
- เครื่องมือที่ใช้กับ Widget
- เครื่องมือที่ใช้กับหน้าสอบถามข้อมูลออนไลน์ (Online Inquiry)
- การใช้งานปุ่ม การแจ้งเตือน
- การเปลี่ยนภาษา
2. การย้าย Widget เพื่อจัด Widget ให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ ให้คลิกเมาส์ค้างไว้บริเวณที่ว่างภายใน Widget ที่ต้องการย้าย แล้วลากเมาส์ย้ายตำแหน่งตามที่ต้องการ
3. การลบ Widget ที่ไม่ต้องการออกจาก Dashboard
< โปรดติดตามตอนต่อไป > การใช้เครื่องมือต่าง ๆ
ในระบบ ECONS ระบบต้นทุนการผลิตมี Feature หนึ่ง ที่อำนวยความสะดวกในกรณีนี้ ผมขอยกตัวอย่างวิธีการใช้งานดังนี้
เป็นรายงานเพิ่มใหม่ในระบบบริหารโครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงรายละเอียดของรายรับรายจ่ายแยกตามโครงการ ดังนี้
1. แสดงรายการการรับเงินมัดจำ และการจ่ายเงินมัดจำ ทำให้สามารถตรวจสอบยอดเงินมัดจำคงเหลือได้
2. แสดงยอดตั้งหนี้ (หรือยอดการส่งมอบสินค้าแต่ละงวด)
3. แสดงยอดการรับเงิน และยอดการหักเงินประกันผลงาน
4. แสดงยอดสรุปของมูลค่าโครงการ สามารถตรวจสอบยอดแผนงานของโครงการ เทียบกับรายรับของโครงการได้
5. แสดงรายการต้นทุนการผลิตแยกตามใบสั่งผลิต
6. แสดงรายการค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่มีการเบิกใช้ในโครงการ
7. แสดงยอดสรุปของผลต่างรายได้ และค่าใช้จ่ายโครงการ
8. แสดงมูลค่าสินค้าคงเหลือระหว่างทำ
มี 2 ประเภทรายงานคือ
1. รายงานสรุปโครงการ – ประเภทนี้จะแสดงข้อมูลทั้งหมดตามรายละเอียดข้างต้นยกเว้น มูลค่าสินค้าคงเหลือระหว่างทำ
2. รายงานสรุปโครงการแสดงมูลค่าสินค้าคงเหลือระหว่างทำ – ประเภทนี้จะแสดงข้อมูลทั้งหมดตามรายละเอียดข้างต้น
เป็นจอภาพสำหรับใช้ในการยกเลิกรายการรับเงินที่ประมวลผลผ่านรายการไปแล้ว มีเงื่อนไขการใช้งานจอภาพนี้ดังนี้
1. ใช้ได้กับระบบงาน ECONS ที่ Set ให้ไม่ลบรายการข้อมูลหลังจากประมวลผล เท่านั้น
2. ใช้ได้เฉพาะเจ้าหนี้ BBS เท่านั้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการ Support ลูกค้า โดยเพิ่มเป็นรหัสรายงาน STDAR3071 ในรายงานผู้ใช้กำหนด
สำหรับรายการรับเงินที่ไม่สามารถยกเลิกได้ มีข้อกำหนดดังนี้
1. รายการรับเงินประเภทรับชำระด้วยเช็ค มีการยกเลิกเช็ครับไปแล้ว
2. นำไปบันทึกนำฝากธนาคารแล้ว ทั้งรายการนำฝากที่ผ่านรายการแล้ว และยังไม่ผ่านรายการ
3. กระทบยอดเงินฝากธนาคารไปแล้ว
4. รายการรับเงินทำการผ่านรายการไประบบ GL แล้ว
รายการรับที่ไม่สามารถยกเลิกได้ โปรแกรมแจ้งข้อความสาเหตุที่ยกเลิกไม่ได้ไว้ที่คอลัมน์หมายเหตุ
เมื่อทำการยกเลิกรายการรับเงินโปรแกรมจะทำงานดังนี้
