-
ระบบงานด้านการบริหารการผลิต
(Manufacturing Control System) -
ระบบต้นทุนการผลิต
(Product Costing) -
ระบบโครงสร้างและขั้นตอนการผลิต
(Bill of Materials and Routing) -
ระบบวางแผนการผลิต
(Requirements Planning) -
ระบบควบคุมการผลิต
(Shop Floor Control) -
ระบบควบคุมการผลิตส่วนเพิ่ม
(Enhanced Shop Floor Control) -
ระบบควบคุมคุณภาพ
(Quality Management Control)
ระบบต้นทุนการผลิต (Product Costing)
ระบบงาน ECONS มีการจัดเก็บสะสมต้นทุนสินค้าอย่างละเอียด และเชื่อมโยงข้อมูลมาจากระบบงานอื่นๆ ได้แก่ ระบบควบคุมการจัดซื้อ และระบบควบคุมการผลิต โดยแบ่งแยกรายละเอียดของต้นทุนเป็น 4 หมวด คือ วัตถุดิบ (Materials), ค่าแรง (Labour), ค่าโสหุ้ยการผลิตคงที่ (Fixed Overhead) และค่าโสหุ้ยการผลิตแปรผัน (Variable Overhead)
ระบบจะเก็บรวบรวมข้อมูลต้นทุน และแยกข้อมูลต้นทุนได้ทั้งแบบ Moving Average, Frozen Standard Cost, Current Standard Cost, Last Actual และ Simulated Cost ไปพร้อมกันเพื่อใช้วิเคราะห์ต้นทุนได้อย่างละเอียดโดยระบบจะแสดงผลแตกต่างให้อย่างอัตโนมัติ ลดงานที่ยุ่งยากซ้ำซ้อนได้อย่างง่ายดาย
ระบบโครงสร้างและขั้นตอนการผลิต (Bill of Materials and Routing)
เป็นระบบที่ใช้ในการกำหนดโครงสร้างสินค้า หรือสูตรการผลิต (BOM) ได้ไม่จำกัด Level และสามารถกำหนดข้อมูลขั้นตอนของการผลิต เวลามาตรฐานในการผลิตของสินค้าแต่ละรายการ ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการวางแผนการ และควบคุมการผลิต รวมทั้งใช้สำหรับคำนวณต้นทุนการผลิตในส่วนต่างๆ ด้วย
ระบบถูกออกแบบให้มีการใช้งานที่ง่าย เช่น การกำหนดโครงสร้างได้หลายระดับ การกำหนดช่วงเวลาในการใช้งานให้สอดคล้องกับสภาพการผลิตในโรงงานจริงๆ ซึ่งจะทำให้สะดวกต่อการติดตามงานการผลิต
ระบบวางแผนการผลิต (Requirements Planning)
เป็นระบบงานที่ใช้จัดทำแผนการผลิตทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยรองรับการจัดทำ Sales Forecast และ Production Forecast ได้ 2 ปีล่วงหน้า หรือตามที่กำหนด
สามารถจัดทำแผนการผลิตหลัก (MPS) ของสินค้าสำเร็จรูปได้ตามนโยบายการผลิตที่กำหนด ทั้งในกรณีผลิตตามคำสั่งซื้อของลูกค้า และผลิตเป็น Stock เผื่อขาย ซึ่งแผนการผลิตที่ได้จะถูกส่งไปเป็นคำสั่งผลิตในระบบควบคุมการผลิตได้อัตโนมัติ
สามารถคำนวณความต้องการใช้วัตถุดิบ (MRP) ได้ตามสูตรการผลิต ซึ่งหลังจากประมวลผล ระบบจะสร้างแผนการผลิต และแผนการสั่งซื้อให้ตามความต้องการ และ Lead Time ที่กำหนด ซึ่งสามารถนำผลของการ RUN MRP ไปสร้างคำสั่งผลิตในระบบควบคุมการผลิต และเปิดใบสั่งซื้อในระบบควบคุมการจัดซื้อได้ทันที
ระบบควบคุมการผลิต (Shop Floor Control)
เป็นระบบที่นำเอาแผนการผลิตมาใช้ในการควบคุมการผลิตในโรงงาน ได้แก่
การเปิดใบสั่งผลิต สามารถเปิดใบสั่งผลิตตามศูนย์การผลิต หรือเครื่องจักรเพื่อใช้อ้างอิงในการผลิตได้ว่าจะผลิตสินค้าจำนวนเท่าไร เริ่มผลิต และจะต้องผลิตเสร็จเมื่อไร
การบันทึกการเบิกใช้วัตถุดิบเพื่อใช้ในกระบวนการผลิต สามารถควบคุมการเบิกใช้วัตถุดิบตามสูตรการผลิต สามารถเบิกใช้วัตถุดิบบางส่วนหรือเบิกใช้อัตโนมัติจากสูตรการผลิตได้
