เกิดขึ้นจริง

      กรณีศึกษา 4

      บริษัท บีบี จำกัด เริ่มก่อสร้างในเดือนสิงหาคม 2548 เพื่อใช้ในกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยได้ประมาณการการใช้พื้นที่อาคารในส่วนของกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่า เพิ่มในอัตรา 70% และกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 30% ของพื้นที่อาคารทั้งหมด อาคารได้ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ในเดือนพฤษภาคม 2549 โดยมีภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2548 ถึงเดือนพฤษภาคม 2549 ดังนี้

      เมื่อเริ่มก่อสร้างอาคาร
      ให้เฉลี่ยภาษีซื้อตามประมาณการที่ได้กำหนดไว้สำหรับกิจการที่ต้องเสียภาษี มูลค่าเพิ่มในอัตรา 70% และกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 30%

      may16_507

                 เมื่อก่อสร้างอาคารเสร็จสมบูรณ์
      ได้มีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่การใช้อาคารดังนี้

      may17_242

      การเปลี่ยนแปลงครั้งที่ 1 เดือนมิถุนายน 2549 กิจการไม่ต้องปรับปรุงภาษีซื้อที่เฉลี่ยไว้ เนื่องจากการใช้พื้นที่อาคารจริงไม่เกินกว่าที่ได้ประมาณการไว้
      การเปลี่ยนแปลงครั้งที่ 2 เดือนตุลาคม 2549 กิจการต้องปรับปรุงภาษีซื้อที่เฉลี่ยไว้ เนื่องจากพื้นที่การใช้อาคารจริงไม่เป็นไปตามที่ได้ประมาณการไว้ โดยใช้พื้นที่อาคารเพื่อกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกินกว่า ที่ประมาณการไว้

      ดังนั้นกิจการต้องเฉลี่ยภาษีซื้อตามพื้นที่การใช้อาคารที่เกิดขึ้นจริง ในส่วนของกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 40% และกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 60%

      may18_503

       

      may19_533

                การปรับปรุงภาษีซื้อในเดือนตุลาคม 2549 จะต้องปฏิบัติดังนี้

      1.ชำระภาษีซื้อส่วนเกิน เนื่องจากภาษีซื้อที่เฉลี่ยไว้ตามประมาณการ มากกว่า ภาษีซื้อที่เฉลี่ยตามการใช้พื้นที่จริง
      765,100  > 437,200  = 327,900  บาท
      ดังนั้นผู้ประกอบการต้องชำระภาษีซื้อเพิ่มเติม 327,900  บาท
      ผู้ประกอบการต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.30.3 เป็นรายเดือนภาษีทั้ง 10 เดือน เดือนละ 1 ฉบับ ตามจำนวนเดือนภาษีที่ปรับปรุงภาษีซื้อ โดยยื่นพร้อมกันทั้งหมด 10 ฉบับ ภายในวันที่ 15 ของเดือนพฤศจิกายน 2549 โดยผู้ประกอบการต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร

      2. นำภาษีซื้อส่วนเกินจำนวน  327,900  บาท ไปรวมคำนวณเป็นต้นทุนของอาคารหรือรายจ่ายของกิจการในปีที่เกิดรายการภาษีนั้น

      สรุปประเด็นการเฉลี่ยภาษีซื้อตามพื้นที่การใช้อาคาร

      ผู้ประกอบการควรทำการประมาณการใช้พื้นที่อาคารอย่างระมัดระวัง โดยต้องประมาณการการใช้พื้นที่ให้ชัดเจนและแน่นอน สำหรับกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อหลีกเลี่ยงความยุ่งยากในการต้องปรับปรุงภาษีซื้อที่ได้เฉลี่ยไว้แล้ว โดยเมื่ออาคารก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ผู้ประกอบการจะต้องใช้พื้นที่อาคารตาม ส่วนที่ได้แจ้งประมาณการไว้หรือไม่เกินกว่าที่ได้ประมาณการไว้ในแต่ละส่วน เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี นับตั้งแต่เดือนภาษีที่อาคารก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์
      หากผู้ประกอบการใช้พื้นที่อาคารสำหรับกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่า เพิ่ม และประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกินกว่าส่วนที่ได้ประมาณการไว้ จะมีผลต่อภาษีซื้อที่เฉลี่ยไว้ในช่วงของการก่อสร้างอาคาร ทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับปรุงการเฉลี่ยภาษีซื้อให้ตรงตามการใช้พื้นที่จริง โดยต้องปรับปรุงการเฉลี่ยภาษีซื้อ ย้อนหลังกลับไปตั้งแต่แรกที่เริ่มมีภาษีซื้อจาก การก่อสร้างอาคาร และปรับปรุงเป็นรายเดือน-ภาษี หากผู้ประกอบการใช้ภาษีซื้อมากเกินไปต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มด้วย อีกทั้งเมื่อมีการปรับปรุงการเฉลี่ยภาษีซื้อจะส่งผลต่อการ จัดทำบัญชีของผู้ประกอบการ โดยผู้ประกอบการต้องปรับปรุงต้นทุนของอาคารและค่าเสื่อมราคาให้ถูกต้องอีก ด้วย

บทสรุป

จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมดในเรื่องของการเฉลี่ยภาษีซื้อ คงจะทำให้ผู้ประกอบการหลายๆท่านมีความเข้าใจในเรื่องราวของการเฉลี่ย  ภาษีมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายใหม่ที่ประกอบธุรกิจทั้งประเภท VAT และ NON VAT จะได้ใช้เป็นแนวทางในการวางแผนและจัดการกับภาษีซื้อที่เกิดขึ้นได้อย่างถูก ต้องทั้งการเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้และการเฉลี่ยภาษีซื้อตามพื้นที่ การใช้อาคาร ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการจะต้องวางแผนจัดการกับการเฉลี่ยภาษีซื้อ ตั้งแต่เริ่มต้นเพื่อที่จะได้ไม่เกิดปัญหายุ่งยากและเป็นภาระในภายหลังเมื่อ ต้องปรับปรุงบัญชีหรือเสียภาษีเพิ่มเติมอีก


บรรณานุกรม

  • สรรพากรสาร์น
  • กลุ่มนักวิชาการภาษีอากร. ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร 2549. กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการพิมพ์, 2549
  • สมเดช  โรจน์คุรีเสถียร และคณะ. การบัญชีภาษีอากร. กรุงเทพมหานคร: ธรรมนิติ เพรส, 2549
  • สมเดช  โรจน์คุรีเสถียร และคณะ. กลยุทธ์การวางแผนภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งระบบ. กรุงเทพมหานคร: ธรรมนิติ เพรส, 2548
  • สรรพากร, กรม. ประมวลรัษฎากรฉบับอิเล็กทรอนิกส์ [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.rd.go.th, 1 มีนาคม 2550
  • สุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัย. เอกสารการสอนชุดวิชา การสอบบัญชี การบัญชีภาษีอากร และการวางแผนภาษี หน่วยที่ 9-15. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549
Posted in ห้องสมุด Tagged with:

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

*