1. ลบรายการบัญชี
2. ลบรายการภาษีขาย
3. ลบรายการเช็ครับ
4. ลบประวัติรายการรับเงิน เพื่อคืนยอดหนี้คงค้างให้กับใบแจ้งหนี้
5. Update รายการรับเงินเป็นสถานะที่ยังไม่ผ่านรายการ ผู้ใช้สามารถเรียกรายการรับเงินมาตรวจสอบแก้ไขได้
เป็นจอภาพสำหรับใช้ในการยกเลิกรายการจ่ายเงินที่ประมวลผลผ่านรายการไปแล้ว มีเงื่อนไขการใช้งานจอภาพนี้ดังนี้
1. ใช้ได้กับระบบงาน ECONS ที่ Set ให้ไม่ลบรายการข้อมูลหลังจากประมวลผล เท่านั้น
2. ใช้ได้เฉพาะเจ้าหนี้ BBS เท่านั้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการ Support ลูกค้า โดยเพิ่มเป็นรหัสรายงาน STDAP3071 ในรายงานผู้ใช้กำหนด
สำหรับรายการจ่ายเงินที่ไม่สามารถยกเลิกได้ มีข้อกำหนดดังนี้
1. รายการจ่ายเงินประเภทชำระด้วยเช็ค มีการยกเลิกเช็ค
2. กระทบยอดเงินฝากธนาคารไปแล้ว
3. รายการจ่ายเงินทำการผ่านรายการไประบบ GL แล้ว
4. รายการภาษีซื้อจากรายการจ่ายเงิน นำไปยื่นภาษีแล้ว
รายการจ่ายที่ไม่สามารถยกเลิกได้ โปรแกรมแจ้งข้อความสาเหตุที่ยกเลิกไม่ได้ไว้ที่คอลัมน์หมายเหตุ
เมื่อทำการยกเลิกรายการจ่ายเงินโปรแกรมจะทำงานดังนี้
1. ลบรายการบัญชี
2. ลบรายการภาษีซื้อ
3. ลบรายการเช็คจ่าย
4. ลบประวัติรายการจ่ายเงิน เพื่อคืนยอดหนี้คงค้างให้กับใบตั้งหนี้
5. Update รายการจ่ายเงินเป็นสถานะที่ยังไม่ผ่านรายการ ผู้ใช้สามารถเรียกรายการจ่ายเงินมาตรวจสอบแก้ไขได้
รายการ | ระบบงาน | รายละเอียด |
---|---|---|
1 | ควบคุมสินค้าคงคลัง | แก้ไขการสร้าง Log file & File ในระบบ IC ซึ่งเป็น File ที่ใช้แจ้ง Error ต่าง ๆ โดยเปลี่ยน Location จาก C:\ เป็น Location ของ ECONS |
2 | ควบคุมการผลิต | แก้ไขการสร้าง Log file & File ในระบบ SF ซึ่งเป็น File ที่ใช้แจ้ง Error ต่าง ๆ โดยเปลี่ยน Location จาก C:\ เป็น Location ของ ECONS |
3 | ควบคุมการผลิต | แก้ไขรายงานตรวจสอบต้นทุน(STDSF6027) เนื่องจากแสดงส่วนต่างไม่ถูกต้อง |
4 | ควบคุมการผลิต | แก้ไขการผ่านรายการอนุมัติการผลิต เนื่องจากคำนวณจำนวนการใช้วัตถุดิบต่อหน่วย (QTY_PER) ไม่ถูกต้อง กรณีสินค้ามีการกำหนด BOM แบบมีวัตถุดิบรหัสเดียวกัน 2 รายการซึ่งกำหนดลำดับต่างกัน และกำหนดจำนวน/ยอดผลิตสินค้าหลักมากกว่า 1 หน่วย |
5 | บัญชีลูกหนี้ | แก้ไขรายงานให้แสดงชื่อลูกค้าจากรายการรับเงินที่รายงานใบสำคัญรับ(STDAR6009), ใบเสร็จรับเงิน(STDAR6004) และใบกำกับภาษี (STDAR6005) |
