เริ่มแล้ว E-Tax Invoice by E-mail สำหรับผู้ประกอบการรายได้ไม่เกิน 30 ล้าน (ภาคสมัครใจ)

ที่มา กรมสรรพากร

กรมสรรพากร เปิดให้บริการ E-Tax Invoice by E-mail ตั้งแต่ 1/3/60 เป็นต้นไป สำหรับผู้ประกอบการรายได้ไม่เกิน 30 ล้าน โดยสมัครใจครับ มาลองดูครับว่า มีรายละเอียดของบริการนี้อย่างไร

 
[wds id=”3″]

ที่มา ETAX.TEDA.TH

 

นอกจากนี้ ทางกรมสรรพากรได้ให้ข้อมูล FAQ เกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ดังนี้

      คำถาม

      คำตอบ

      1. โครงการ e-Tax Invoice by Email คือโครงการอะไรเป็นโครงการที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้ผู้ประกอบการ สามารถจัดทำใบกำกับภาษีในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์และ ส่งผ่าน e-Mail เพื่อไปประทับรับรองเวลาที่ สพธอ. (สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน))
      2. ใครสามารถใช้งานระบบในลักษณะนี้ได้บ้างผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่มีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปีภาษีหรือต่อรอบระยะเวลาบัญชี
      3. ถ้าไม่ใช้งานระบบนี้ยังออกใบกำกับภาษีเป็นกระดาษหรือไม่ได้
      4. สามารถใช้วิธีการนี้ ร่วมกับวิธีการออกใบกำกับภาษีเป็นกระดาษได้หรือไม่สามารถใช้ควบคู่กันไปได้
      5. มีค่าบริการหรือไม่ไม่มี แต่ต้องลงทะเบียนกับกรมสรรพากร
      6. ข้อมูลใบกำกับภาษีถูกส่งไปที่ใดข้อมูลจะถูกประทับรับรองเวลาและจัดเก็บในฐานข้อมูล พร้อมส่งให้แก่ผู้ขายและผู้ซื้อเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
      7. ถ้าไม่ใช้จะมีผลอะไรสามารถเลือกใช้วิธีอื่นได้ขึ้นอยู่กับความสะดวก ระบบนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นทางเลือกเพื่อความสะดวกสบายของผู้ใช้งานเท่านั้น
      8. ระบบนี้มั่นคงปลอดภัยหรือไม่มีความมั่นคงปลอดภัย เพราะมีการพัฒนาระบบตามมาตรฐานของการรับส่งอีเมลที่มีการตรวจสอบการปลอมแปลงอีเมลตามรูปแบบ SPF (Sender Protocol Framework) และ Domain Key validation (DV) สำหรับข้อมูลของระบบนั้นได้รับการจัดเก็บที่หน่วยงานที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO27001 ซึ่งเป็นมาตรฐานระบบบริหารความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ รวมถึงมีประทับรับรองเวลาดิจิทัล (Digital Timestamping) กับใบกำกับฯ ด้วยเทคโนโลยี PKI

      หมายเหตุ 1: Sender Policy Framework (SPF) เป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้ตรวจสอบว่าอีเมลที่เราได้รับนั้น เป็นอีเมลที่มาจากโดเมนของผู้ส่งจริงหรือไม่ โดยที่ผู้ที่เป็นเจ้าของโดเมนจะต้องทำการเพิ่ม SPF record ให้กับโดเมนของตนเอง ด้วยการระบุลงไปว่าอีเมลที่มาจากโดเมนนั้นๆ จะถูกส่งออกมาจากเซิร์ฟเวอร์เครื่องใด หมายเลข IP Address อะไรบ้าง
      วิธีการนี้จะช่วยให้สามารถกลั่นกรอง Spam mail ได้ดียิ่งขึ้น เพราะ Spammer มักจะปลอมตัวแอบใช้โดเมนของคนอื่นในการส่ง Spam mail ดังนั้นเมื่อตรวจสอบได้ว่าเป็นการปลอมแปลงโดเมน การคัดแยกอีเมลให้ไปอยู่ในกลุ่มของ Spam mail ก็ทำได้มีประสิทธิภาพขึ้น (ที่มา http://kokzard.blogspot.com)

      หมายเหตุ 2 : Domain Key Validation : เป็นรูปแบบหนึ่งของการทำ SSL (Secure Socket Layer) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีในการเข้ารหัสข้อมูล เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการสื่อสารหรือส่งข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ระหว่างเครื่องเซิร์ฟเวอร์กับเว็บเบราว์เซอร์หรือ Application ที่ใช้งาน โดยรูปแบบ DV มีลักษณะที่ เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กหรือนามบุคคล, ตรวจสอบความเป็นเจ้าของโดเมน, รูปกุญแจล็อคบน Browser และ ออก Certificate ได้รวดเร็ว รายละเอียดเพิ่มเติมศึกษาได้จาก ssl.in.th (ผู้ให้บริการ SSL อันดับหนึ่งในไทย)

