- ปรับปรุงรายงานบัญชีพิเศษและบัญชีคุมสินค้า (Stock Card) – ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง(IC)
- เพิ่มจอภาพปรับปรุงยอดส่งสินค้าตามจำนวนส่งมอบจริง – ระบบควบคุมการจัดจำหน่าย(CO)
- เพิ่มจอภาพสร้างรายการใบตั้งหนี้ค่าขนส่ง – ระบบควบคุมการจัดจำหน่าย(CO)
- เพิ่มรายงานสรุปค่าขนส่ง แยกตามรหัสเจ้าหนี้ – ระบบควบคุมการจัดจำหน่าย(CO) : รายงานใหม่
- เพิ่มรายงานจัดอันดับยอดขายตามสินค้า – ระบบควบคุมการจัดจำหน่าย(CO) : รายงานใหม่
- เพิ่มรายงานการส่งสินค้าแยกตามคลัง – ระบบควบคุมการจัดจำหน่าย(CO) : รายงานใหม่
- ปรับปรุงรายงานสรุปรายการทางบัญชี แสดงตามรหัสบัญชี(AR) – ระบบบัญชีลูกหนี้(AR)
- ปรับปรุงรายงานสรุปรายการทางบัญชี แสดงตามรหัสบัญชี(AP) – ระบบบัญชีเจ้าหนี้(AP)
- แก้ไขการทำงานผิดพลาดของโปรแกรม 1 เรื่อง (Bug Fixed)
1. เพิ่มการแสดงเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (กำหนดไว้ที่จอภาพการกำหนดบริษัท)
2. เพิ่มเงื่อนไขการคัดกรองข้อมูล กรณีกำหนดเงื่อนไขการ แสดงรายการสินค้า ดังนี้
2.1 แสดงรายการสินค้า ไม่เคลื่อนไหว โปรแกรมเปิดให้คลิกเลือกว่าต้องการแสดงเฉพาะสินค้าที่มียอดคงเหลือหรือไม่
2.2 แสดงรายการสินค้า ทั้งหมด โปรแกรมเปิดให้คลิกเลือกว่าต้องการแสดงเฉพาะสินค้าที่มียอดคงเหลือหรือมีความเคลื่อนไหวหรือไม่
สำหรับใช้ปรับปรุงยอดส่งสินค้าหลังจากที่ประมวลผลส่งสินค้าแล้ว เมื่อทำการปรับปรุงยอดโปรแกรมจะทำการปรับปรุงข้อมูลต่าง ๆ ดังนี้
1. เพิ่มยอดสินค้าคงเหลือ
2. ปรับปรุงประวัติการขายสินค้าให้เป็นไปตามจำนวนส่งจริง
3. ปรับปรุงรายการเคลื่อนไหวสินค้าให้เป็นไปตามจำนวนส่งจริง
4. ปรับปรุงรายการแจ้งหนี้ให้เป็นไปตามจำนวนส่งจริง
วิธีการปรับปรุง ดังนี้
1. กำหนดเงื่อนไขเพื่อค้นหา รายการส่งสินค้าที่ต้องการปรับปรุง
2. Double Click จำนวนส่งจริงตามรายการที่ต้องการแก้ไข โปรแกรมเปิดจอภาพให้แก้ไขจำนวนส่งจริง แล้วกดปุ่มบันทึก
3. จากนั้นกดปุ่ม ปรับปรุงยอด โปรแกรมจะทำการปรับปรุงข้อมูลตามรายละเอียดข้างต้น
ตามที่ปรับปรุงจอภาพบันทึกรายการขายสินค้าใน ECONS Version 600001 ให้สามารถระบุราคาค่าขนส่งสินค้าได้ ดังนั้น เมื่อทำการส่งสินค้าเรียบร้อยแล้ว ผู้ใช้สามารถ Generate รายการส่งสินค้าไปเป็นใบตั้งหนี้ค่าคนส่งที่ระบบ AP ได้อัตโนมัติ มีวิธีการดังนี้
1. กำหนดเงื่อนไขเพื่อค้นหา รายการส่งสินค้าที่ต้องการสร้างใบตั้งหนี้ค่าขนส่ง
2. Click เลือกรายการที่ต้องการ แล้วกดปุ่ม ประมวลผล โปรแกรมเปิดจอภาพรายละเอียดข้อมูล