inFRONT เป็นระบบงานที่เชื่อมโยงข้อมูลจากระบบงาน ECONS Back Office นำข้อมูลมาประมวลผลและแสดงที่ Front / Outside Office ในรูปแบบ Web Application ให้ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ขาย ลูกค้า ผู้ขาย ฯลฯ ได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูล ECONS ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่มีข้อจำกัดเรื่องเวลาและสถานที่อีกต่อไป นอกจากนี้ inFRONT ยังใช้ประโยชน์ของ internet ทำให้เกิดช่องทางการสื่อสารระหว่างกัน อันจะทำให้การทำงานร่วมกันมีการพัฒนาก้าวหน้าขึ้น รวดเร็วขึ้น ถูกต้องมากขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการประหยัด/ลดต้นทุนในที่สุด
ข้อมูลที่ inFRONT จัดเตรียมไว้สำหรับให้บริการแก่ผู้ใช้ระบบงาน มีทั้งที่เป็นรูปภาพ ตารางสรุป การสอบถามข้อมูลออนไลน์ และการสั่งประมวลผลรายงาน (Reporting) ภายใต้การรักษาความปลอดภัยข้อมูลที่สมบูรณ์ โดยข้อมูลที่ได้รับผู้ใช้ระบบงานสามารถจัดเก็บ หรือส่งต่อให้ผู้ใช้อื่น รวมถึงนำไปใช้วิเคราะห์ต่อได้โดยสะดวก
< โปรดติดตามตอนต่อไป > การเข้าใช้ระบบงาน inFRONT, ตกแต่งหน้าแรก (Dashboard) ให้ตรงใจ, การใช้เครื่องมือต่าง ๆ
เมื่อเดือน กันยายน-ตุลาคม 2558 ทีมงาน Technical ของ BBS ได้ทดสอบการติดตั้ง Microsoft SQL Server บน Windows 10 และติดตั้ง ECONS และ BySide บน Client Computer ที่เป็น Windows 10
ผลทดสอบ ปรากฎว่า
2.การพิมพ์รายงาน จำเป็นต้องติดตั้ง Font TH Sarabun เพิ่มเติม เพื่อให้สามารถพิมพ์รายงานได้ถูกต้อง (วิธีการติดตั้ง Font สามารถสอบถาม BBS Help Desk ได้ครับ)
3.รูปแบบ Font บน Windows 7 และ Windows 10 มีความแตกต่างกันเล็กน้อย บน Windows 10
4. มีการติดตั้งจริงบนเครื่องใช้งานของลูกค้าแล้วจำนวนหนึ่ง ปัจจุบันได้รับแจ้งว่า รายงานของระบบเงินเดือนยังอ้างถึง Font ที่ไม่ใช่ TH Sarabun ซึ่งอ่านค่อนข้างยาก จึงมีการได้มีการปรับแก้ให้ถูกต้องแล้ว
เพิ่มประเภทรายงาน ไม่แสดงประเภทการรับเงิน
เป็นการตัดคอลัมน์การแสดงผลข้อมูลส่วนลดรับ, มูลค่าเช็ค, มูลค่าเงินสด และมูลค่าเงินโอน
เพิ่มรายการประวัติการขาย (แสดงโครงการ) เป็นรายงานที่แสดงประวัติการขายสินค้าพร้อมแสดงโครงการแยกตามรายการประวัติการขายนั้น ๆ มี 3 ประเภทรายงานดังนี้
เป็นรายงานแสดงรายการคงเหลือของแต่ละสินค้า แยกตามคลัง, สถานที่เก็บ, LOT, สถานะสินค้า, วันที่หมดอายุ
รายการ | ระบบงาน | รายละเอียด |
---|---|---|
1 | โครงการดำเนินงาน | แก้ไขรายงานทะเบียนคุมใบสั่งขายตามโครงการ พบว่ามีการแสดงข้อมูลซ้ำ กรณีที่ 1 ใบสั่งขายมีการส่งสินค้ามากกว่า 1 ครั้งและในแต่ละครั้งมีการกำหนดหมายเหตุการขายไม่เหมือนกัน |
ความเห็นล่าสุด