      หมายเหตุ 3: PKI หรือ Public Key Infrastructure : เป็นเทคโนโลยีที่อาศัยระบบรหัสแบบกุญแจสาธารณะ (Public Key Cryptography) ที่ประกอบด้วยกุญแจส่วนตัว (Private key) และกุญแจสาธารณะ (Public key) ซึ่งโครงสร้างดังกล่าวใช้ในการพิสูจน์ตัวจริง (Authentication) รวมทั้งการรักษาความลับของข้อมูล (Data Confidentiality) ความครบถ้วนของข้อมูล (Data Integrity) และการห้ามปฏิเสธความรับผิด (Non-repudiation)
      โครงสร้างพื้นฐานกุญแจสาธารณะประกอบด้วยผู้ให้บริการออกใบรับรอง (Certification Authority - CA) เจ้าหน้าที่รับลงทะเบียน (Registration Authority - RA) ระบบบริการไดเรกทอรี (Directory service) และผู้ขอใช้บริการ (Subscriber) )
      9. ถ้าใช้ระบบนี้แล้วจำเป็นต้องจัดทำใบกำกับภาษีเป็นกระดาษหรือไม่ไม่จำเป็น สามารถนำส่งและจัดเก็บในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้เลย
      10. ผู้ประกอบการจะต้องจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบใดรูปของไฟล์ประเภท Microsoft Word (.doc, .docx), Microsoft Excel (.xls, .xlsx) หรือ Portable Document Format (.pdf) เท่านั้น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องบันทึกให้อยู่ในรูปของ PDF/A-3 เท่านั้น
      หมายเหตุ : PDF/A-3 เป็นไฟล์เอกสาร PDF ที่ออกแบบมาเพื่อการเก็บรักษาในระยะยาว (Long-term Preservation) ตามมาตรฐาน ISO 19005-3 โดยให้ Support Embeded File
      11. เปิดให้ใช้ได้บริการได้เมื่อไหร่1 มีนาคม 2560
      12. การประทับรับรองเวลาคืออะไร ทำเพื่ออะไร (Time-Stamp)การประทับรับรองเวลาคือการให้บุคคลที่สามที่น่าเชื่อถือ เป็นผู้ประทับรับรองว่าข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์นั้นเกิดขึ้นจริง ณ เวลาที่รับรอง เพื่อให้มีหลักฐานสามารถตรวจสอบได้ภายหลัง

      วิธีการทางเทคนิคเพื่อรับรองความมีอยู่ของเอกสารหรือข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ณ ขณะที่มีการประทับรับรองเวลา และสามารถตรวจพบได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงแก่เอกสารหรือข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นับแต่ที่ได้มีการประทับรับรองเวลาหรือไม่
      13. ทุกคนต้องใช้ระบบนี้หรือไม่ปัจจุบันยังไม่มีการบังคับใช้ แต่รัฐบาลมีนโยบายให้ผู้ประกอบการที่มีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท จะต้องออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563
      14. ในระบบนี้ผู้ขายสินค้า/ให้บริการจะออกใบกำกับภาษีเมื่อใดผู้ขายสินค้า/ผู้ให้บริการต้องออกใบกำกับภาษีเมื่อมีความรับผิดเกิดขึ้นเช่นเดียวกับการออกใบกำกับภาษีแบบกระดาษ
      15. ผู้ประกอบการสามารถ พิมพ์ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้หรือไม่สามารถพิมพ์ได้ แต่กรมสรรพากรตรวจเอกสารหลักฐานจากใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น
      16. ตามระเบียบของกรมสรรพากร ต้นฉบับใบกำกับภาษีต้องส่งมอบให้ผู้ซื้อ และสำเนาต้องเก็บไว้ที่ผู้ขาย หากเป็นการจัดทำและส่งด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ ใครจะต้องเป็นผู้จัดเก็บต้นฉบับหากเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์แล้ว จะถือว่าเป็นต้นฉบับ ทุก copy ทั้งผู้ซื้อ และผู้ขายจะต้องจัดเก็บใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับการประทับรับรองเวลา รวมถึง e-mail ที่ได้รับจากระบบด้วย
      17. หากเป็นผู้ประกอบการที่ส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์แล้ว ยังสามารถออกใบกำกับภาษีแบบกระดาษได้หรือไม่ผู้ประกอบการสามารถออกใบกำกับภาษีได้ทั้ง 2 รูปแบบแต่ต้องกำหนดไว้ในรายงานภาษีซื้อและรายงานภาษีขายว่าใบกำกับภาษีใดออกโดยวิธีใด