3. การกำหนดการสร้างใบตั้งหนี้ค่าขนส่ง ให้รวมหรือไม่รวมใบส่งสินค้าแยกตามเจ้าหนี้ วิธีข้อกำหนดดังนี้
3.1 คลิกเลือกหรือไม่เลือกรวมใบส่งสินค้า กรณีคลิกเลือก คือรวมใบส่งสินค้าแยกตามเจ้าหนี้ และไม่เลือกคือไม่รวมใบส่งสสินค้า
3.2 ที่เมนูการกำหนดข้อกำหนดหลักระบบงาน เพิ่มข้อกำหนด SUMMARY_DO = Y หรือ N อย่างใดอย่างหนึ่ง โดย Y คือรวมใบส่งสินค้าแยกตามเจ้าหนี้ และ N คือไม่รวมใบส่ง ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
4. ทำการกำหนดกลุ่มเอกสารสำหรับใช้ Running เลขที่ใบตั้งหนี้ และกำหนดเลขที่บัญชีสำหรับบันทึกค่าขนส่ง จากนั้นกดปุ่ม ประมวลผล
5. เมื่อประมวลผลเรียบร้อยแล้วโปรแกรมจะสร้างใบตั้งหนี้ไว้ที่ระบบ AP เมนู C.C.A.B บันทึกรายการตั้งหนี้
หลังจาก Generate ใบตั้งหนี้ค่าขนส่งแล้ว สามารถพิมพ์รายงานตรวจสอบรายละเอียดค่าขนส่งได้ ซึ่งรายงานแสดงรายการแยกตามเจ้าหนี้ ทะเบียนรถ และใบตั้งหนี้ มีรายละเอียด ดังนี้
1. แสดงเลขที่ส่ง และสินค้าที่ส่ง
2. แสดงพื้นทีส่ง และสถานที่ส่ง
3. แสดงจำนวนจัดส่ง และราคาค่าขนส่ง
เป็นรายงานจัดอันดับยอดขายสินค้าสูงสุดตามช่วงเวลาที่ระบุ และยังสามารถระบุจำนวนอันดับที่ต้องการแสดงได้ด้วย ยอดขายที่แสดงเป็นยอดขายที่หักส่วนลดท้ายบิลแล้ว
สำหรับส่วนลดท้ายบิลที่นำมาหักยอดขาย จะขึ้นอยู่กับการกำหนดให้โปรแกรมเฉลี่ยส่วนลดท้ายบิล(Y) หรือไม่เก็บข้อมูลเฉลี่ยส่วนลดท้ายบิล(N)
(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ECONS V2.13E Rvs. 590012 หัวข้อปรับปรุงให้มีการบันทึกข้อมูลเฉลี่ยส่วนลดท้ายบิล)
การแสดงผลรายงาน
1. แสดงการจัดอันดับสินค้าเรียงจากยอดขายสุงสุดไปต่ำสุด ตามจำนวนลำดับที่ระบุเงื่อนไข ยอดขายที่เกิดอันดับที่ระบุแสดงไว้ที่บรรทัดอื่น ๆ
2. แสดงปริมาณขายสินค้าสุทธิตามหน่วยคลัง (ได้จากจำนวนขาย(ไม่รวมของแถม) – จำนวนรับคืน)
3. แสดงมูลค่าขายสุทธิ (ขายสุทธิ – รับคืน) และ %มูลค่าขายเทียบกับมูลค่าขายทั้งหมด
4. แสดงต้นทุนขาย(ต้นทุนขายรวมของแถม-รับคืน)
5. แสดงกำไรขั้นต้น และ %กำไรขั้นต้นเทียบกับมูลค่าขายของสินค้านั้นๆ
6. สำหรับ % กำไรขั้นต้นในบรรทัดรวม จะเป็นการคำนวณ %กำไรขั้นต้น จากกำไรทั้งหมด
แสดงรายการส่งสินค้าแยกตามคลัง(ก่อนผ่านรายการ) มีทั้งแบบละเอียดและสรุป
1. แบบละเอียด จะแสดงแยกตามเลขที่ใบส่ง
2. แบบสรุป เป็นการแสดงรวมสินค้าที่จัดส่ง
รายการ | ระบบงาน | รายละเอียด |
---|---|---|
1 | ควบคุมสินค้าคงคลัง | ปรับความเร็วในการพิมพ์รายงานรายงานบัญชีพิเศษและบัญชีคุมสินค้า (Stock Card) |
ใส่ความเห็น