การบันทึกผลการผลิตประจำวัน สามารถบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน และเวลาการทำงานของเครื่องจักร ตลอดจนเก็บข้อมูลจำนวนของเสียจากการผลิต และเวลาที่สูญเสียระหว่างการผลิตของแต่ละคำสั่งผลิตได้ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวัดประสิทธิภาพการผลิต และรายงานสถานะของคำสั่งผลิตได้
การปิดคำสั่งผลิต สามารถส่งสินค้าที่ผลิตเข้าคลังสินค้าได้ และสามารถออกรายงานสรุปต้นทุนการผลิตในส่วนของต้นทุนทางตรง และต้นทุนทางอ้อมของแต่ละคำสั่งผลิตได้ทันที เพื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนมาตรฐานหรือสูตรการผลิต
ระบบควบคุมการผลิตส่วนเพิ่ม (Enhanced Shop Floor Control)
ระบบ Enhanced Shop Floor เป็นระบบงานที่เพิ่มเติมจากระบบควบคุมการผลิต (Shop Floor Control) เดิม โดยนำข้อมูลการเปิดใบสั่งผลิตจากฝ่ายวางแผนการผลิตมาจัดตารางศูนย์การผลิตประจำวัน ซึ่งออกแบบให้หัวหน้างานผลิตสามารถวางแผนตารางศูนย์การผลิตได้บนเครื่อง Tablet PC
- สามารถนำใบสั่งผลิตที่ผ่านรายการอนุมัติจากระบบควบคุมการผลิต (Shop Floor Control) มาจัดลำดับการผลิตของงานตามเครื่องจักร และ กะซึ่งเรียกว่า “ตารางศูนย์การผลิต” และเพื่อให้สามารถนำตารางศูนย์การผลิตไปใช้ในการวางแผน และควบคุมการผลิตได้
- สามารถจัดตารางศูนย์การผลิตได้โดยใช้โปรแกรมเฉพาะบน PC โดยจะวางแผนตารางศูนย์การผลิตล่วงหน้าได้ไม่เกินจำนวนวันที่กำหนดในค่าเริ่มต้นระบบงาน
- ขั้นตอนของการอนุมัติตารางศูนย์การผลิต (Approve) และอนุมัติเตรียมการผลิต (Load) จะสามารถตรวจสอบกำลังการผลิต ความพร้อมของวัตถุดิบ และความสอดคล้องกันของกำหนดการผลิตของเครื่องจักรที่วางแผน รวมถึงเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตต่อเนื่องกันด้วยโดยระบบจะมีรายงานให้ตรวจสอบ พร้อมกับแจ้งความผิดพลาดไปที่หน้าจอปรับปรุงตารางศูนย์การผลิตให้ผู้ใช้งานทราบ เพื่อปรับปรุงแก้ไข
- สามารถกำหนดได้ว่าจะให้ระบบสร้างใบเบิกวัตถุดิบให้อัตโนมัติหรือไม่ เมื่อผ่านการอนุมัติเตรียมการผลิตแล้ว
- สามารถบันทึกเวลาการผลิตด้วยอุปกรณ์ Tablet PC โดยจะบันทึกจำนวนที่ผลิตเสร็จ จำนวนของเสีย และเวลาที่สูญเสีย (Down Time) ณ. เวลาใดใดที่เครื่องจักรได้ โดยระบบจะแสดงผลของการผลิตทันทีที่หน้าจอ เพื่อให้ผู้ใช้งานทราบสถานะของการผลิตในแต่ละกะ
- 1.6 สามารถดูรายงานผลการผลิตได้แก่ รายงานประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร (OEE) , รายงานประสิทธิภาพการผลิต, รายงานของเสีย และรายงานเวลาที่สูญเสียได้ทันทีเมื่อมีการบันทึกเวลาการผลิต ด้วยรายงานในรูปแบบของ Dash Board
ระบบควบคุมคุณภาพ (Quality Management Control)
เป็นระบบงานที่ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลการตรวจสอบคุณภาพของวัตถุดิบ (Incoming), สินค้าระหว่างผลิต (In Process) และสินค้าสำเร็จรูป (Final Inspection) ซึ่งสามารถสร้างข้อกำหนดที่ต้องการจะตรวจสอบสินค้า และวิธีการสุ่มตัวอย่างได้เอง ทั้งที่เป็นตัววัดเชิงปริมาณ (วัดค่าได้) และเชิงคุณภาพ (วัดค่าไม่ได้) สามารถบันทึกผลการตรวจสอบได้ทั้งแบบละเอียด และแบบสรุป มีการระบุสาเหตุของเสียหรือข้อบกพร่องที่ตรวจพบ สามารถออกรายงานทางสถิติต่างๆ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ผลของการตรวจสอบ และวัดระดับคุณภาพของสินค้าตลอดกระบวนการ อีกทั้งยังเชื่อมโยงกับระบบงานการควบคุมสินค้าคงคลังเพื่อแสดงสถานะของสินค้าในคลังได้