ที่มา ETAX FAQ

พร้อมกันนี้ กรมสรรพากรได้ออก “ระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบ e-Tax Invoice by Email พ.ศ. 2560 ประกอบด้วย ระเบียบว่าด้วย คำขอ การจัดทำและส่งมอบ การเก็บรักษา การเปลี่ยนแปลง การแก้ไขยกเลิก การเพิกถอน ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์

ที่มา กรมสรรพากร

 

จะพูดกันง่าย ๆ คือเป็นการทดลองระบบ E-Tax Invoice ของกรมสรรพากรครับ เชิญชวนให้ผู้ประกอบการที่มีรายได้ไม่เกิน 30 ล้าน ที่กฎหมายบังคับให้เข้าระบบปี 2563 มาเริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2560 โดยให้เครดิตว่า ช่วยลดต้นทุน ดังนั้นจึงยังไม่ใช่เรื่องจำเป็นเร่งด่วนอะไรครับ

 

สำหรับ ECONS จะต้องมีการปรับปรุงโปรแกรมให้รองรับในเรื่องนี้โดยเร็วครับ โดยการปรับปรุงโปรแกรมคาดว่าจะมีหัวข้อในการปรับปรุงดังนี้ครับ

    • ระบบบัญชีลูกหนี้ – หน้าบันทึกใบสำคัญตั้งลูกหนี้และใบสำคัญรับเงิน : แก้ไขให้สามารถระบุได้ว่าออกใบกำกับภาษีผ่าน E-Tax Invoice หรือไม่
    • ระบบบัญชีลูกหนี้ – พิมพ์ใบกำกับภาษี : แก้ไขให้สามารถสร้างรายการ E-Tax Invoice เพื่อนำไปส่งให้ลูกค้าและกรมสรรพากร
    • ระบบบัญชีลูกหนี้ – พิมพ์รายงานภาษีขาย : แก้ไขให้แสดงข้อมูลให้ทราบว่าใบกำกับภาษีใดเป็น E-Tax Invoice
    • ระบบบัญชีลูกหนี้ – เพิ่มการเก็บเอกสาร E-Tax Invoice ให้สามารถเปิดดูได้
    • ระบบบัญชีเจ้าหนี้ – หน้าบันทึกใบสำคัญตั้งเจ้าหนี้และใบสำคัญจ่ายเงิน : แก้ไขให้สามารถระบุได้ว่าเป็นใบกำกับภาษี E-Tax Invoice หรือไม่
    • ระบบบัญชีเจ้าหนี้ – พิมพ์รายงานภาษีซื้อ : แก้ไขให้แสดงข้อมูลให้ทราบว่าใบกำกับภาษีใดเป็น E-Tax Invoice
    • ระบบบัญชีเจ้าหนี้ – เพิ่มการเก็บเอกสาร E-Tax Invoice ให้สามารถเปิดดูได้
    • อื่น ๆ (ถ้ามี)

โดยทางบริษัทได้จัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมสัมมนา เพื่อปรับปรุงโปรแกรมต่อไป เมื่อมีความคืบหน้าใด ๆ จะเรียนให้ทราบครับ สำหรับลูกค้าท่านใดสนใจจะเข้าร่วมสัมมนาของกรมสรรพากร สามารถเข้าร่วมตาม link นี้ครับ “กิจกรรม Workshop : e-Tax invoice by E-mail”

 

ข้อมูลเพิ่มเติม : เผอิญผมค้นเจอ “ร่าง ข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่จำเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ว่าด้วยการจัดทาหนังสือรับรองในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ สาหรับเสนอคณะทางานพิจารณาร่างข้อเสนอแนะมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่จาเป็นต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ จัดทำโดย สานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)” จัดทำตั้งแต่ปี ก.ค. 2015 แต่ผมหาตัวที่เป็น Final ของเอกสารนี้ไม่พบครับ แต่ในเอกสารนี้มีข้อมูลน่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ อาทิเช่น คำนิยามศัพท์เทคนิคต่าง ๆ, กฎหมายที่เกี่ยวข้อง, ภาพรวมของธุรกรรมอิเล็กทรอนิคแบบต่าง ๆ, 5 คุณสมบัติของเอกสารดิจิตอล, แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นและนำมาใช้จริง ฯลฯ ผมจึงลงไว้ให้ศึกษากันครับ

ที่มา สำนักมาตรฐาน สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)
Office Of Standard, Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)

 

Posted in ห้องสมุด Tagged with: , , ,

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

*