วิธีการสร้างภาพเคลื่อนไหว (GIF) โดยใช้ Free Application บน Internet

พอนึกถึงภาพเคลื่อนไหว ทุกท่านก็จะนึกถึงวีดีโอ แต่วีดีโอจะเหมาะเฉพาะเวลาต้องการภาพเคลื่อนไหวที่มีระยะเวลายาวพอสมควร มีเสียง แถมมาด้วยขนาดที่ใหญ่ติดมาด้วย แต่ถ้าเราต้องการแสดงภาพที่ต่อเนื่องเพียง ไม่กี่ภาพ ใช้เวลาแสดงไม่กี่วินาที เช่น ต้องการแสดงให้เห็นขั้นตอนการทำงานของหน้าจอ ต้องการเพิ่มลูกเล่นในการแสดงภาพบนจอ เป็นต้น

      gifcreator1
      gifeconsbbs

แบบนี้ไม่เหมาะที่จะทำเป็นวีดีโอ และการแสดงรูปหลาย ๆ รูปบนจอภาพต่อ ๆ กัน บางทีก็เปรียบเทียบจุดแตกต่างยาก บางทีเกิดความสับสนดูรูปข้ามไปได้

การสร้างภาพเคลื่อนไหว (GIF File) โดยใช้ gifcreator.me

gifcreator

gifcreator1

ส่วนตัวแล้วชอบโปรแกรมนี้ที่สุด เพราะใช้งานง่าย ปรับแต่งได้สะดวก สามารถเรียกไฟล์ GIF เดิมที่ทำไว้แล้วมีปรับแต่งเพิ่มเติมได้ง่าย ที่ไม่ชอบอย่างเดียวคือปรับขนาดให้ใหญ่กว่า 100% ไม่ได้

โปรแกรมทางเลือกอื่น ๆ
    giphy

    โปรแกรมนี้ สร้างง่ายเหมือนกัน แต่ปรับความเร็วของแต่ละ Slide ให้ไม่เท่ากันไม่ได้ สามารถใส่ Caption ของไฟล์ได้ ถ้าต้องการเรียกไฟล์เก่ามาแก้ไข ต้องใช้ gifeditorช่วยในการแก้ไขก่อน แล้วค่อยกลับมาทำ Slide ต่อ ข้อเด่นที่สุดของ giphy คือ gifmaker ตัวนี้สามารถแปลง vdo มาเป็น GIF ได้

    gifmaker

    โปรแกรมนี้ ขั้นตอนการสร้างไม่ต่างจาก gifcreator ปรับความเร็วแต่ละภาพไม่ได้ แต่ปรับขนาดมากกว่า 100% ได้ กำหนดจำนวนครั้งของการวน loop ได้ แถมใส่เพลงได้ด้วย ข้อเสียอื่น ๆ ก็คือเรียก Gif เดิมมาแก้ไขไม่ได้ เวลามีหลาย ๆ ภาพเรียงภาพค่อนข้างยาก

    makeagif

    โปรแกรมนี้ สร้าง GIF จาก Picture (Upload & Internet), Youtube, GIF (Upload), Video และ Web Cam วิธีการสร้างจึงแตกต่างจากโปรแกรมอื่นบ้าง แต่หลักการคล้าย ๆ กัน ข้อด้อยคือปรับแต่งความเร็วแต่ละภาพไม่ได้ และจำเป็นต้องสมัครก่อนจึงจะสร้าง GiF ได้ ข้อเด่นคือ ข้อมูลเก็บแบบ Cloud เราสามารถเข้าไปดู หรือใช้ gif ของสมาชิกคนอื่น ๆ ได้ด้วย

เกร็ดเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูลประเภท GIF

พัฒนาโดยบริษัท CompuServe จัดเป็นไฟล์ภาพสำหรับการเผยแพร่ผ่านอินเทอร์เน็ตตั้งแต่ยุคแรก

    จุดเด่น

    • สามารถใช้งานข้ามระบบ (Cross Platform) หมายความว่า คอมพิวเตอร์ทุกระบบ ไม่ว่าจะใช้ Windows, Unix ก็สามารถเรียกใช้ไฟล์ภาพสกุลนี้ได้
    • มีขนาดไฟล์ต่ำ จากเทคโนโลยีการบีบอัดภาพ ทำให้สามารถส่งไฟล์ภาพได้รวดเร็ว
    • สามารถทำพื้นของภาพให้เป็นพื้นแบบโปร่งใสได้ (Transparent)
    • มีระบบแสดงผลแบบหยาบและค่อยๆ ขยายไปสู่ละเอียดในระบบ Interlace
    • มีโปรแกรมสนับสนุนการสร้างจำนวนมาก
    • เรียกดูได้กับ Graphics Browser ทุกตัว
    • ความสามารถด้านการนำเสนอแบบภาพเคลื่อนไหว (GIF Animation)
    จุดด้อย

    • ไฟล์ชนิดนี้ก็มีจุดด้อยในเรื่องของการแสดงสี ซึ่งแสดงได้เพียง 256 สี ทำให้ การนำเสนอภาพถ่าย หรือภาพที่ต้องการความคมชัดหรือภาพสดใส จะต้องอาศัยฟอร์แมตอื่น
Posted in คู่มือ, คู่มือ อื่น ๆ, ห้องสมุด Tagged with:

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

*